ชนิดและคุณสมบัติของปูนซีเมนต์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 24
เล่มที่ ๒๔
เรื่องที่ ๑ วรรณคดีมรดก
เรื่องที่ ๒ ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน ๒)
เรื่องที่ ๓ เมืองหลวงเก่าของไทย
เรื่องที่ ๔ การผลิตรถยนต์
เรื่องที่ ๕ การผลิตรถจักรยานยนต์
เรื่องที่ ๖ การผลิตปูนซีเมนต์
เรื่องที่ ๗ ปิโตรเลียมและการผลิต
เรื่องที่ ๘ โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ
เรื่องที่ ๙ แผนพัฒนาประเทศ
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๔ / เรื่องที่ ๖ การผลิตปูนซีเมนต์ / ชนิดและคุณสมบัติของปูนซีเมนต์

 ชนิดและคุณสมบัติของปูนซีเมนต์
หม้อบดซีเมนต์ (Cement Mill)
หม้อบดซีเมนต์ (Cement Mill)

การก่อสร้างสิ่งต่างๆ ต้องใช้ปูนซีเมนต์เป็นส่วนประกอบ
การก่อสร้างสิ่งต่างๆ ต้องใช้ปูนซีเมนต์เป็นส่วนประกอบ
ชนิดและคุณสมบัติของปูนซีเมนต์

ซีเมนต์ตามความหมายทางวิศวกรรมโยธาแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ บิทูมินัส (Bituminous) และ นันบิทูมินัส (Non Bituminous) บิทูมินัสซีเมนต์ ได้แก่ ยางมะตอย (Asphalts) และนำมันดิน (Tars) เราใช้บิทูมินัสซีเมนต์ผสมกับหิน ทราย ราดทำผิวถนน และเรียกส่วนผสมนี้ว่า แอสฟัลต์คอนกรีต (Asphalt Concrete)

นันบิทูมินัสซีเมนต์ ได้แก่ อะลูมินาซีเมนต์ (Alumina Cement) และปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) มีลักษณะเป็นผงสีเทาอ่อนต้องผสมน้ำในปริมาณมากพอสมควร แล้วทิ้งไว้ให้แห้งจึงจะแข็งตัว เรามักจะนิยมเรียกซีเมนต์ชนิดนี้ว่า ไฮดรอลิกซีเมนต์ (Hydraulic Cement) ทั้งนี้ เพราะต้องใช้น้ำผสม และแข็งตัวในน้ำได้ ดังนั้น ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์จึงเป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างมากที่สุด ในที่นี้จะกล่าวถึงชนิดและคุณสมบัติของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์

ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ แบ่งเป็น ๕ ประเภท ดังนี้

ประเภทที่หนึ่ง


เหมาะสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป ส่วนใหญ่ จะนำไปใช้กับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก เช่น ทำผิวถนน สะพาน ท่อระบายน้ำ เป็นต้น ปูน ซีเมนต์ประเภทนี้มีข้อเสียคือ ไม่ทนต่อสารที่เป็น ด่าง จึงไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องสัมผัสกับด่าง จากดินหรือน้ำ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมเคมี

ประเภทที่สอง


ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ เมื่อผสมกับน้ำจะคายความร้อนออกมาน้อยกว่าประเภทธรรมดา และมีความต้านทานต่อสารที่เป็นด่างได้บ้าง เหมาะ สำหรับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ อาทิเช่น ตอม่อ ขนาดใหญ่ สะพานเทียบเรือ เขื่อนหรือกำแพง กันดินในบริเวณที่ถูกน้ำเค็มเป็นครั้งคราว

ประเภทที่สาม


ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทนี้ มีความ ละเอียดมากกว่า เป็นผลทำให้แข็งตัว และรับแรงได้เร็วกว่าปูนซีเมนต์ประเภทที่หนึ่ง จึงนิยมนำไปใช้กับงานเร่งด่วน ที่ต้องแข่งกับเวลา หรือในกรณีที่ต้องการถอดหรือรื้อแบบเร็วกว่าปกติ

ประเภทที่สี่


เหมาะกับงานที่ต้องการควบคุมทั้งปริมาณ และอัตราความร้อนที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด การเกิดกำลังของคอนกรีตที่มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ ประเภทนี้จะเป็นไปอย่างช้าๆ จึงนิยมใช้กับงาน ขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนกั้นน้ำ ซึ่งถ้ามีความร้อน อย่างร้ายแรงต่อตัวเขื่อน เนื่องจากจะทำให้เกิด การแตกหรือร้าวได้

ประเภทที่ห้า

มีคุณสมบัติในการต้านทานต่อสารที่เป็นด่างได้สูง จึงเหมาะที่จะใช้กับงานก่อสร้างในบริเวณ ที่ต้องสัมผัสกับด่าง เช่น ในบริเวณที่ดินมีความ เป็นด่างสูง หรือน้ำทะเล ระยะเวลาในการแข็งตัวของปูนซีเมนต์ประเภทนี้ จะช้ากว่าประเภท อื่นๆ

นอกจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แล้ว ยังมี ปูนซีเมนต์ชนิดอื่นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

๑. ปูนซีเมนต์ผสม (Mixed Cement)


ได้จากการบดปูนเม็ดกับยิปซัม และวัสดุเฉื่อย ซึ่งไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับปูนซีเมนต์ เช่น หินปูนหรือทราย เป็นต้น ปูนซีเมนต์ผสม เหมาะกับงานก่อ โบก ฉาบ หรืองานก่อสร้างทั่วไป ที่ไม่ต้องการรับน้ำหนักมาก

๒. ปูนซีเมนต์ขาว (White Portland Cement)


วัตถุดิบหลักคือ หินปูน และวัตถุดิบอื่น ที่มีปริมาณของแร่เหล็กน้อยกว่า ๑% ลักษณะของปูนซีเมนต์ที่ได้เป็นสีขาว ปูนซีเมนต์ขาวเป็นที่นิยมใช้ในงานตกแต่งอาคาร เพื่อความสวยงาม หรือนำไปผสมเม็ดสี (Pigment) เพื่อผลิตเป็น ปูนซีเมนต์สี (Colour Cement)
หัวข้อก่อนหน้า