การตรวจทางห้องปฏิบัติการ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 20
เล่มที่ ๒๐
เรื่องที่ ๑ ศาสนา และระบบความเชื่อในประเทศไทย
เรื่องที่ ๒ ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศ
เรื่องที่ ๓ จิตรกรรมไทยแบบประเพณี
เรื่องที่ ๔ เสียง และมลภาวะทางเสียง
เรื่องที่ ๕ เลเซอร์
เรื่องที่ ๖ เซลล์แสงอาทิตย์
เรื่องที่ ๗ อัญมณี
เรื่องที่ ๘ เวชศาสตร์การบิน
เรื่องที่ ๙ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์
เรื่องที่ ๑๐ การปลูกถ่ายอวัยวะ
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๐ / เรื่องที่ ๙ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์ / การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น การเพาะเชื้อโรค
การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น การเพาะเชื้อโรค
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

๑. เพาะเชื้อโรค

วิธีการเพาะเชื้อไวรัสนี้ เป็นวิธีการที่ยุ่งยากมาก มีห้องปฏิบัติการชันสูตรโรคน้อยแห่ง ที่ทำการเพาะเชื้อโรคได้ เพราะจะต้องมีอุปกรณ์ครบครัน มีมาตรการในการรักษาความปลอดภัย นอกจากนั้นการเพาะเชื้อยังสิ้นเปลือง ทั้งค่าใช้จ่าย และกินเวลา ต้องใช้นักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ และประสบการณ์สูง จึงจะทำการแยกเชื้อได้ การเพาะเชื้อจะเพาะได้จากเม็ดเลือดขาว พลาสมา และอวัยวะที่ติดเชื้อ เช่น ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

การเพาะเชื้อมีประโยชน์อย่างไร

๑. ประเมินว่า บุคคลที่ติดเชื้อ จะสามารถแพร่โรคได้มากน้อยเพียงใด

๒. ประเมินผลการรักษาโรค

๓. นำเชื้อที่เพาะได้ไปศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลง หรือความผันแปรในส่วนประกอบของไวรัส

๔. เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อ เช่น ใน กรณีทารก เป็นต้น

๒. ตรวจหาหลักฐานการติดเชื้อโดย การตรวจหาแอนติ-เอชไอวีแอนติบอดี

๒.๑ การตรวจเบื้องต้น (Screening test)

ได้มีการพัฒนาการตรวจเบื้องต้นขึ้นมาหลายวิธี โดยอาศัยหลักการของการทดสอบดังต่อไปนี้คือ
  • ELISA Test
  • Gel particle agglutination 
  • Immunofluorescence
  • Immunoprecipitation 
และยังมีวิธีการตรวจอื่นๆ ที่กำลังจะนำมาใช้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะวิธีการตรวจที่ง่ายและรวดเร็ว (Rapid diagnostic test)

๒.๒ การตรวจเพื่อยืนยัน (Supplementary or Confirmetary tests)


การตรวจเบื้องต้นนั้นจะมีความไวค่อนข้างสูง แต่ความจำเพาะอาจจะไม่ถึงร้อยละ ๑๐๐ (เช่น ตรวจพบว่าให้ผลบวก แต่จริงๆ แล้ว เป็นผลบวกลวงหรือตรวจแล้ว ให้ผลลบ แต่อันที่จริงแล้ว ควรจะเป็นบวก ซึ่งถือว่า ผลลบลวง)

ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องมีวิธีการตรวจยืนยัน การตรวจดังกล่าวมีหลายชนิด คือ
  • Western Blot method 
  • Dot test 
  • การตรวจหาส่วนประกอบบางส่วนของไวรัส หรือแอนติเจนหรือเอนไซม์ 
  • การตรวจหา IgM และ IgG จำเพาะ
  • ตรวจหา RNA หรือ cDNA โดยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส
๒.๓ การตรวจดูจำนวนเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน (ตรวจ T lymphocyte)

คือ ตรวจเม็ดเลือดขาวชนิด T4 หรือ CD 4+ และ T8 หรือ CD 8+

๒.๔ การตรวจทางผิวหนัง (Skin Test)


เป็นการตรวจ เพื่อดูการตอบสนองของร่างกายทางด้านภูมิแพ้ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อม การตอบสนองจะต่ำ หรือไม่มีเลยก็ได้ โดยใช้แอนติเจนต่างๆ เช่น แคนดิดา แอนติเจน ทอกซอยด์ป้องกันบาดทะยัก ฯลฯ
หัวข้อก่อนหน้า