กฎเกณฑ์การรับมรดก - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 22
เล่มที่ ๒๒
เรื่องที่ ๑ ภาษาศาสตร์
เรื่องที่ ๒ เครื่องถ้วยไทย
เรื่องที่ ๓ เครื่องจักสาน
เรื่องที่ ๔ ไม้ดอกหอมของไทย
เรื่องที่ ๕ เครื่องมือทุ่นแรง และเครื่องจักรกลเกษตร
เรื่องที่ ๖ อาชีวอนามัย
เรื่องที่ ๗ ครอบครัวไทย
เรื่องที่ ๘ สัตว์ทะเลหน้าดิน
เรื่องที่ ๙ ท่าอากาศยาน
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๒ / เรื่องที่ ๗ ครอบครัวไทย / กฎเกณฑ์การรับมรดก

 กฎเกณฑ์การรับมรดก
บ้านของพ่อแม่ซึ่งมักจะตกอยู่กับลูกสาวคนเล็กที่ดูแลพ่อแม่ยามแก่เฒ่า
บ้านของพ่อแม่ซึ่งมักจะตกอยู่กับลูกสาวคนเล็กที่ดูแลพ่อแม่ยามแก่เฒ่า 

ที่นาซึ่งมักตกอยู่กับลูกสาว
ที่นาซึ่งมักตกอยู่กับลูกสาว   
กฎเกณฑ์การรับมรดก

ในบางสังคมมีประเพณีที่จะยกมรดกให้แก่ลูกชายเท่านั้น เช่น สังคมจีนสมัยก่อน ซึ่งลูกสาวจะได้มรดกน้อยหรือไม่ได้เลย หรือในบางสังคม กำหนดให้ลูกชายรับมรดกจากลุง ซึ่งเป็นพี่ชายของมารดา เช่น ในสังคมที่ให้ความสำคัญกับญาติทางฝ่ายมารดา และบางสังคมมีกฎเกณฑ์ ที่จะแบ่งสมบัติให้ลูกทุกๆ คนเท่ากัน โดยทั่วๆ ไป สังคมไทยมีการแบ่งมรดก ในลักษณะที่เท่าเทียม โดยหลักการ ถ้าถามพ่อแม่คนไทยว่า "จะให้มรดกกับลูกคนไหน" มักได้รับคำตอบว่า "ก็ให้ลูกทุกคน" แต่ในทางปฏิบัติ อาจขึ้นอยู่กับสถานการณ์ หรือสาเหตุเฉพาะกรณี ซึ่งสัมพันธ์กับกฎเกณฑ์อื่นๆ ในระบบครอบครัว

การที่สังคมไทยนิยมแต่งลูกเขยเข้าบ้าน ทำให้ในทางปฏิบัติ แม้ว่าลูกชายจะได้มรดกเป็นที่นา แต่เมื่อต้องมาอาศัยอยู่กับครอบครัวของฝ่ายหญิง ซึ่งอาจจะอยู่ต่างหมู่บ้านกัน ทำให้ตัดสินใจขายที่นาของตนให้กับน้องสาว โดยเฉพาะน้องสาวจะอยู่ในหมู่บ้านต่อไป หรือลูกชายอาจจะสละสิทธิ์ในการเอาที่นามาเป็นมรดก ในกรณีนี้พ่อแม่อาจให้เป็นเงินซึ่งมีค่าเท่ากับที่นาให้กับลูกชาย ผลดีในเรื่องนี้ก็มีในแง่ที่ว่า ทำให้ที่นายังคงเป็นผืนใหญ่ ไม่ถูกแบ่งไปเพราะพี่ชายมักจะขายให้น้องสาว ทำให้ยังสามารถรักษาที่นาผืนใหญ่ไว้ได้ แต่ในกรณีที่พี่ชายไม่ขายให้น้องสาว แต่ขายให้คนอื่น ก็อาจทำให้ที่นาของพ่อแม่เล็กลง เพราะถูกแบ่งขาย ท้ายที่สุดเมื่อเวลาผ่านไปหลายชั่วอายุคน ที่นาอาจจะผืนเล็กลงจนทำนาไม่ได้ ทำให้ต้องขายไปในที่สุด
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป