ชนิดของข้าว - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 3
เล่มที่ ๓
เรื่องที่ ๑ ข้าว
เรื่องที่ ๒ ข้าวโพด
เรื่องที่ ๓ ฝ้าย
เรื่องที่ ๔ ยางพารา
เรื่องที่ ๕ ทรัพยากรป่าไม้
เรื่องที่ ๖ ผลิตผลป่าไม้
เรื่องที่ ๗ การทำไม้
เรื่องที่ ๘ วัชพืช
เรื่องที่ ๙ วัวควาย
เรื่องที่ ๑๐ ช้าง
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓ / เรื่องที่ ๑ ข้าว / ชนิดของข้าว

 ชนิดของข้าว
ชนิดของข้าว

ข้าวที่ปลูกเพื่อบริโภค สามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ใช้เป็นมาตรการสำหรับการแบ่งแยกข้าว

แบ่งตามสภาพพื้นที่ปลูกเป็นข้าวไร่ ข้าวนาสวน และข้าวนาเมืองหรือข้าวขึ้นน้ำ ข้าวไร่ หมายถึง ข้าวที่ ปลูกบนที่ดอน ไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ข้าวนาสวน หมายถึง ข้าวที่ปลูกแบบปักดำหรือหว่าน และระดับน้ำ ในนาลึกไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร ข้าวนาเมืองหรือข้าว ขึ้นน้ำหมายถึง ข้าวที่ปลูกแบบหว่าน และระดับน้ำใน นาลึกมากกว่า ๘๐ เซนติเมตรขึ้นไป

แบ่งตามชนิดของแป้งในเมล็ดที่บริโภคเป็นข้าวเจ้า และข้าวเหนียว ข้าวเจ้าและข้าวเหนียวมีต้นและลักษณะ อย่างอื่นเหมือนกันทุกอย่าง แต่ต่างกันที่เมล็ดข้าวเจ้า ประกอบด้วยแป้งอะมิโลส (amylose) ประมาณ ๑๕- ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ส่วนเมล็ดข้าวเหนียวประกอบด้วยแป้ง อะมิโลเพกทิน (amylopectin) เป็นส่วนใหญ่ และมี อะมิโลสเป็นส่วนน้อย เมล็ดข้าวเหนียวมีแป้งอะมิโลส ประมาณ ๕-๗ เปอร์เซ็นต์ แป้งอะมิโลเพกทินทำให้เมล็ด ข้าวมีความเหนียว เมื่อหุงต้มสุกแล้ว

ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย ยกเว้นในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัด แม่ฮ่องสอน ประชาชนนิยมบริโภคข้าวเหนียวมากกว่า ข้าวเจ้า ซึ่งตรงกันข้ามกับประชาชนในภาคกลาง (ยก เว้นในอำเภอ บ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ที่นิยมบริโภค ข้าวเหนียว) และภาคใต้ ซึ่งชอบบริโภคข้าวเจ้ามากกว่า ข้าวเหนียว โดยเหตุนี้ ในภาคเหนือและภาคตะวันออก เฉียงเหนือจึงมีการปลูกข้าวเหนียวมากกว่าภาคกลาง และภาคใต้ เนื้อที่ปลูกข้าวชนิดต่าง ๆ โดยประมาณ ได้แสดงไว้ในตารางที่ ๑

ตารางที่ ๑ เนื้อที่โดยประมาณของการปลูกข้าวชนิดต่างๆ ในประเทศไทย ปี พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๖
ภาค เนื้อที่เพาะปลูกข้าว (ไร่)
ข้าวไร่ ข้าวนาสวน ข้าวนาเมือง รวม ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว รวม
เหนือ
กลาง
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ใต้
๗๑๔,๐๗๓
๖๕,๘๙๗
๕๕๑,๘๗๖
๒๕๗,๕๑๓
๑๓,๕๔๙,๒๕๓
๑๓,๑๘๗,๒๘๔
๒๖,๕๓๘,๐๓๘
๔,๔๒๒,๔๓๒
๑,๒๘๔,๙๕๕
๓,๘๕๔,๓๗๖
๘๐,๙๒๖
-
๑๕,๕๔๘,๒๘๑
๑๗,๑๐๗,๕๕๗
๒๗,๑๗๐,๘๔๐
๔,๖๗๙,๙๔๕
๑๐,๖๘๗,๖๒๓
๑๓,๐๗๔,๐๖๗
๑๓,๔๙๐,๓๒๐
๔,๖๑๒,๑๙๔
๔,๘๖๐,๖๕๘
๔,๐๓๓,๔๙๐
๑๓,๖๘๐,๕๒๐
๖๗,๗๕๑
๑๕,๕๔๘,๒๘๑
๑๗,๑๐๗,๕๕๗
๒๗,๑๗๐,๘๔๐
๔,๖๗๙,๙๔๕
รวบรวมมาจากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายเขียน กองจันทึก สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการ    เกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป