การติดตามและควบคุมคุณภาพน้ำในระบบ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 26
เล่มที่ ๒๖
เรื่องที่ ๑ นิทานพื้นบ้านไทย
เรื่องที่ ๒ ห้องสมุดเสียงแห่งแรกของไทย
เรื่องที่ ๓ ชุมชน
เรื่องที่ ๔ การใช้สื่อประสมส่งเสริมการศึกษา
เรื่องที่ ๕ เชื้อเพลิง ยานยนต์ และสิ่งแวดล้อม
เรื่องที่ ๖ การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้
เรื่องที่ ๗ ส้ม
เรื่องที่ ๘ สัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลน
เรื่องที่ ๙ หอยเป๋าฮื้อ
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๖ / เรื่องที่ ๙ หอยเป๋าฮื้อ / การติดตามและควบคุมคุณภาพน้ำในระบบ

 การติดตามและควบคุมคุณภาพน้ำในระบบ



การติดตามและควบคุมคุณภาพน้ำในระบบ

การเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อ ต้องมีการติดตาม และควบคุมคุณภาพของน้ำทะเล ที่ใช้เลี้ยงในระบบ อยู่เป็นประจำ ค่าแสดงคุณภาพน้ำที่ทำการติดตาม คือ อุณหภูมิของน้ำทะเล ความเค็ม ความเป็นกรดด่าง ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ และปริมาณแอมโมเนียรวม โดยเฉพาะปริมาณแอมโมเนียรวมนี้ เป็นค่าที่ควรจะต้องให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อใช้อาหารสำเร็จรูป

การให้อาหารและการดูแลทำความสะอาด เนื่องจากหอยเป๋าฮื้อออกหากินในเวลากลางคืน ดังนั้น เราจะเริ่มให้อาหารแก่หอยที่ใช้เลี้ยงในตอนเย็น เวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. และเก็บอาหารที่เหลือ รวมทั้งของเสียที่หอยขับถ่ายออกมา โดยการดูดตะกอนในตอนเช้า เวลา ๐๘.๐๐ น. - ๐๙.๐๐ น. ของทุกวัน พร้อมกับทำการตรวจสอบปริมาณอาหารที่เหลือ เพื่อใช้ในการปรับปริมาณอาหารที่ควรให้ เพื่อความเหมาะสมในแต่ละเดือน สำหรับปริมาณอาหารที่ต้องให้ในแต่ละมื้อนั้น ควรมีน้ำหนัก ประมาณร้อยละ ๐.๑ (น้ำหนักแห้ง) ของน้ำหนักตัวโดยรวมของหอยที่เลี้ยงอยู่ในบ่อ ในกรณีที่ให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเป็นหลัก ถ้าเป็นไปได้ ควรมีการสลับให้สาหร่าย จำพวกกราซิลาเรีย เอสพีพี. (Gracilaria spp.) หรือเอนเตโรมอร์ฟา เอสพีพี. (Enteromorpha spp.) ประมาณ ๑-๒ ครั้งต่อเดือน สำหรับการทำความสะอาดบ่อเลี้ยง รวมทั้งภาชนะที่ใช้เลี้ยง ควรกระทำเดือนละครั้ง หรือบ่อยกว่านั้นก็ได้ ถ้าบ่อเลี้ยงสกปรกมาก การทำความสะอาดควรทำทั้งบ่อ โดยย้ายหอยทั้งหมดไปยังบ่อใหม่ที่สะอาด ทำความสะอาดบ่อ และปล่อยให้แห้งเป็นเวลา ๑-๓ วัน แล้วจึงเติมน้ำ และนำหอยลงเลี้ยง สำหรับการทำความสะอาดครั้งใหญ่ อาจปรับเวลาให้พอดีกับการย้ายบ่อ การตรวจสอบขนาดหอยในบ่อ หรือการปรับความหนาแน่นก็ได้
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป