สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 27
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๗ / เรื่องที่ ๙ การปฏิวัติทางพันธุกรรม / มุมมองสองด้านเกี่ยวกับสายพันธุ์พืชดัดแปลงพันธุกรรม
มุมมองสองด้านเกี่ยวกับสายพันธุ์พืชดัดแปลงพันธุกรรม
 ไร่ข้าวโพดที่ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ตามวิธีการดั้งเดิม
|
มุมมองสองด้านเกี่ยวกับสายพันธุ์พืชดัดแปลงพันธุกรรม
ข้อได้เปรียบ
และเสียเปรียบ ระหว่างสายพันธุ์พืช
ที่ได้รับการปรับปรุงตามวิธีการดั้งเดิม (traditional cross breeding)
กับสายพันธุ์พืชดัดแปลงพันธุกรรม ที่ได้จากการตัดต่อยีน
โดยเทคโนโลยีชีวภาพ และพันธุวิศวกรรม ที่สำคัญคือ
พันธุ์พืชที่ได้รับการปรับปรุงตามวิธีการดั้งเดิม
มีข้อจำกัดอยู่เฉพาะในพืชชนิดเดียวกันเท่านั้น ถ้าต้องการผสมผสานพันธุกรรม
ที่ต้องการ จากพืชต่างชนิดกัน ก็ทำได้ยาก หรือเป็นไปไม่ได้เลย
เนื่องจากความแตกต่างกันทางสมบัติด้านชีวภาพ
และทางด้านการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ รวมทั้งความไม่สมพงศ์กัน
ทางด้านพันธุกรรม (genetic incompatibility) ระหว่างพืชต่างชนิดกัน
แต่ในกรณีของการสร้างสายพันธุ์พืชดัดแปลงพันธุกรรมนั้น สามารถที่จะนำยีน
ที่ต้องการจากสิ่งมีชีวิตต่างชนิด ต่างสกุล ต่างวงศ์
หรือแม้กระทั่งต่างอาณาจักรกัน ให้เข้ามาสอดแทรกอยู่ด้วยกัน
ในจีโนมพืชเป้าหมายได้ โดยอาศัยกรรมวิธีทางพันธุวิศวกรรม
เพื่อทำให้พืชดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านั้น มีความต้านทานต่อพวกแมลงศัตรูพืช
หรือดื้อต่อยาฆ่าวัชพืช ทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น อย่างมีประสิทธิภาพ
|
|