สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 3
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓ / เรื่องที่ ๓ ฝ้าย / พฤกษศาสตร์ของฝ้าย
พฤกษศาสตร์ของฝ้าย
พฤกษศาสตร์ของฝ้าย
ฝ้ายเป็นพืชใบเลี้ยงคู่
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ
๒-๕ ฟุต หรือมากกว่านี้ มีลำต้นจริง
และแตกกิ่งเวียนรอบต้น
ใบฝ้ายเกิดที่ข้อข้องลำต้น
และกิ่ง ใบมีก้านยาว
ตัวใบมีขนาดเท่าฝ่ามือ
กางออกเป็นแฉกมี ๓,๕ หรือ ๗
แฉก ส่วนมากที่ใต้ใบ ก้านใบ
และลำต้นมักมีขนสั้นปกคลุมบางๆ
ดอกฝ้ายจะเกิด ที่ข้อเหนือโคนใบ
เมื่อยังอ่อนอยู่จะมีกลีบรองเป็นแฉกๆ
และลึก รูปร่างสามเหลี่ยม
คล้ายใบหุ้มดอกจำนวน ๓ ใบ
ประกบกันเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียกว่า
"ปี้"
(bud or square)
เมื่อดอกบานจะมีสีขาวนวลถึงสีเหลือง
กว้างประมาณ ๓ นิ้ว มีทั้งหมด ๕ กลีบ
เรียงซ้อนกัน ตอนบ่ายกลีบดอกจะกลายเป็นสีชมพูจนถึงแดงและค่อยๆ
หุบ ดอกฝ้ายจะมีก้านกระเปาะละอองเกสรตัวผู้ติดคลุมรอบๆ
รังไข่ ของดอกฝ้ายมี ๓-๔
ห้อง หรือ ๔-๕ ห้องแล้วแต่ชนิด
(species)
ฝ้ายจัดว่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
ถ้าอยู่ในเขตร้อนจะมีอายุได้
๒-๓ ปี แต่ในทางเกษตรจัดอยู่ในประเภทพืชล้มลุก
เพราะผลิตผลฝ้ายในปีที่
๒ หรือ ปีที่ ๓ ได้น้อยต้องปลูกใหม่ทุกปี
ฝ้ายเป็นพืชที่ปรับตัวเข้ากับดินฟ้าอากาศได้ดีมาก
สามารถทนความหนาวเย็นได้
แต่อุณหภูมิที่เหมาะกับฝ้ายต้องไม่ต่ำกว่า
๑๘ องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า
๑๖ องศาเซลเซียส และในเขตที่มีฝนตกกระจายดี
มีแสงแดด อุณหภูมิเฉลี่ย ๑๐ องศาเซลเซียส
ก็ยังใช้ได้ สำหรับจำนวนน้ำฝนนั้นฝ้ายจะขึ้นได้ดีตั้งแต่
๒๐-๓๕ นิ้ว เพียงแต่ให้การตกของฝนกระจายให้ดี
และน้ำไม่ขังแฉะ ใน | |