ประโยชน์ของห้องสมุดเสียง - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 26
เล่มที่ ๒๖
เรื่องที่ ๑ นิทานพื้นบ้านไทย
เรื่องที่ ๒ ห้องสมุดเสียงแห่งแรกของไทย
เรื่องที่ ๓ ชุมชน
เรื่องที่ ๔ การใช้สื่อประสมส่งเสริมการศึกษา
เรื่องที่ ๕ เชื้อเพลิง ยานยนต์ และสิ่งแวดล้อม
เรื่องที่ ๖ การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้
เรื่องที่ ๗ ส้ม
เรื่องที่ ๘ สัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลน
เรื่องที่ ๙ หอยเป๋าฮื้อ
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๖ / เรื่องที่ ๒ ห้องสมุดเสียงแห่งแรกของไทย / ประโยชน์ของห้องสมุดเสียง

 ประโยชน์ของห้องสมุดเสียง

ประโยชน์ของห้องสมุดเสียง

๑. อาจารย์ผู้สอนรายการต่างๆ สามารถค้นหาหลักฐาน เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ จากทะเบียนแถบเสียงต้นฉบับ

๒. นักศึกษาสามารถฝึกฝน หรือหาความรู้จากแถบเสียงด้วยตนเองได้ ตามห้องที่มีเครื่องรับฟังอัตโนมัติ จากรายการที่จัดไว้ ๕๐ รายการ ตัวอย่างเช่น

(๑) การอ่านทำนองเสนาะ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน โองการแช่งน้ำ ทำนองสวดสรภัญญะ เห่ กล่อม เสภา แอ่ว เพลงพื้นเมือง ขับไม้บัณเฑาะว์
(๒) การฝึกฟัง - พูด ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน เขมร บาลี สันสกฤต
(๓) การศึกษาสำนวนโวหาร เช่น สุนทรพจน์ของบุคคลสำคัญทั่วโลก
(๔) การศึกษาวรรณคดี เช่น บทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ บทมโหรี เรื่องกากี เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน บทโขน หนังใหญ่ มโนราห์ บทละครต่างประเทศ
(๕) การศึกษาเกี่ยวกับดุริยางคศิลป์ ได้แก่ ดุริยางค์ไทย ดุริยางค์สากล การประพันธ์เพลง ดนตรีและนาฏศิลป์ เพลงหน้าพาทย์ เช่น คุกพาทย์ ตระเสมอ บาทสกุณี มหาอุปรากรของกิลเบิร์ต ซุลลิแวน เฟาสท์ และปุคซีนิ ซิมโฟนีของบีโทเฟน
(๖) การศึกษาประวัติศาสตร์ วิชาการศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณี
(๗) กระแสพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้สำเนามารวบรวมไว้ ในห้องสมุดเสียงของวิทยาลัยทับแก้ว มหาวิทยาลัยศิลปากร
(๘) แถบเสียงที่หาฟังยากซึ่งอาจเทียบได้กับหนังสือหายาก (rare book) จัดไว้เป็นหลักฐานค้นคว้า อาทิ เพลงไทยในเมืองพม่าสมัยอยุธยา พระสงฆ์จากลังกาสวดพระปริตร สุนทรพจน์ของบัณฑิตเนห์รูและมหาตมะคานธี เพลงไทยเดิมที่หาฟังได้ยาก

๓. เป็นการรักษาสมบัติวัฒนธรรมทางเสียงไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้าในอนาคต
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป