การบริหารงานโรงเรียนคือ
พฤติกรรมทางสังคม ในด้านวิชาการของโรงเรียน ตามหลักที่ว่า ที่ใด มีสังคม
ที่นั่นย่อมต้องมีกฎเกณฑ์ หรือระเบียบปฏิบัติ
อันมุ่งกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นหลัก กฎเกณฑ์ในสังคมเช่นนี้
มีที่มาจากจารีตประเพณี และข้อกำหนดต่างๆ
ที่บ้านเมืองแต่ละแห่งได้ตกลงกันไว้ แล้วถ่ายทอดสืบต่อกันมา
จนในที่สุดได้ตราเป็นกฎหมายของบ้านเมือง
เป็นระเบียบปฏิบัติราชการของเมืองนั้นๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน"
|
 | ในอดีต ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ยังเป็นการบริหารงาน ในวงแคบเฉพาะท้องถิ่น
หรือชุมชน มีสภาพเหมือนเป็นการบริหารงาน ในครอบครัวเดียวกัน ถือเป็นเสมือน "ครอบครัวเมือง"
เป็นการประกอบกิจกรรมแบบลุงป้าน้าอา ไปจนถึงกลุ่มชุมชน
ที่ร่วมด้วยช่วยกันทำกิจกรรมต่างๆ โดยมีจุดศูนย์รวมอำนาจการบริหาร
โยงไปสู่ผู้มีตำแหน่งสูงสุดทางการปกครองของเมืองนั้นๆ ได้แก่ เจ้าเมือง
ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยทุกเมือง
จะโยงอำนาจบริหารนี้ เข้าสู่ศูนย์กลางของประเทศ คือ เมืองหลวง ณ
ที่นี้มีคณะผู้บริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเรียกกันในเวลาต่อมาว่า "รัฐบาล" |
ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทย
(ก่อนวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕)
ตามโรงเรียนไม่ค่อยมีผู้สนใจกิจการบ้านเมือง โดยถือว่า
เป็นเรื่องของผู้ใหญ่
แม้แต่ประชาชนก็ให้ความสนใจต่อกิจการบ้านเมืองไม่มากเท่าใดนัก อาจถือว่า
เป็นภาระหน้าที่ของชนชั้นสูง ที่มีฐานะดี มีความรู้ดี หรือมีอำนาจ
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแล้ว
ราษฎรจึงเริ่มตื่นตัวต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
เพราะคนทุกระดับชั้นเริ่มมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง เช่น
ออกกฎหมาย หรือปกครองประเทศได้ แม้กระนั้นส่วนใหญ่ยังรู้จัก
และเข้าใจความหมายขององค์ประกอบการบริหารราชการแผ่นดินบางคำเท่านั้น เช่น
รัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา เป็นต้น |
 |
สำหรับคำว่า "ประชาธิปไตย" แล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นเคย และยังไม่เข้าใจวิธีการ เนื้อหาสาระ ตลอดจนองค์ประกอบต่างๆ ดีพอ จึงมักจะไม่พูดถึง "อำนาจอธิปไตย"
ประชาชนบางคนเรียกร้อง หรือคำนึงถึงแต่สิทธิ โดยไม่พูดถึงหน้าที่ ดังนั้น
จึงเป็นสิ่งจำเป็น
ที่จะต้องให้ราษฎรรู้จักระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
สถานศึกษาทุกระดับเป็นเป้าหมายสำคัญ ที่ยอมรับกันว่า
จะเป็นแหล่งปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
โรงเรียน ดังนั้น ในแผนการศึกษาของชาติ
จึงมุ่งปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยในโรงเรียน
ด้วยการสอดแทรกให้หลักประชาธิปไตย
อยู่ในระเบียบบริหารงานของโรงเรียนทุกแห่ง กิจกรรมบางอย่างในโรงเรียน เช่น
การเลือกตั้งผู้แทนนักเรียน
สภานักเรียนจึงเป็นการจำลองระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ในระดับประเทศมาใช้ในระดับพื้นฐานนั่นเอง |