พันธุ์ปลูกทุเรียนของประเทศไทย
พันธุ์ปลูกทุเรียนของประเทศไทยจำแนกเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้
กลุ่มกบ
มีลักษณะรูปทรงใบเป็นแบบรูปไข่ขอบขนาน
(oval-oblong) ลักษณะปลายใบเป็นแบบแหลมโค้ง (acuminate-curve)
ลักษณะฐานใบเป็นแบบกลมมน (rounded-obtuse)
และลักษณะทรงผลของกลุ่มกบนี้จะกระจายอยู่ใน ๓ ลักษณะคือกลม (rounded)
กลมรี (oval) กลมแป้น (oblate) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะโค้งงอ (hooked)
รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่จำแนกให้อยู่ในกลุ่มกบ มี ๔๖ พันธุ์ ได้แก่
๑. กบแม่เฒ่า | ๒. กบเล็บเหยี่ยว |
๓. กบตาขำ | ๔. กบพิกุล |
๕. กบวัดกล้วย | ๖. กบชายน้ำ |
๗. กบสาวน้อย (กบก้านสั้น) | ๘. กบสุวรรณ |
๙. กบเจ้าคุณ | ๑๐. กบตาท้วม (กบดำ) |
๑๑. กบตาปุ่น | ๑๒. กบหน้าศาล |
๑๓. กบจำปา (กบแข้งสิงห์) | ๑๔. กบเบา |
๑๕. กบรัศมี | ๑๖. กบตาโห้ |
๑๗. กบตาแจ่ม | ๑๘. กบทองคำ |
๑๙. กบสีนาค | ๒๐. กบทองก้อน |
๒๑. กบไว | ๒๒. กบงู |
๒๓. กบตาเฒ่า | ๒๔. กบชมพู |
๒๕. กบพลเทพ | ๒๖. กบพวง |
๒๗. กบวัดเพลง | ๒๘. กบก้านเหลือง |
๒๙. กบตานวล | ๓๐. กบตามาก |
๓๑. กบทองเพ็ง | ๓๒. กบราชเนตร |
๓๓. กบแก้ว | ๓๔. กบตานุช |
๓๕. กบตามิตร | ๓๖. กลีบสมุทร |
๓๗. กบตาแม้น | ๓๘. การะเกด |
๓๙. กบซ่อนกลิ่น | ๔๐. กบตาเป็น |
๔๑. กบทองดี | ๔๒. กบธีระ |
๔๓. กบมังกร | ๔๔. กบลำเจียก |
๔๕. กบหลังวิหาร | ๔๖. กบหัวล้าน |
|
กลุ่มลวง
มีลักษณะรูปทรงใบ
ป้อมกลางใบ (elliptical) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate-acute)
ลักษณะฐานใบแหลม (acute) และมน (obtuse) ลักษณะทรงผลกระจายอยู่ใน ๒ ลักษณะ
คือ ทรงกระบอก (cylindroidal) และรูปรี (elliptic)
รูปร่างของหนามผลมีลักษณะเว้า (concave)
รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆที่จำแนกให้อยู่ ในกลุ่มลวงมี ๑๒ พันธุ์ ได้แก่
๑. ลวง | ๒. ลวงทอง |
๓. ลวงมะรุม | ๔. ชะนี |
๕. ชะนีกิ่งม้วน | ๖. ชมพูศรี |
๗. ย่ำมะหวาด | ๘. สายหยุด |
๙. ชะนีก้านยาว | ๑๐. ชะนีน้ำตาลทราย |
๑๑. มดแดง | ๑๒. สีเทา |
|
กลุ่มก้านยาว
มีลักษณะรูปทรงใบแบบป้อมปลายใบ
(obovate-lanceolate) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ลักษณะฐานใบเรียว
(caunate acute) ลักษณะทรงผลเป็นรูปไข่กลับ (obovate) และกลม (rounded)
รูปร่างของหนามผลมีลักษณะนูน (convex)
รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่จำแนกให้อยู่ในกลุ่มก้านยาวมี ๘ พันธุ์ ได้แก่
๑. ก้านยาว | ๒. ก้านยาววัดสัก (เหลืองประเสริฐ) |
๓. ก้านยาวสีนาค | ๔. ก้านยาวพวง |
๕. ก้านยาวใบด่าง | ๖. ทองสุก |
๗. ชมภูบาน | ๘. ต้นใหญ่ |
|
กลุ่มกำปั่น
มีลักษณะรูปทรงใบ
ยาวเรียว (linear-oblong) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (caudate-acuminate)
ลักษณะฐานใบแหลม (acute) ลักษณะทรงผลเป็นทรงขอบขนาน (oblong)
รูปร่างของหนามผลมีลักษณะแหลมตรง (pointed)
รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่จำแนกให้อยู่ ในกลุ่มกำปั่นมี ๑๓ พันธุ์ ได้แก่
๑. กำปั่นเดิม (กำปั่นขาว) | ๒. กำปั่นเหลือง (เจ้ากรม) |
๓. กำปั่นแดง | ๔. กำปั่นตาแพ |
๕. กำปั่นพวง | ๖. ชายมะไฟ |
๗. ปิ่นทอง | ๘. เม็ดในกำปั่น |
๙. เห-รา | ๑๐. หมอนเดิม |
๑๑. หมอนทอง | ๑๒. กำปั่นบางสีทอง |
๑๓. ลุงเกตุ | |
|
กลุ่มทองย้อย
มีลักษณะรูปทรงใบแบบป้อมปลายใบ
(obovate-lanceolate) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ลักษณะฐานใบมน
(obtuse) ลักษณะทรงผลเป็นรูปไข่ (ovate) รูปร่างของ
หนามผลมีลักษณะนูนปลายแหลม (pointed-convex)
รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่จำแนกให้อยู่ในกลุ่มทองย้อยมี ๑๔ พันธุ์ ได้แก่
๑. ทองย้อยเดิม | ๒. ทองย้อยฉัตร |
๓. ฉัตร | ๔. ฉัตรสีนาค |
๕. ฉัตรสีทอง | ๖. พวงฉัตร |
๗. ทองใหม่ | ๘. นมสวรรค์ |
๙. ทับทิม | ๑๐. ธรณีไหว |
๑๑. นกหยิบ | ๑๒. แดงรัศมี |
๑๓. อีอึ่ง | ๑๔. อีทุย |
|
กลุ่มเบ็ดเตล็ด
ทุเรียนที่จัดอยู่ใน
กลุ่มนี้มีลักษณะไม่แน่ชัด บางลักษณะอาจเหมือนกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใน ๕
กลุ่มแรก ขณะเดียวกันก็มีลักษณะที่ผันแปรออกไป เช่น ลักษณะรูปทรงใบ
จะมีลักษณะป้อมกลางใบ (elliptical) หรือรูปไข่ขอบขนาน (oval-oblong)
ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate-acute หรือ cuspidate-acuminate)
ลักษณะฐานใบแหลม (acute) หรือมน (obtuse) ลักษณะทรงผลกระจายกันอยู่ใน ๓
ลักษณะ คือ กลมแป้น (oblate) กลมรี (oval) และทรงกระบอก (cylindroidal)
รูปร่างของหนามผลมีลักษณะเว้าปลายแหลม (pointed-concave) หรือนูนปลายแหลม
(pointed-convex)
 รายชื่อทุเรียนพันธุ์ต่างๆที่จำแนกให้อยู่ในกลุ่มเบ็ดเตล็ดมี ๘๑ พันธุ์ ได้แก่
๑. กะเทยเนื้อขาว | ๒. กะเทยเนื้อแดง |
๓. กะเทยเนื้อเหลือง | ๔. กระดุมทอง |
๕. กระดุมสีนาค | ๖. กระโปรงทอง |
๗. กระปุกทอง (กระปุกทองดี) | ๘. ก้อนทอง |
๙. เขียวตำลึง | ๑๐. ขุนทอง |
๑๑. จอกลอย | ๑๒. ชายมังคุด |
๑๓. แดงช่างเขียน | ๑๔. แดงตาน้อย |
๑๕. แดงตาเผื่อน | ๑๖. แดงสาวน้อย |
๑๗. ดาวกระจาย | ๑๘. ตะพาบน้ำ |
๑๙. ตะโก (ทองแดง) | ๒๐. ตุ้มทอง |
๒๑. ทศพิณ | ๒๒. ทองคำตาพรวด |
๒๓. ทองม้วน | ๒๔. ทองคำ |
๒๕. นกกระจิบ | ๒๖. บาตรทองคำ (อีบาตร) |
๒๗. บางขุนนนท์ | ๒๘. เป็ดถบ |
๒๙. ฝอยทอง | ๓๐. พวงมาลัย |
๓๑. พวงมณี | ๓๒. เม็ดในยายปราง |
๓๓. เม็ดในบางขุนนนท์ | ๓๔. ยินดี |
๓๕. ลำเจียก | ๓๖. สีทอง |
๓๗. สีไพร | ๓๘. สาวชมเห็ด |
๓๙. สาวชมฟักทอง (ฟักทอง) | ๔๐. หางสิงห์ |
๔๑. เหรียญทอง | ๔๒. ไอ้เข้ |
๔๓. อินทรชิต | ๔๔. อีล่า |
๔๕. อีลีบ | ๔๖. อียักษ์ |
๔๗. อีหนัก | ๔๘. ตอสามเส้า |
๔๙. ทอง นพคุณ | ๕๐. ทองหยอด |
๕๑. ทองหยิบ | ๕๒. นมสด |
๕๓. เนื้อหนา | ๕๔.โบราณ |
๕๕. ฟักข้าว | ๕๖. พื้นเมืองเกาะช้าง |
๕๗. มะนาว | ๕๘. เม็ดในกระดุม |
๕๙. เม็ดในก้านยาว | ๖๐. เม็ดในลวง |
๖๑. เมล็ดพงษ์พันธุ์ | ๖๒. เมล็ดเผียน |
๖๓. เมล็ดลับแล | ๖๔. เมล็ดสม |
๖๕. เมล็ดอารีย์ | ๖๖. ย่ามแม่วาด |
๖๗. ลวงเพาะเมล็ด | ๖๘. ลุงไหล |
๖๙. ลูกหนัก | ๗๐. สาเก |
๗๑. สาวใหญ่ | ๗๒. หมอนข้าง |
๗๓. หมอนละอองฟ้า | ๗๔. หลงลับแล |
๗๕. ห้าลูกไม่ถึงผัว | ๗๖. เหมราช |
๗๗. เหลืองทอง | ๗๘. อีงอน |
๗๙. ไอ้เม่น | ๘๐. ไอ้ใหม่ |
๘๑. กะเทยขั้วสั้น | |
|