สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 28
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒๘ / เรื่องที่ ๕ เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร / การสร้างเอกลักษณ์ทางพันธุกรรม และการเก็บรักษาพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์
การสร้างเอกลักษณ์ทางพันธุกรรม และการเก็บรักษาพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์
การ
สร้างเอกลักษณ์ทางพันธุกรรม และการเก็บรักษาพันธุ์พืช
และพันธุ์สัตว์
ใน
อดีต การคัดเลือก หรือการปรับปรุงพันธุ์พืช
และพันธุ์สัตว์เพื่อนำมาใช้ในการผลิตผลผลิตทางการเกษตร ที่มีคุณภาพดี
ใช้วิธีการสังเกตดูลักษณะต่างๆ
ที่แสดงออกมาภายนอกของพืชและสัตว์เหล่านั้นและนำลักษณะที่ได้มา
ใช้เป็นลักษณะประจำพันธุ์ ในการจำแนกพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
เพื่อนำมาใช้เพาะปลูกหรือเพาะเลี้ยง
และการนำมาใช้ในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์
แต่ลักษณะภายนอกที่ปรากฏเป็นผลมาจากการแสดงออกของยีนภายใน
และยังเกิดจากผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่พืชและสัตว์เจริญเติบโตในช่วงเวลานั้น
ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันลักษณะที่แสดงออกของพืชหรือสัตว์ที่เป็น
พันธุ์เดียวกันนั้นอาจแตกต่างกันได้ ในขณะเดียวกัน
พืชหรือสัตว์ที่คิดว่าเป็นพันธุ์เดียวกันจากการดูลักษณะภายนอกก็อาจเป็นผลมาจากสภาพ
แวดล้อมทั้งๆที่ไม่ได้เป็นพันธุ์เดียวกัน ดังนั้น การใช้
ลักษณะภายนอกที่ปรากฏจึงไม่เพียงพอต่อการนำมาใช้จำแนกหรือระบุสายพันธุ์ของสิ่งมี
ชีวิตให้ถูกต้องแม่นยำได้ |
การตรวจสอบการปลอม ปนของข้าวสาร ๒ ชนิดที่มีอัตราของการปลอมปน
แตกต่างกัน
|
จึงได้มีการนำเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดต่างๆ
มาใช้ เพื่อหาความแตกต่างในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
โดยใช้ความแตกต่างของรหัสทางพันธุกรรม
ที่มีความจำเพาะในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ผลที่ได้จากการนำเครื่องหมาย
ดีเอ็นเอมาใช้คือ ทำให้สามารถเห็นความแตกต่างของแถบดีเอ็นเอ
ที่มีปริมาณ และการวางตัวที่แตกต่างกัน ในสิ่งมีชีวิตที่ต่างชนิด
และต่างพันธุ์กัน รวมทั้งเห็นความแตกต่างของตำแหน่งเข้าเกาะ
ระหว่างเครื่องหมายดีเอ็นเอกับสายดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต
ที่ทำการตรวจสอบ นอกจากนี้ยังเห็นข้อมูลของรูปแบบลักษณะแถบดีเอ็นเอ
ที่มีความจำเพาะในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
ที่จะนำมาใช้เป็นเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
ในด้านการเกษตร ได้มีการนำเอาเครื่องหมายดีเอ็นเอมาใช้
ในการระบุลักษณะของเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมของพืชและสัตว์หลากหลายชนิด
เพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลสำคัญประจำพันธุ์ สำหรับใช้เป็นข้อมูล
ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ต่างๆ รวมถึงการนำมา
เพื่อจดทะเบียนพันธุ์ในพืชและสัตว์
โดยนำเอาข้อมูลในระดับดีเอ็นเอมาใช้ร่วมกับการตรวจสอบลักษณะ
ที่ปรากฏภายนอก
ในปัจจุบันได้ทำเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมในพืชและสัตว์หลายชนิด เช่น ข้าว
ข้าวโพด ถั่วเหลือง ไม้ยืนต้น โค กระบือ สุกร และในสัตว์น้ำ
เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ ในงานด้านต่างๆ
|

การนำเอาเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมมาใช้ในการตรวจสอบสายพันธุ์ปลาทูน่า
จากผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าแปรรูป |
การเก็บรักษาพันธุ์หรือสายพันธุ์พืชและ
สัตว์ให้คงลักษณะเดิม มีความสำคัญต่อการนำมาใช้เพาะปลูก
หรือเพาะเลี้ยงในฤดูกาลต่อไป หรือเก็บไว้ใช้ในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์
เพื่อให้ได้พืชหรือสัตว์ ที่มีคุณลักษณะที่ดียิ่งขึ้น
การเก็บรักษาพันธุ์หรือเชื้อพันธุ์
ตามปกติมักมีปัญหาการคงความมีชีวิตที่ลดลง
และใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมาก
จึงได้นำวิธีการเก็บรักษาพันธุ์พืชและสัตว์ในหลอดทดลอง
ในสภาวะเยือกแข็งมาใช้
เพื่อลดข้อจำกัดของวิธีการเก็บรักษาพันธุ์แบบเดิม
ทำให้สามารถคงความมีชีวิตนาน และเก็บรักษาได้ ในหลายชนิดของเนื้อเยื่อ
ไม่ว่าจะเป็นเมล็ด ยอด ราก แคลลัส หรือแม้แต่เซลล์สืบพันธุ์
และเซลล์ของไข่ที่ได้รับการผสมแล้วในสัตว์
จึงทำให้เก็บรักษาพันธุ์ของพืชและสัตว์ไว้ได้เป็นเวลานาน
เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านการเกษตรต่อไปในอนาคต
|
|