การใช้ประโยชน์พลังงานนิวเคลียร์ในทางการแพทย์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 27
เล่มที่ ๒๗
เรื่องที่ ๑ ลิเก
เรื่องที่ ๒ การบริหารราชการ
แผ่นดิน
เรื่องที่ ๓ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
เรื่องที่ ๔ เทคนิคการผลิต
ไม้ผลนอกฤดู
เรื่องที่ ๕ ไฮโดรพอนิกส์
เรื่องที่ ๖ พิษภัยของแอลกอฮอล์
เรื่องที่ ๗ ผู้สูงอายุ
เรื่องที่ ๘ พลังงานนิวเคลียร์
เรื่องที่ ๙ การปฏิวัติทางพันธุกรรม
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๗ / เรื่องที่ ๘ พลังงานนิวเคลียร์ / การใช้ประโยชน์พลังงานนิวเคลียร์ในทางการแพทย์

การใช้ประโยชน์พลังงานนิวเคลียร์ในทางการแพทย์
สารประกอบสำเร็จรูป เทคนีเชียม-๙๙ เอ็ม
สารประกอบสำเร็จรูป เทคนีเชียม-๙๙ เอ็ม

ภาพเอกซเรย์กระดูกด้วยเทคนีเชียม-๙๙ เอ็ม เอ็มดีพี แสดงการแพร่กระจายของมะเร็งมาที่กระดูก
ภาพเอกซเรย์กระดูกด้วยเทคนีเชียม-๙๙ เอ็ม เอ็มดีพี แสดงการแพร่กระจายของมะเร็งมาที่กระดูก


ภาพเอกซเรย์ตับด้วยเทคนีเชียม-๙๙ เอ็ม-ไนเทรต แสดงความผิดปกติของตับ คือ มีขนาดใหญ่ และมีมะเร็ง กระจายมาที่ตับหลายตำแหน่ง
การใช้ประโยชน์พลังงานนิวเคลียร์ในทางการแพทย์

การนำรังสี หรือสารกัมมันตรังสีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทาง การแพทย์นั้น เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่ได้มีการคิดค้น และปรับปรุงขึ้น เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถดำเนินการวิ นิจฉัย และรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และดียิ่งขึ้น ประโยชน์จากรังสีในทาง การแพทย์มีหลายด้าน ดังต่อไปนี้

๑. ด้านการตรวจและวินิจฉัยโรค (Diagnosis)


ก. การถ่่ายเอกซเรย์

เพื่อตรวจความผิดปกติของอวัยวะในร่างกาย เช่น ฟัน ปอด กระดูก

ข. การตรวจการทำงานของระบบอวัยวะ

โดยให้ผู้ป่วยรับประทาน หรือฉีดสารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกาย แล้วทำการถ่ายภาพอวัยวะ จะช่วยให้แพทย์ทราบถึงบริเวณที่แน่นอนของอวัยวะที่สูญเสียหน้าที่ไป สารกัมมันตรังสีที่นำมาใช้ ได้แก่
  • แกลเลียม-๖๗ (Gallium-67) ใช้ตรวจการอักเสบต่างๆ การเป็นหนอง เช่น ในช่องท้อง และใช้ตรวจหาการแพร่กระจายของมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง
  • คริปทอน-๘๑ เอ็ม (Krypton-81 m) ใช้ตรวจการทำงานของหัวใจ 
  • เทคนีเชียม-๙๙ เอ็ม (Technetium-99 m) ใช้ตรวจการทำงานระบบต่างๆ เช่น ไทรอยด์ กระดูก สมอง ปอด ตับ ม้าม ไต และหัวใจ 
  • อินเดียม-๑๑๑ (Indium-111) ใช้ติดตามเม็ดเลือดขาวเพื่อตรวจหาบริเวณอักเสบ ของร่างกาย ตรวจการอุดตันของไขสันหลัง ตรวจมะเร็งเต้านม รังไข่ และลำไส้ 
  • ไอโอดีน-๑๓๑ (Iodine-131) ใช้ตรวจการทำงานของต่อมไทรอย ด์ 
  • ทอง-๑๙๕ (Gold-195) ใช้ตรวจการไหลเวียนของโลหิต
  • แทลเลียม-๒๐๑ (Thallium-201) ใช้ตรวจสภาพหัวใจเมื่อทำงานเต็มที่ ตรวจสภาพการไหลของโลหิตเลี้ยงหัวใจ และตรวจสภาพกล้ามเนื้อหัวใจ 
๒. ด้านการบำบัดรักษาโรค (Radiotherapy)

โดยทั่วไปได้มีการใช้รังสีในการรักษาโรคมะเร็ง และเนื้องอก ดังตัวอย่างต่อไปนี้
  • ฟอสฟอรัส-๓๒ (Phosphorus-32) ใช้รักษาภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงมากเกินไป และรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด เรื้อรัง 
  • โคบอลต์-๖๐ (Cobalt-60) ใช้รักษามะเร็งในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย 
  • สทรอนเชียม-๙๐ (Strontium-90) ใช้รักษามะเร็งผิวหนัง 
  • ไอโอดีน-๑๓๑ (Iodine-131) ใช้รักษามะเร็งของต่อมไทรอย ด์ 
  • แทนทาลัม-๑๘๒ (Tantalum-182) ใช้รักษามะเร็งปากมดลูก
  • ทอง-๑๙๘ (Gold-198) ใช้รักษามะเร็งผิวหนัง และมะเร็งที่แพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง
  • การรักษามะเร็งด้วยรังสีโปรตอน ในระดับตื้นของร่างกาย เช่น ลูกตา
  • การรักษามะเร็งและเนื้องอกในส่วนลึกของร่างกาย เช่น การรักษาเนื้องอก ในสมองด้วยรังสีนิวตรอน
๓. ด้านการปลอดเชื้อผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (Radiosterilization)

การปลอดเชื้อ หมายถึง การทำให้จุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนอยู่ในผลิตภัณฑ์นั้นตาย หรือไม่สามารถขยายพันธุ์ต่อไปได้อีก โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์เข็มและกระบอกฉีดยา ที่ใช้ฉีดสารละลายเข้าเส้นเลือด และท่อพลาสติกหรือสายสวนที่เข้าไปสัมผัสเนื้อเยื่อภายในร่างกาย การใช้รังสีแกมมาจาก ไอโซโทปโคบอลต์-๖๐ หรือรังสีอิเล็กตรอนพลังงานสูง เป็นตัวกลางในกระบวนการปลอดเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีการใช้ก๊าซ หรือการอบด้วยความร้อน สามารถใช้ได้กับผลิตภัณฑ์หลายชนิด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทนความร้อน มีรูปร่างสลับ ซับซ้อน หรืออยู่ในภาชนะบรรจุขั้นสุดท้ายก่อนจำหน่ายเรียบร้อยแล้ว วิธีนี้จะช่วยป้องกันการปนเปื้อนที่เกิดจากการบรรจุหีบห่อ และมีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน
หัว ข้อก่อนหน้า หัว ข้อถัดไป