โครโมโซม - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 27
เล่มที่ ๒๗
เรื่องที่ ๑ ลิเก
เรื่องที่ ๒ การบริหารราชการ
แผ่นดิน
เรื่องที่ ๓ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
เรื่องที่ ๔ เทคนิคการผลิต
ไม้ผลนอกฤดู
เรื่องที่ ๕ ไฮโดรพอนิกส์
เรื่องที่ ๖ พิษภัยของแอลกอฮอล์
เรื่องที่ ๗ ผู้สูงอายุ
เรื่องที่ ๘ พลังงานนิวเคลียร์
เรื่องที่ ๙ การปฏิวัติทางพันธุกรรม
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๗ / เรื่องที่ ๙ การปฏิวัติทางพันธุกรรม / โครโมโซม

 โครโมโซม
ภาพขยายดีเอ็นเอในโครโมโซมที่อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์สัตว์
ภาพขยายดีเอ็นเอในโครโมโซมที่อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์สัตว์
โครโมโซม

โครโมโซมเป็นส่วนประกอบ หรือโครงสร้างของเซลล์ที่รวมหน่วยพันธุกรรมไว้เป็นกลุ่มลิงเกจ (linkage group) พันธุกรรมส่วนมากเป็นสารประกอบพวกดีเอ็นเอ แต่จะมีไวรัสบางชนิดเท่านั้น ที่มีสารพันธุกรรมเป็นพวกอาร์เอ็นเอ (RNA, ribonucleic acid) โดยทั่วไปแล้ว พวกไวรัส และพวกโพรคาริโอต (prokaryote) มีสารพันธุกรรมที่ประกอบด้วย ดีเอ็นเอล้วนๆ ในลักษณะที่เป็นเส้นยาว หรือเป็นวงแหวน แล้วแต่ชนิด (species) นั้นๆ นักวิชาการบางคนอาจเรียกโครงสร้างดีเอ็นเอ ดังกล่าวว่า เป็นโครโมโซมของไวรัส หรือของโพรคาริโอต ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสน กับโครงสร้างที่เป็นแหล่งรวมของหน่วยพันธุกรรมหรือยีน ที่เรียกว่า โครโมโซม ของพวกยูคาริโอต (eukaryote) ดังนั้น นักพันธุศาสตร์บางคนจึงเรียกโครงสร้างพันธุกรรม ที่เป็นดีเอ็นเอล้วนๆ ในไวรัสหรือ โพรคาริโอตว่า จีโนฟอร์ (genophore) ส่วนโครโมโซมนั้นใช้เรียกเฉพาะโครงสร้างที่เป็นแหล่งรวมของยีน ที่อยู่ภายในนิวเคลียสของพวกยูคาริโอติกเซลล์ (eukaryotic cell) ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว จนถึงพืชและสัตว์ชั้นสูง รวมทั้งคนด้วย ทั้งนี้เพราะโครงสร้างดังกล่าวประกอบด้วยสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ ที่พันรอบโมเลกุลของโปรตีนประเภท ฮิสโทน (histone) อย่างมีแบบแผน และขดม้วนตัวหลายชั้นให้กระชับแน่นจนมีขนาดใหญ่โต และมีรูปร่างชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแบ่งเซลล์ระยะเมทาเฟส (metaphase) ซึ่งเป็นช่วงที่โครโมโซมขดม้วนตัวแน่นที่สุด เนื่องจากดีเอ็นเอมีสมบัติย้อมติดสีพวกสีกิมซา (Giemsa stain) หรือสีออร์ซีน (Orcein stain) ได้ดี จึงทำให้เห็นโครงสร้าง ที่ขดตัวแน่นของดีเอ็นเอกับฮิสโทนที่เรียกว่า โครโมโซม (chromo = สี soma = ตัว แท่ง ท่อน) ได้ชัดเจน
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป