สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 21
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๑ / เรื่องที่ ๗ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน / พืชสมุนไพรพื้นบ้าน
พืชสมุนไพรพื้นบ้าน
ขลู่
น้ำเต้า
กระชาย
ผลมะตูม
ผลดิบมะเกลือ
เล็บมือนาง
สะแกนา
ต้นทองพันชั่ง | พืชสมุนไพรพื้นบ้าน
พืชสมุนไพร
หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นยารักษาโรค โดยใช้ส่วนต่างของพืชชนิดเดียว
หรือหลายชนิดพร้อมกัน พืชสมุนไพรเป็นกลุ่มพืชที่อยู่ในความสนใจ
และมีผู้ศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านมากที่สุด
ยารักษาโรคปัจจุบันหลายขนาน ที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรม ได้มาจากการศึกษาวิจัย
การใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านของกลุ่มชนพื้นเมือง ตามป่าเขา หรือในชนบท
ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ที่ได้สังเกตว่า
พืชใดนำมาใช้บำบัดโรคได้ มีสรรพคุณอย่างไร จากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์
และการทดลองแบบพื้นบ้าน ที่ได้ทั้งข้อดี และข้อผิดพลาด
พืชสมุนไพรพื้นบ้านในตำรับยาไทยมีหลายร้อยชนิด จะนำมากล่าวถึงเป็นตัวอย่างเพียงบางชนิด แยกตามกลุ่มพืชที่ใช้บำบัดโรคต่างๆ
ดังนี้
กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้แก้ไข้และขับปัสสาวะ
เช่น
- เปลือกพญาสัตบรรณหรือตีนเป็ด (Alstoniascholaris)
- เปลือกและใบทุ้งฟ้า (Alstonia macrophylla)
- ใบหนาด (Blumea balsamifera)
- ราก เปลือก และใบ ขลู่ (Pluchea indica)
- ใบ เนื้อไม้ ผล และเมล็ดมะคำไก่ หรือประคำไก่ (Drypetes roxburghii)
- ต้นและรากอ้อเล็ก (Phragmites australis)
- รากและใบกรุงเขมา (Cissampelos pareira)
- เถาบอระเพ็ด (Tinospora crispa)
- เถาขมิ้นเครือ (Arcangelisia flava)
- ราก เหง้า และใบหญ้าคา (Imperata
cylindrica)
- ผลน้ำเต้า (Legenaria siceraria)
กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย
เช่น
- เนื้อไม้สีเสียดหรือสีเสียดเหนือ (Acaciacatechu)
- ใบและผลมะตูม (Aegle marmelos)
- เปลือกประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus)
- เหง้าไพล (Zingiber purpureum)
- เหง้าและรากกระชาย (Boesenbergia rotunda)
- แก่นฝาง (Caesalpinia sappan)
- ราก เปลือก เนื้อไม้ ใบและดอกแก้ว (Murraya paniculata)
- เปลือกโมกหลวง (Holarrhena pubescens)
กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาระบายและขับพยาธิ
เช่น
- ผลดิบมะเกลือ (Diospyros mollis)
- แก่นไม้มะหาด (Artocarpus lakoocha)
-
เมล็ดเถาเล็กมือนาง (Quisqualis indica)
- เมล็ดสะแกนา (Combretum quadran-gulare)
- เมล็ดแห้งฟักทอง (Cucurbita moschata)
- เนื้อในเมล็ดมะขาม (Tamarindus indica)
กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาขับลม
เช่น
- เหง้าแก่ขิง (Zingiber officinale)
- เหง้าว่านน้ำ (Acorus calamus)
- ผลกระวาน (Amomum krervanh)
- เหง้าข่า (Alpinia galanga)
- ผลพริกไทย (Piper nigrum)
-
ต้นตะไคร้ (Cymbopogon citratus)
กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้แก้โรคผิวหนัง
- เปลือก ใบ และเมล็ดสารภีทะเลหรือกระทิง
(Calophyllum inophyllum)
-
ใบและเมล็ดชุมเห็ดไทย (Cassia tora)
- ใบชุมเห็ดเทศ หรือ ชุมเห็ดใหญ่ (Cassia alata)
- ใบ ดอกและเมล็ดเทียนบ้าน(Impatiens
balsamina)
- รากและใบทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus)
- เปลือก ใบ ดอกและผลโพธิ์ทะเล
(Thespesia populnea)
- ใบและเมล็ดครามป่า(Tephrosia purpurea)
- ยางสลัดไดป่า (Euphorbia antiquorum)
- น้ำยางสบู่ดำ(Jatropha curcas)
- เมล็ดทองกวาว (Butea monosperma)
- เปลือกเถาสะบ้ามอญ(Entada rheedii)
- เมล็ดกระเบาใหญ่ (Hydnocarpus anthelminthicus)
- เหง้าข่า (Alpiniaa galanga)
- หัวหรือกลีบกระเทียม (Allium sativum)
กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงและไล่แมลง
เช่น
- รากเถาโล่ติ๊น หรือหางไหล (Derris elliptica)
- ใบและเมล็ดน้อยหน่า (Annona squamosa)
- รากหนอนตายหยาก (Stemona tuberosa)
- เมล็ดงา (Sesamun indicum)
- ผลมะคำดีควายหรือมะซัก (Sapindus rarak)
- ใบเสม็ด หรือเสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi)
- ต้นขอบชะนาง หรือหญ้าหนอนตาย (Pouzolzia pentandra)
-
เปลือก ใบและผลสะเดา(Azadirachta indica)
- เปลือกกระเจาหรือกระเชา (Holopteleaintegrifolia)
- ใบสดกว้าว (Haldina cordifolia)
|
|