เมื่อเตรียม
ผนังพร้อมแล้ว จะต้องทารองพื้นก่อนการเขียนภาพ
ส่วนผสมของรองพื้นประกอบด้วย ดินสอพองบดละเอียด หมักในน้ำ
กรองสิ่งสกปรกออกให้หมด แล้วจึงทับน้ำให้ดินสอพองหมาด นำมาผสมกับกาว
ที่ได้จากน้ำต้มเม็ดในของมะขาม เมื่อรองพื้นแห้งแล้ว
จึงขัดให้เรียบก่อนเขียนภาพ |

ความเป็นอยู่ของชาวบ้านริมน้ำ จิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณาราม
บางกอกน้อยกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ ๓ |
สีที่ใช้เขียนภาพ
ช่างโบราณเตรียมจากธาตุแร่ เช่น
สีดำได้จากเขม่าถ่านของไม้เนื้อแข็ง สีเหลือง สีนวลได้จากดินธรรมชาติ
สีแดงได้จากดินแดง สีทองได้จากแผ่นทองคำเปลว ช่างไทยใช้สีแดง เหลือง
เขียว
คราม ขาว ดำ เป็นหลัก ผสมกันเกิดเป็นสีอื่นๆ ได้อีก
|
น้ำผสมสีใช้น้ำผสมกาวที่เตรียมจากหนังสัตว์
หรือกาวกระถิน
ผสมไว้ในภาชนะเล็กๆ เช่น โกร่งหรือกะลา เมื่อใช้ไปสีแห้ง ก็เติมน้ำ
ใช้สากบดฝนให้กลับเป็นน้ำสี นำมาใช้งานได้อีก
|

การตัดเส้นแสดงรูปร่างและรายละเอียดของเครื่องประดับ
จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
กรุงเทพฯสมัยกรุงรัตนสินทร์ตอนต้น |
หากต้องการให้ภาพแวววาวประดุจทอง
ช่างจะใช้ทองคำเปลวปิดส่วนนั้น
ก่อนปิดทอง ต้องทากาว ที่ทำจากต้นรัก หรือยางต้นมะเดื่อ
เมื่อปิดทองแล้ว
ช่างมักตัดเส้นด้วยสีแดง หรือสีดำ เพราะทั้ง ๒ เส้นนี้
ช่วยขับสีทองให้เปล่งประกายได้ดีกว่าสีอื่นๆ
|

ภาพพุทธประวัติตอนพระพุทธบิดาส่งทูตมาเชิญเสด็จและตอนแสดงปาฏิหาริย์
ท่ามกลางพระประยูรญาติวัดราชสิทธาราม
บางกอกใหญ่กรุงเทพฯ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น |
พู่กันที่ช่างใช้ระบายสี
นั้น
มีหลายขนาด หากใช้ตัดเส้น
ช่างใช้พู่กันขนาดเล็ก ซึ่งช่างนิยมเรียกว่า พู่กันหนวดหนู ทั้งๆ
ที่ทำจากขนหูวัว หากใช้ระบายพื้นที่ขนาดใหญ่
ช่างใช้แปรงทำจากรากต้นลำเจียก หรือทำจากเปลือกต้นกระดังงา
โดยนำมาตัดเป็นท่อน ให้พอเหมาะกับความต้องการใช้ นำไปแช่น้ำให้อ่อนนุ่ม
เพื่อจะได้ทุบปลายข้างหนึ่งให้แตกเป็นฝอย ใช้เป็นขนแปรงได้
สำหรับจิตรกรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ช่างคิดประดิษฐ์วิธีเขียนใบไม้เป็นกลุ่ม เป็นพุ่ม ด้วยการ "กระทุ้ง"
คือ ใช้แปรงแตะสีหมาดๆ
แล้วแตะแต้มให้เกิดเป็นกลุ่มหรือพุ่มใบไม้ตามต้องการ
ช่างเขียน
ก่อนที่จะมีระบบโรงเรียนฝึกช่างเขียนนั้น ผู้ที่รักจะเป็นช่างเขียน
จะต้องฝากตัวเป็นศิษย์ในสำนักของช่างเขียน ที่อาจจะเป็นพระภิกษุ
หรือฆราวาส ศิษย์จะต้องปรนนิบัติรับใช้ครู พร้อมๆ กับฝึกเขียนภาพไปด้วย
ครูแต่ละสำนักต่างก็มีลักษณะ และกลวิธีการเขียนภาพเฉพาะของตน
อย่างที่เรียกกันว่า "สกุล
ช่าง" |

สีฝุ่น |
นอกจากช่างท้องถิ่น ซึ่งมีฝีมือและลักษณะต่างๆ กัน
ตามสกุลช่างของตนแล้ว
ยังมีช่างหลวงจากราชสำนักอีกด้วย ช่างหลวงนี้มีระเบียบแบบแผน
ในการเขียนภาพของตน เป็นที่ยอมรับนับถือว่า
เป็นงานจิตรกรรมที่ประณีตงดงาม
งานของช่างหลวง จึงมักมีอิทธิพล ต่อการเขียนภาพของช่างท้องถิ่นเสมอ
ผลงานของช่างเขียนจิตรกรรมไทยแบบประเพณี
ส่วนมากมักปรากฏเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์และวิหาร
เป็นภาพแบบอุดมคติกึ่งสมจริง จำลองแนวคิด ความศรัทธาในพุทธศาสนา
อีกทั้งยังสอดแทรกกิจกรรมทางสังคม ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน
จากจิตรกรรมไทยแบบประเพณีนี้ นอกจากจะให้เราตระหนักถึงภูมิปัญญา
และฝีมือของช่างไทยแล้ว ยังให้ความรู้เชิงประวัติศาสตร์
อันมีค่ายิ่งแก่อนุชนรุ่นต่อๆ มาด้วย
|

พู่กัน |