บทบาทของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษฯ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 21
เล่มที่ ๒๑
เรื่องที่ ๑ กระบวนพยุหยาตรา
เรื่องที่ ๒ วีรสตรีไทย
เรื่องที่ ๓ ศิลปะการทอผ้าไทย
เรื่องที่ ๔ เครื่องถม
เรื่องที่ ๕ เครื่องปั้น
เรื่องที่ ๖ การตลาดและการส่งออกศิลปหัตถกรรม
เรื่องที่ ๗ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
เรื่องที่ ๘ การอนุรักษ์ และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
เรื่องที่ ๙ องค์การสหประชาชาติ และองค์การในเครือ
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๑ / เรื่องที่ ๖ การตลาดและการส่งออกศิลปหัตถกรรม / บทบาทของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษฯ

บทบาทของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษฯ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเยี่ยมราษฎรในชนบท
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเยี่ยมราษฎรในชนบท

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเยี่ยมราษฎรในชนบท
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเยี่ยมราษฎรในชนบท
บทบาทของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ พิเศษฯ

นอกจากการส่งเสริมการผลิตสินค้าหัตถกรรมของภาคราชการ และหน่วยงานอื่นแล้ว มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นับเป็นกำลังสำคัญต่อการสนับสนุนด้านการผลิต และการอนุรักษ์ศิลปาชีพพื้นบ้านของไทย โดยนับตั้งแต่ได้มีการก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากการที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปเยี่ยมราษฎรตามชนบท ทรงพบว่า ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวนาชาวไร่ ต้องทำงานหนัก และต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม ศัตรูพืชระบาด เป็นต้น ทำให้ชาวนาชาวไร่มีฐานะยากจน การนำสิ่งของไปแจกแก่ราษฎรผู้ประสบภัย ก็เป็นเพียงการบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปรารภว่า เป็นการช่วยเหลือที่ไม่ยั่งยืน ควรจะหาวิธีอื่น ที่ช่วยให้ราษฎรพึ่งตนเองได้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชปณิธานในการส่งเสริม และฟื้นฟู การผลิตสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน ทั่วทุกภาค เพื่อให้ราษฎรของพระองค์มีรายได้เสริมจากอาชีพเกษตร อันเป็นอาชีพหลักแล้ว ยังสามารถอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านแต่โบราณ อันเป็นสมบัติล้ำค่าของประเทศชาติ ให้คงอยู่ต่อไปด้วย จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ขึ้น และมีการดำเนินงานอย่างมีระบบ จนกระทั่งทำให้งานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ซึ่งในอดีตทำกันอยู่เฉพาะใต้ถุนบ้าน สำหรับใช้ภายในครัวเรือน ให้กลับมาเป็นงานฝีมือออกสู่ตลาด ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ จนเป็นที่ยอมรับว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางศิลปหัตถกรรม และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
หัว ข้อก่อนหน้า หัว ข้อถัดไป