สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 2
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒ / เรื่องที่ ๕ อุตสาหกรรม / ทองแดง
ทองแดง
ทองแดง
ทองแดงเกิดขึ้นตามธรรมชาติในรูปของทองแดงบริสุทธิ์
หรือสินแร่ โดยรวมตัวอยู่กับหิน
ทราย ดิน หรือดินเหนียว สินแร่ทองแดงแบ่งออกเป็นพวกใหญ่ๆ
๓ พวกด้วยกัน คือ
๑. ทองแดงบริสุทธิ์ตามธรรมชาติซึ่งมีทองแดงอยู่ถึงร้อยละ
๙๙
๒. แร่ซัลไฟด์ (sulfide ores) ทองแดงรวมตัวกับกำมะถันเป็นทองแดงซัลไฟด์
ในแร่บางชนิดอาจมีธาตุอื่น
เช่น ดีบุก หรือเหล็กปนอยู่ด้วย
สินแร่ทองแดงในรูปของซัลไฟด์ที่สำคัญๆ
ได้แก่ คาลโคไพไรต์ (chalcopyrite)
โคเวลไลต์ (covellite) อีนาร์ไจต์ (enargite) เททราฮีไดรต์
(tetrahedrite) และบอร์ไนต์ (bornite) เป็นต้น แร่เหล่านี้มีทองแดงอยู่ร้อยละ
๔๐-๘๐
๓. แร่ออกไซด์ (oxide ores) ทองแดงรวมตัวกับออกซิเจนอยู่ในรูปของออกไซด์
แร่เหล่านี้ได้แก่ คิวไพรต์
(cuprite) เทนอไรต์ (tenorite) อะซูไรต์ (azurite)
บรอคาไนต์ (brochanite) ฯลฯ ซึ่งมีทองแดงอยู่ร้อยละ
๔๕-๘๙

แผนภาพแสดงกรรมวิธีการผลิตทองแดง แหล่งแร่ทองแดงที่สำคัญๆ
ของโลก ได้แก่ เทือกเขาร็อกกี (Rocky) ในประเทศสหรัฐอเมริกา
แนวลาดด้านตะวันตกของภูเขาแอนดีส
(Andes) ในประเทศชิลี
และเปรู เทือกเขาในทวีปแอฟริกาบริเวณประเทศคองโก
ตอนเหนือของประเทศโรดีเซีย
และประเทศแคนาดา แหล่งแร่สำคัญเหล่านี้
มีแร่ทองแดงรวมกันประมาณร้อยละ
๙๐ ของทองแดงทั่วโลก แหล่งแร่ทองแดงที่นับว่าใหญ่ที่สุดอยู่ในประเทศชิลี
นอกจากนี้ ยังมีในบางแห่งของทวีปยุโรป
ประเทศออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้
ประเทศไทยมีแร่ทองแดงอยู่โดยทั่วไป
ทั้งทางภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งแร่ทองแดงที่สำคัญ
ได้แก่ แหล่งขนงพระและแหล่งจันทึก
จังหวัดนครราชสีมา ที่อำเภองาว
จังหวัดลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
อำเภอโคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี อำเภอพนมสารคาม
จังหวัดฉะเชิงเทรา และยังมีแหล่งอื่นๆ
ที่ | |