เดซิเบล (dB) - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 20
เล่มที่ ๒๐
เรื่องที่ ๑ ศาสนา และระบบความเชื่อในประเทศไทย
เรื่องที่ ๒ ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศ
เรื่องที่ ๓ จิตรกรรมไทยแบบประเพณี
เรื่องที่ ๔ เสียง และมลภาวะทางเสียง
เรื่องที่ ๕ เลเซอร์
เรื่องที่ ๖ เซลล์แสงอาทิตย์
เรื่องที่ ๗ อัญมณี
เรื่องที่ ๘ เวชศาสตร์การบิน
เรื่องที่ ๙ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์
เรื่องที่ ๑๐ การปลูกถ่ายอวัยวะ
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๐ / เรื่องที่ ๔ เสียงและ มลภาวะทางเสียง / เดซิเบล (dB)

 เดซิเบล (dB)
เสียงเปียโน
เสียงเปียโน
เดซิเบล (dB)

เสียงค่อยที่สุดที่หูของสุขภาพดีตรวจหาได้คือ ๒๐ ไมโครปาสกาล ซึ่งน้อยกว่าความดันบรรยากาศถึง ๕ พันล้านเท่า (๑ ปาสกาล คือ ๑ นิวตัน ต่อ ตร.เมตร นิวตัน เป็นหน่วยของแรง) การเปลี่ยนความดัน ๒๐ ไมโครปาลกาล มีค่าน้อยมาก เพียงแต่จะทำให้เยื่อในหูคน ขยับเบนไปเป็นระยะทางน้อยกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของอะตอมเท่านั้น ที่น่าประหลาดก็คือ หู สามารถทนความดันเสียงได้ถึงมากกว่าล้านเท่าของ ๒๐ ไมโครปาสกาล ดังนั้นหากเราจะวัดเสียงเป็นปาสกาล ตัวเลขจะออกมาเป็นจำนวนมากมายมหาศาล เพื่อตัดปัญหานี้ จึงมีมาตราที่ใช้อีกอย่างหนึ่งคือ มาตราเดซิเบล (dB)

ลักษณะที่เป็นประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของมาตราเดซิเบล ก็คือ ให้ค่าที่ใกล้เคียงต่อการกำหนดรู้ความดังสัมพัทธ์ของคน ดีกว่ามาตราปาสกาล เพราะว่า หูมีปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยนระดับ ซึ่งสมนัยกับมาตราเดซิเบล โดยที่ ๑ เดซิเบล จะเป็นการเปลี่ยนเท่าๆ กันทุกแห่งตลอดมาตรา การเปลี่ยนความดังของเสียงน้อยที่สุดที่หูของเราสามารถรับรู้ได้ คือ การเพิ่มความดังขึ้นไป ๑ เดซิเบล การเพิ่มขึ้น ๖ เดซิเบล คือ การเพิ่มระดับความดันเสียงเป็น ๒ เท่า แต่การเพิ่ม ๑๐ เดซิเบล จะทำให้เสียงดังเป็น ๒ เท่า
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป