การพัฒนาการท่องเที่ยวควรดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดีด้วย
|
หลักการสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมี
๒ ประการ คือ ประการแรก ต้องเป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และประการที่ ๒
ต้องเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
|
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
หมายถึง
การท่องเที่ยวที่มีผลต่อเนื่องไปในระยะเวลายาวนาน มีจุดเน้นที่สำคัญคือ
จะต้องดูแลทรัพยากรการท่องเที่ยว ให้ใช้ประโยชน์ได้ต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน
มิใช่เพียงเพื่อคนในรุ่นปัจจุบันเท่านั้น
และต้องให้มีการร่วมมือกันทุกระดับ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภาค
และระดับท้องถิ่น ในการวางแผนการพัฒนาและการจัดการการท่องเที่ยวร่วมกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องให้ชุมชนในท้องถิ่น
ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรการท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตนอย่างเป็นธรรมด้วย |
การท่องเที่ยวเชิงนิวศที่มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเรียนรู้วัฒนธรรมในท้องถิ่น |
ส่วนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
หมายถึง การท่องเที่ยว ที่มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป
โดยการกระตุ้น ให้นักท่องเที่ยวช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม
และตระหนัก ในคุณค่าของมรดกทางธรรมชาติ และทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น
ร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น |
จากหลักการสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
๒
ประการดังกล่าว
เชื่อว่าเป็นแนวทางที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เจริญเติบโตต่อไปได้ในอนาคต
โดยลดผลกระทบในทางลบให้เหลือน้อยลง
ปัจจุบันได้มีรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศปรากฏให้เห็นแล้วในหลายพื้นที่ของประเทศไทย
และคงจะขยายตัวมากยิ่งขึ้นในระยะเวลาต่อไป |