หนอนม้วนใบ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 3
เล่มที่ ๓
เรื่องที่ ๑ ข้าว
เรื่องที่ ๒ ข้าวโพด
เรื่องที่ ๓ ฝ้าย
เรื่องที่ ๔ ยางพารา
เรื่องที่ ๕ ทรัพยากรป่าไม้
เรื่องที่ ๖ ผลิตผลป่าไม้
เรื่องที่ ๗ การทำไม้
เรื่องที่ ๘ วัชพืช
เรื่องที่ ๙ วัวควาย
เรื่องที่ ๑๐ ช้าง
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓ / เรื่องที่ ๓ ฝ้าย / หนอนม้วนใบ

 หนอนม้วนใบ
หนอนม้วนใบ (Leaf roller, Family Pyralidae Order Lepidoptera)

ถิ่นแพร่ระบาด

เอเชีย แอฟริกา  

ลักษณะของแมลง

ไข่ มีลักษณะแบน ผิวเรียบ รี สีเขียวอมเหลือง

หนอน ตัวยาว ๒๒-๒๔ มิลลิเมตร สีขาวอมเขียว ค่อนข้างใส หัวสีน้ำตาล มีแผ่นกลมสีดำที่ต้นคอ

ดักแด้ มีสีน้ำตาล ยาว ๑๐-๑๔ มิลิเมตร มีขน เป็นหนามแหลม ๘ อันทางท้าย และมีตะขอด้วย

ผีเสื้อ มีสีพื้นเป็นสีนวล หัวและอก (thorax) มีจุดดำ ส่วนท้อง (abdomen) มีวงแหวนสีน้ำตาล ปีกมีริ้วเป็นลูกคลื่นสีน้ำตาลหรือดำ

ชีวประวัติ

ไข่วางเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มทุกด้านของใบ หนอนออกใหม่ๆ เที่ยวตระเวนเล็กน้อย แล้วจึงรวมกันเข้าไปซ่อนอยู่ในวงม้วนของใบฝ้าย ที่ถูกทำขึ้นด้วยเส้นใยยึดไว้แน่นหนา เมื่อหนอนโตขึ้น แต่ละตัวจะแยกย้ายกันไปสร้างวงม้วนของตนเอง ดักแด้จะเข้าในวงม้วน หรือบนเศษใบไม้แห้งบนดิน อายุจากไข่ถึงตัวแก่ประมาณ ๓-๗ สัปดาห์
หนอนม้วนใบ
หนอนม้วนใบ
พืชอาศัย

ส่วนใหญ่กินเฉพาะพวกฝ้ายและกระเจี๊ยบ

ศัตรูธรรมชาติ

มีแมลงตัวเบียนหลายชนิดเป็นแตนขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในวงศ์ต่างๆ (Family Braconidae, Elasmidae, Eurytomidae, Ichneumonidae) แมลงวันบางชนิด (Tachinidae) ทำลายหนอนขนาดต่างๆ กัน
การทำลายและความเสียหาย

หนอนม้วนใบชอบไร่ฝ้ายที่อยู่ในร่ม และวัชพืชรกหนาแน่น ระบาดมากในกลางฤดู เมื่อฝ้ายโตเต็มที่ และใบฝ้ายยังอ่อน ถ้าเกิดระบาดมากใบฝ้ายอาจถูกทำลายหมด ทำให้กระทบกระเทือนถึงการเจริญของดอกและสมอได้ ดอกอาจร่วง สมอไม่แก่สมบูรณ์เต็มที่
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป