สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 27
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๗ / เรื่องที่ ๖ พิษภัยของแอลกอฮอล์ / พิษภัยของแอลกอฮอล์
พิษภัยของแอลกอฮอล์
ภาวะท้องบวมน้ำ
ลักษณะตับที่เป็นโรคตับแข็ง |
พิษภัยของแอลกอฮอล์
โรคตับ
ตับถือเป็นอวัยวะที่เสี่ยงต่อพิษภัยของแอลกอฮอล์อย่างมาก ระยะเวลา และปริมาณของแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป มีผลโดยตรงต่อตับ ยิ่งถ้าดื่มนานต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า ๑๐ ปี ขึ้นไป ยิ่งมีโอกาสที่ตับจะเกิดปัญหาจากแอลกอฮอล์ได้ แม้กระนั้นก็ตาม ในบางรายอาจใช้เวลาไม่ถึง ๑๐ ปี หากปริมาณที่บริโภคนั้นค่อนข้างสูง โดยทั่วไปแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดอันตรายต่อตับในผู้หญิงได้ง่าย กว่าในผู้ชาย แม้จะดื่มในปริมาณที่น้อยกว่า ก็ตาม ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยทางด้านฮอร์โมนบางชนิด โรคตับที่เกิดจากผลของแอลกอฮอล์ แบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ โรคไขมันสะสม ในตับจากแอลกอฮอล์ โรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ และโรคตับแข็ง
โรคไขมันสะสมในตับจากแอลกอฮอล์
ภาวะนี้พบได้เป็นส่วนใหญ่ในผู้ที่ดื่มจัด แต่ถ้าหยุดดื่มแล้ว จะสามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ ภาวะนี้เกิดจากความผิดปกติของการเผาผลาญ และการสร้างไขมัน อันเป็นผลมาจากแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในเซลล์ตับ ทำให้เซลล์บวม ตับโต บางครั้งอาจมีอาการกดเจ็บร่วมด้วย โดยทั่วไปภาวะนี้มักไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็น ทำให้เป็นผลเสียต่อผู้นั้น เนื่องจากไม่มีสัญญาณคอยบ่งเตือนว่า ร่างกายกำลังมีปัญหา ทั้งๆ ที่ความผิดปกติกำลังดำเนินอยู่ แต่ถ้าเกิดภาวะนี้อย่างรุนแรง ก็จะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ที่เรียกว่า ดีซ่าน ท้อง บวมน้ำ และบวมตามแขนขาร่วม | |