สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 2
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒ / เรื่องที่ ๕ อุตสาหกรรม / การผลิตเหล็กกล้า
การผลิตเหล็กกล้า
การผลิตเหล็กกล้า
จากเหล็กถลุงสามารถนำไปผลิตเป็นเหล็กชนิดอื่นๆ
ได้ เช่น เหล็กกล้า เหล็กกล้าผสม เหล็กหล่อเทา
(gray cast iron) เหล็กพืด (wrought iron) เหล็กตีให้แผ่ได้
(malleable iron) เหล็กนอดุลาร์
(nodular) ประมาณร้อยละ ๘๕-๙๐ ของเหล็กถลุงที่ผลิตได้จะนำไปเปลี่ยนสภาพเป็นเหล็กกล้า
ปัจจุบันนี้การแปรรูปเหล็กถลุงเป็นเหล็กชนิดอื่นร้อยละ
๙๐ จะกระทำต่อเนื่องหลังจากที่ได้เหล็กถลุงจากเตา
โดยนำเหล็กถลุงที่ยังหลอมละลายใส่รถเบ้า
(ladle car) ไปเทใส่เตาที่จะแปรรูป
ขณะที่ยังเป็นของเหลวส่วนที่ส่งไปแปรรูปไม่ทัน
จะหลอมรวมตัวเป็นแท่งเอาไปใช้งานต่ออีกครั้งหนึ่ง
ความแตกต่างของเหล็กแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์บอน
และรูปของคาร์บอนที่อยู่ในเหล็ก
เช่น อยู่ในรูปของแกรไฟต์ในเหล็กหล่อเทา
หรืออยู่ในรูปของสารประกอบเหล็กและคาร์บอน
เป็นต้น
เหล็กกล้าเป็นเหล็กที่ใช้มากที่สุด
เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอน
ระหว่างร้อยละ ๐.๑-๑.๔ มักจะเรียกเหล็กกล้าว่า
เหล็กกล้าคาร์บอน (carbon steel) เหล็กกล้ามีคุณสมบัติเด่นคือสามารถชุบเพิ่มความแข็ง
หรือเปลี่ยนคุณสมบัติทางกายภาพอื่นๆ
ได้ เหล็กกล้าที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำจะเพิ่ม
หรือลดความแข็งได้ไม่ดีเท่าเหล็กกล้าที่มีปริมาณคาร์บอนสูง
เหล็กกล้าแบ่งออกตามปริมาณคาร์บอนในเนื้อเหล็ก
๓ ชนิด คือ เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ (low
carbon steel) มีคาร์บอนในเหล็กไม่เกินร้อยละ
๐.๓๐ เหล็กกล้า คาร์บอนปานกลาง (medium
carbon steel) มีคาร์บอนในเหล็กร้อยละ
๐.๓๐-๐.๗๐ และเหล็กกล้าคาร์บอนสูง
(high carbon steel) มีคาร์บอนร้อยละ
๐.๗๐-๑.๔๐
การผลิตเหล็กกล้าจากเหล็กถลุงส่วนใหญ่เป็นการลด | |