สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 20
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๐ / เรื่องที่ ๕ เลเซอร์ / การเปล่งแสงแบบถูกเร้า (Stimulated Emission)
การเปล่งแสงแบบถูกเร้า (Stimulated Emission)
การเปล่งแสงแบบถูกเร้า (Stimulated Emission)
ระบบอะตอม หรือโมเลกุล
ที่ใช้ทำเลเซอร์จะมีชั้นพลังงานต่างๆ อยู่
โดยที่ชั้นพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเกิดแสงเลเซอร์อยู่ ๒ ชั้นพลังงาน
โดยปกติอะตอม หรือโมเลกุลจะอยู่ที่ชั้นพลังงานต่ำ (E1) เสมอ
เพราะมีเสถียรภาพกว่า เมื่อมีการป้อนพลังงานให้แก่ระบบอะตอม หรือโมเลกุล
เช่น การฉายแสงที่มีพลังงาน ที่พอดีกับผลต่างระหว่างชั้นพลังงานทั้งสอง
(E2 - E1) อะตอม และโมเลกุล
จะถูกกระตุ้นให้ขึ้นไปอยู่ที่ชั้นพลังงานที่สูงกว่า (E2)
ปรากฎการณ์เช่นนี้คือ การดูดกลืนแสง (Absorption)
 การดูดกลืนแสง เมื่ออะตอม
หรือโมเลกุลมีพลังงานสูงขึ้น เนื่องจากการดูดกลืนแสงแล้ว
จะคงสภาพเช่นนั้นได้ด้วยระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะสถานะที่พลังงานสูง
(E2) นี้ไม่เสถียร เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง อะตอม และโมเลกุลเหล่านั้น
ก็จะตกกลับมาอยู่ที่ชั้นพลังานต่ำ (E1) ตามเดิม
โดยคายพลังงานออกมาเท่ากับผลต่างระหว่างชั้นพลังงานทั้งสอง (E2 - E1)
หรือเปล่งแสงกลับออกมานั่นเอง
การเปล่งแสงเช่นนี้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติของอะตอม และโมเลกุลนั้นๆ
จึงเรียกปรากฏการณ์เช่นนี้ว่า การเปล่งแสงแบบเกิดขึ้นเอง (Spontaneous Emission)
แต่การเปล่งแสงแบบถูกเร้า (Stimulated Emission)
ซึ่งเป็นกลกไลหลักของเลเซอร์นั้น เริ่มต้นจากการดูดกลืนแสง เพื่อให้อะตอม
หรือโมเลกุล ขึ้นไปอยู่ที่ชั้นพลังงานสูงเช่นกัน
แทนที่จะให้อะตอมหรือโมเลกุลตกลงมาเอง
เมื่อเวลาผ่านไปจะมีการฉายแสงเข้าไปในระบบอะตอม หรือโมเลกุล
ที่มีพลังงานเท่ากับผลต่างของชั้นพลังานทั้งสอง (E2 - E1)
แต่แสงที่ฉายเข้าไปนี้ไม่ถูกดูดกลืนโดยระบบฯ
แสงนี้เร่งเร้าให้อะตอมหรือโมเลกุลคายพลังงานก่อนเวลา
แสงที่เปล่งออกมากับแสงที่เร้าจึงออกมาจากระบบพร้อมกันมีพลังงานเท่ากัน
และมีความพร้อ มเพรียงกันทั้งทิศทางการเคลื่อนที่และเฟสของคลื่นแสง
 การเปล่งแสงแบบถูกเร้า
|
|