หนอนกระทู้กินใบ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 3
เล่มที่ ๓
เรื่องที่ ๑ ข้าว
เรื่องที่ ๒ ข้าวโพด
เรื่องที่ ๓ ฝ้าย
เรื่องที่ ๔ ยางพารา
เรื่องที่ ๕ ทรัพยากรป่าไม้
เรื่องที่ ๖ ผลิตผลป่าไม้
เรื่องที่ ๗ การทำไม้
เรื่องที่ ๘ วัชพืช
เรื่องที่ ๙ วัวควาย
เรื่องที่ ๑๐ ช้าง
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓ / เรื่องที่ ๓ ฝ้าย / หนอนกระทู้กินใบ

 หนอนกระทู้กินใบ
หนอนกระทู้กินใบ (Cut worm, Family Noctuidae Order Lepidoptera)

ถิ่นแพร่ระบาด

แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย

ลักษณะของแมลง

ไข่กลม มีริ้วตามยาวประมาณ ๔๐ ริ้ว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๐.๔ มิลลิเมตร สีเขียวใส แล้วเปลี่ยนเป็นสีดำ ไข่วางเป็นกลุ่ม จำนวนหลายร้อยฟองบนใบฝ้าย ปกปิดด้วยขน หนอนครั้งแรกจะมีสีเขียว หัวดำ หนอนโตขึ้นมีสีน้ำตาล น้ำตาลเทาหรือดำ ตัวเต็ม วัยยาวถึง ๕๐ มิลลิเมตร ดักแด้สีน้ำตาล เข้าดักแด้ใต้ผิวดินเล็กน้อย ผีเสื้อกางปีกกว้าง ๓๐-๓๕ มิลลิเมตร ปีกหน้าสีน้ำตาล พร้อมด้วยเส้นสีขาวพาดไปตามเส้นของปีก ปีกหลังสีขาวใส
หนอนกระทู้กินใบ
หนอนกระทู้กินใบ
ชีวประวัติ

หนอนกระทู้ชนิดนี้ กินพืชอาหารมากมายหลายชนิด จึงทำให้มันสามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดปี ประมาณ ๗ ชั่ว/ปี ตัวเมียตัวหนึ่งวางไข่ได้ ๒๕๐-๓๕๐ ฟอง
ลักษณะการทำลายและความเสียหาย

ลักษณะที่เห็นได้ชัดเมื้อหนอนออกจากไข่ จะจับกลุ่มกันแทะใบฝ้ายในบริเวณที่วางไข่ ทำให้ผิวใบฝ้ายแห้งโปร่งแสง เมื่อหนอนโตขึ้นจะกระจัดกระจายไปกัดกินใบฝ้ายต่อไป หนอนนี้ยังกัดกินผิวเปลือกสมอฝ้าย และเจาะกินเนื้อในด้วย รอยแผลที่สมอถูกเจาะเป็นแผล ผิดกับแผลที่เกิดจากหนอนจำพวกเจาะสมอ คือ เป็นแผลเหวอะหวะ ความเสียหายเกิดจากหนอนชนิดนี้น้อย
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป