หนอนคืบ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 3
เล่มที่ ๓
เรื่องที่ ๑ ข้าว
เรื่องที่ ๒ ข้าวโพด
เรื่องที่ ๓ ฝ้าย
เรื่องที่ ๔ ยางพารา
เรื่องที่ ๕ ทรัพยากรป่าไม้
เรื่องที่ ๖ ผลิตผลป่าไม้
เรื่องที่ ๗ การทำไม้
เรื่องที่ ๘ วัชพืช
เรื่องที่ ๙ วัวควาย
เรื่องที่ ๑๐ ช้าง
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓ / เรื่องที่ ๓ ฝ้าย / หนอนคืบ

 หนอนคืบ
หนอนคืบ (Semilooper, Family Noctuidae Order Lepidoptera)

ถิ่นแพร่ระบาด

แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย

ลักษณะของแมลง

ผีเสื้อรูปยาวรี ริมปีกคู่หน้ามีรอยเว้า สีค่อนข้าง สดใส โดยมีสีน้ำตาลทองเป็นพื้น แล้วมีริ้วเป็นลูกคลื่นสีน้ำตาลแก่ตัดตามขวาง

ไข่วางเดี่ยวๆ บนใบ ขาคู่แรกตอนปลายลำตัวหายไป หนอนจึงงอลำตัวส่วนกลาง เพื่อเคลื่อนไหว หัว ลำตัว และขาสีเขียวอมเหลืองซีด หนอนโตเต็มที่ ยาวประมาณ ๓๐ มิลลิเมตร

การเข้าดักแด้ หนอนสร้างรังล้อมระหว่างใบฝ้าย ที่ถูกพับหรือระหว่างสมอกับใบเลี้ยง หรือในเศษขยะ บนพื้นดิน
หนอนคืบ
หนอนคืบ
ชีพจักร
ระยะไข่๓-๔ วัน
ระยะหนอน๙-๑๑ วัน
ระยะก่อนเข้าดักแด้๑-๒ วัน
ระยะดักแด้๘-๙ วัน
ผีเสื้ออายุ๑๘-๓๐ วัน
รวมอายุขัย๓๙-๕๖ วัน
ผีเสื้อตัวเมียตัวหนึ่งวางไข่ได้๑๒-๒๔ ครั้ง
จำนวน๒๔๗-๖๐๗ ฟอง

พืชอาศัย

พืชจำพวกฝ้าย กระเจี๊ยบ ครอบจักรวาล

ศัตรูธรรมชาติ

ตัวเบียน ได้ตรวจพบมีแมลงวันลาย (Tachinid fly, Sturmia sp.) แตนชาลซิด (Chalicid wasp, Brachy- meria sp.) แตนอิกนิวโมนิด (Ichneumonid wasp, Xanthopiimpla punctator) แตนแบรคอนิด (Braconid wasp, Apanteles sp.)
ลักษณะการทำลายและความเสียหาย

หนอนทุกขนาดกัดกินใบฝ้าย ระบาดในระยะฝ้าย อายุประมาณ ๘๐ วัน กัดกินใบฝ้าย จนเป็นรูพรุน เห็นได้ชัดในไร่ ความเสียหายไม่ค่อยรุนแรงนัก นอกจากระบาดมากจริงๆ จนกินใบฝ้ายหมดทั้งต้น ก็จะเป็นเหตุให้พืชขาดอาหาร ในการที่จะส่งไปบำรุงดอก และสมอเช่นเดียวกับหนอนม้วนใบ  
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป