แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๔) - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 24
เล่มที่ ๒๔
เรื่องที่ ๑ วรรณคดีมรดก
เรื่องที่ ๒ ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน ๒)
เรื่องที่ ๓ เมืองหลวงเก่าของไทย
เรื่องที่ ๔ การผลิตรถยนต์
เรื่องที่ ๕ การผลิตรถจักรยานยนต์
เรื่องที่ ๖ การผลิตปูนซีเมนต์
เรื่องที่ ๗ ปิโตรเลียมและการผลิต
เรื่องที่ ๘ โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ
เรื่องที่ ๙ แผนพัฒนาประเทศ
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๔ / เรื่องที่ ๙ แผนพัฒนาประเทศ / แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๔)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๔)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๔)

จากผลของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑ ก็ยังมีการขาดแคลนบริการพื้นฐาน ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องขยายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อไป ขณะเดียวกันก็จำเป็น ที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทางด้านสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาและสาธารณสุข เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศควบคู่กับการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ เพื่อลดปัญหาความยากจน และการกระจายรายได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สร้างความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนั้น
การพัฒนาอุตสาหกรรมนับเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
การพัฒนาอุตสาหกรรมนับเป็นนโยบาย สำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
ดังนั้น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๒ จึงมุ่งเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อไป และปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ และชัดเจนขึ้น โดยเน้นการเจริญเติบโตที่สมดุล ระหว่างเศรษฐกิจ และสังคม โดยเพิ่มการพัฒนาสังคม สาธารณูปการ การสาธารณสุข และการศึกษา เข้าไว้ในแผนพัฒนาฯ ด้วย และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แผนพัฒนาฯ ทุกฉบับก็ใช้คำว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาโดยตลอด ขณะเดียวกันก็ยังมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนให้กว้างขวาง ยิ่งขึ้น
การพัฒนาอุตสาหกรรมนับเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
การพัฒนาอุตสาหกรรมนับเป็นนโยบาย สำคัญในการพัฒนาประเทศ และเป็นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
สำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญๆของแผน พัฒนาฯ ฉบับที่ ๒ มีดังนี้
  • ให้เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ ๘.๕ ต่อปี และรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕ ต่อปี 
  • ให้มูลค่าผลผลิตด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๑๐.๙ ต่อปี และสัดส่วนผลผลิต ภาคอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ ๑๓.๖ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ และให้มูลค่าผลผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๔.๓ ต่อปี 
  • ให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ ๘.๑ ต่อปี และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ ๙.๓ ต่อปี 
  • ขยายการมีงานทำ และพัฒนาฝีมือแรงงาน ในระดับต่างๆ ให้มีคุณภาพสูงขึ้น ควบคู่กับการพัฒนาระบบสังคมให้ก้าวหน้า และมีความเสมอภาคมากขึ้น 
  • สร้างอาคารสงเคราะห์ สำหรับผู้มีรายได้น้อย ปีละ ๗๖๐ ครอบครัว 
  • เปิดเขตพัฒนาชุมชนให้ครบทุกอำเภอในภาคใต้ และร้อยละ ๖๐ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
  • ปรับปรุงโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค ๘๔ แห่ง ยกระดับโรงพยาบาล ๓ แห่ง เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำภาค
  • รับนักเรียนเพิ่มขึ้นจาก ๕.๒๙ ล้านคนเป็น ๖.๓๕ ล้านคน เร่งผลิตครู อาจารย์ เพิ่มขึ้น ๔๙,๗๗๐ คน 
  • ขยายคณะและภาควิชา ในมหาวิทยาลัย เพื่อให้รับนักศึกษาเพิ่มขึ้น ๑๐,๓๐๐ คน
ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๔) ได้เกิดเหตุการณ์หลายอย่าง ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนา เช่น การถอนกำลังทหารจากเวียดนาม และการลดรายจ่ายทางด้านการทหารของสหรัฐอเมริกา การลงทุนจากต่างประเทศลดลง เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน และการค้าระหว่างประเทศ ทำให้รายได้จากการส่งออกของไทยลดลง ส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๓ ต่อปี (ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในแผนร้อยละ ๘.๕ ต่อปี) มูลค่าผลิตผลภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรมเพิ่มต่ำกว่าเป้าหมาย คือ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๓.๗ และ ๑๐.๑ ตามลำดับ ในขณะที่มูลค่าสินค้าออกและสินค้าเข้าก็ต่ำกว่าเป้าหมายเช่นกัน ส่วนปัญหาเรื่องการกระจายรายได้ และความยากจน ขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ในระยะแรกๆ ของแผนพัฒนามุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ในระยะแรกๆ ของแผนพัฒนามุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ในระยะแรกๆ ของแผนพัฒนามุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ในระยะแรกๆ ของแผนพัฒนามุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม บริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และสังคมยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการคมนาคม และขนส่ง พลังงาน โทรศัพท์ และ ประปา กระจายครอบคลุมพื้นที่สำคัญๆ มากขึ้น ในขณะที่เด็กมีโอกาสได้รับการศึกษามากขึ้น โดยสามารถรับนักเรียนทุกระดับชั้นได้ถึง ๖.๔ ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น ๑.๘ ล้านคน มีการจัดตั้ง และปรับปรุงสถานีอนามัยชั้น ๑ เพิ่มขึ้น ๗๖ แห่ง ทำให้สามารถให้บริการด้านสาธารณสุขได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น
หัว ข้อก่อนหน้า หัว ข้อถัดไป