ครอบครัวไทย - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 22
เล่มที่ ๒๒
เรื่องที่ ๑ ภาษาศาสตร์
เรื่องที่ ๒ เครื่องถ้วยไทย
เรื่องที่ ๓ เครื่องจักสาน
เรื่องที่ ๔ ไม้ดอกหอมของไทย
เรื่องที่ ๕ เครื่องมือทุ่นแรง และเครื่องจักรกลเกษตร
เรื่องที่ ๖ อาชีวอนามัย
เรื่องที่ ๗ ครอบครัวไทย
เรื่องที่ ๘ สัตว์ทะเลหน้าดิน
เรื่องที่ ๙ ท่าอากาศยาน
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๒ / เรื่องที่ ๗ ครอบครัวไทย / ครอบครัวไทย

 ครอบครัวไทย
ครอบครัวไทย

ระบบครอบครัว และเครือญาติ หมายถึง ระบบของเครือข่ายความสัมพันธ์ของกลุ่มคน ที่เกี่ยวข้องกัน โดยทางสายเลือด หรือการแต่งงาน การจะนับว่า ใครเป็นญาติของเราบ้างนั้น ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ ในแต่ละวัฒนธรรม การจัดระบบเครือญาติเป็นเรื่องทาง "วัฒนธรรม" ไม่ใช่เรื่อง "ธรรมชาติ" แม้ว่าปรากฏการณ์ พ่อ แม่ ลูก จะเป็นเรื่องธรรมชาติ และมีปรากฎในทุกๆ สังคม แต่แต่ละสังคม ก็จะมีการจัดระบบเครือญาติในการกำหนดบทบาทแนวปฏิบัติ และหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวต่างกันไป บางสังคมเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับญาติข้างพ่อ เช่น สังคมจีน สังคมอินเดีย บางสังคม ก็ให้ความสำคัญกับญาติข้างแม่ เช่น สังคมกะเหรี่ยงโปว หรือบางสังคมก็ให้ความสำคัญกับญาติทั้งสองฝ่าย เช่น สังคมพม่า สังคมอินโดนีเซีย สังคมไทย เป็นต้น

เนื่องจากระบบครอบครัว และเครือญาติเป็นระบบความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานที่สุดในสังคม และมีความสำคัญมากในการเข้าใจสังคมไทย การกล่าวถึงลักษณะของครอบครัวไทยในที่นี้ จึงจะเน้นให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างครอบครัวกับสังคมไทย โดยเฉพาะในระดับสังคมหมู่บ้านในชนบทไทย ซึ่งครอบครัว และเครือญาติมีบทบาทอย่างมากในวิถีชีวิตชุมชนหมู่บ้าน ในการนำเสนอ เพื่อให้เห็นภาพดังกล่าวนี้ จะกล่าวถึงกฎเกณฑ์การตั้งถิ่นฐานหลังการแต่งงาน ที่มีผลต่อวัฎจักรของครอบครัว และการสร้างกลุ่มครอบครัว และเครือญาติ อันนับเป็นโครงสร้างของสังคมหมู่บ้าน และกฎเกณฑ์การรับมรดกในครอบครัวไทย จากนั้นเพื่อให้เห็นความสำคัญของครอบครัวและเครือญาติในสังคมในวงกว้าง จะขอกล่าวถึงคำเรียกญาติ การนับญาติ และการขยายการนับญาติในสังคมไทย และส่วนสุดท้ายจะให้ภาพความเปลี่ยนแปลงในระบบครอบครัว อันเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป