หนอนสะไปนีหรือหนอนหนาม (Family
Noctuidae Order Lepidoptera)
ถิ่นแพร่ระบาด
อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะของแมลง
ไข่
มีลักษณะกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๐.๕ มิลลิเมตร
สีเขียวอมน้ำเงินเมื่อยังใหม่มีสันตามยาวประมาณ ๓๐ สัน
ซึ่งทำให้เกิดเป็นรูปมงกุฎขึ้นที่ตรงส่วนบนของไข่
หนอน
หนอนโตเต็มที่จะยาวประมาณ ๑๕-๑๘ มิลลิเมตร ตัวป้อม
มีขนแข็งยาวทุกปล้อง พื้นสีน้ำตาลอ่อนปนด้วยสีเทา และสีเขียว
ส่วนหลังสีขาวซีด โดยมีจุดดำที่ฐานของขน |

หนอนสะไปนีกำลังเจาะสมอฝ้าย |
ดักแด้
มีสีน้ำตาล ยาวประมาณ ๑๓ มิลลิเมตร ห่อหุ้มด้วยรัง
(cocoon)
เป็นรูปเรือคว่ำ สีน้ำตาลซีด หรือสีนวล
ตัวแก่
เวลาเกาะ ปีกจะพับชนกันเป็นรูปหลังคา ตัวยาว ๑๒
มิลลิเมตรปีกเมื่อกางยาว ๒๐-๒๒ มิลลิเมตร ปีกหลังสีขาวนวล
ปีกหน้ามีแถบสีเขียวพาดเป็นแผ่นตลอดกลางปีก
ชีวประวัติและนิสัย
ผีเสื้อวางไข่ทีละฟองเกือบทุกส่วนของต้นฝ้าย
หนอนมีลักษณะพิเศษ ผิดกับหนอนเจาะสมออื่นๆ คือ เจาะลำต้น
หนอนเจาะเข้าไปทางส่วนยอดเป็นทางลึกลงไป กัดกินเฉพาะเนื้ออ่อน
ทำให้ยอดฝ้ายเหี่ยวหักพับไป |

สภาพภายในของสมอฝ้าย
ที่ถูกหนอนสะไปนีทำลาย |
ในการกินดอกสมอ
หนอนเจาะเป็นทางเข้าไปข้างใน แล้วอุดรูไว้ด้วยมูล ถ้าสมอโต
หนอนมันจะเจาะกินตรงใกล้ขั้วสมอ หนอนไม่กินอยู่เพียงเฉพาะที่เดียว
แต่จะกัดกินสมอข้างเคียงเรื่อยๆ ไป จนกระทั่งเข้าดักแด้ |
หนอนมี ๕ ระยะ ลอกคราบภายในอุโมงค์ เมื่อจะเข้าดักแด้
หนอนจะสร้างรังตามส่วนต่างๆ ของต้นฝ้าย มักพบตามข้างสมอ ใบเลี้ยง ใบแห้ง
ตอนกลางวันตัวแก่หลบซ่อนในที่มืด ออกหากินในเวลากลางคืน อาหารของผีเสื้อ
คือ น้ำหวานชนิดต่างๆ
ชีพจักร
ผีเสื้อตัวหนึ่งวางไข่ได้ ๔๐-๒๙๘ ฟอง (เฉลี่ย ๑๑๕ ฟอง)
ระยะไข่ ๓ วัน
ระยะหนอน ๙ วัน ลอกคราบ ๔ ครั้ง
ระยะเป็นดักแด ๑๑ วัน
ตัวแก่ ๗-๑๔ วัน
รวมอายุขัย ๒๐-๒๙ วัน
พืชอาศัย
กระเจี๊ยบ ครอบจักรวาล ปอแก้ว กระเจี๊ยบผี
ศัตรูธรรมชาติ
มีแตนเล็กๆ (ichnuemonid wasp) ชนิดหนึ่งที่พบในเมืองไทย
ลักษณะการทำลายและความเสียหาย
ในขณะที่ฝ้ายยังเล็กอยู่ คือ
ยังไม่มีดอก และสมอหนอนจะเจาะยอดทำให้ยอดฝ้ายเหี่ยวแห้งตาย
เป็นสาเหตุให้ฝ้ายไม่เจริญขึ้นทางยอด แต่จะแตกกิ่งก้านสาขาออกข้างๆ
ทำให้ต้นฝ้ายทึบ เสียรูปทรง ผลที่ตามมา คือ เข้าปฏิบัติงานได้ยาก
พ่นยาลำบาก และไม่ทั่วถึง และเมื่อฝ้ายติดสมอมากเป็นเหตุให้กิ่งหัก |