ความหมาย ที่มาของรูปแบบ คติการสร้าง และความสำคัญของปราสาทขอม - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู ๓๐
เล่มที่ ๓๐
เรื่องที่ ๑ ศิลปะการเห่เรือ
เรื่องที่ ๒ หอพระไตรปิฎก
เรื่องที่ ๓ ปราสาทขอมในประเทศไทย
เรื่องที่ ๔ กฎหมายตราสามดวง
เรื่องที่ ๕ ไม้ดอกไม้ประดับ
เรื่องที่ ๖ กล้วย
เรื่องที่ ๗ ปลากัด
เรื่องที่ ๘ คลื่นสินามิ
เรื่องที่ ๙ วัสดุการแพทย์
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓๐ / เรื่องที่ ๓ ปราสาทขอมในประเทศไทย / ความหมาย ที่มาของรูปแบบ คติการสร้าง และความสำคัญของปราสาทขอม

ความหมาย ที่มาของรูปแบบ คติการสร้าง และความสำคัญของปราสาทขอม
ความหมาย ที่มาของรูปแบบ คติการสร้าง และความสำคัญของปราสาทขอม

ความหมาย

คำว่า “ปราสาท” (Prasada) มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง อาคารที่มีส่วนกลางเป็นห้องเรียกว่า “ห้อง ครรภคฤหะ” หรือ “เรือน ธาตุ”  และมีหลังคาเป็นชั้นซ้อนกันหลายชั้นเรียกว่า “เรือนชั้น” หลังคาแต่ละชั้นนั้น เป็นการย่อส่วนของปราสาทโดยนำมาซ้อนกันในรูปของสัญลักษณ์ แทนความหมายของเรือนฐานันดรสูง อันเป็นที่สถิตของเหล่าเทพเทวดา ดังนั้น ปราสาทจึงหมายถึงอาคารที่เป็นศาสนสถาน เพื่อประดิษฐานรูปเคารพ และการทำพิธีกรรมทางศาสนา ไม่ใช่พระราชมณเฑียร อันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ด้วยเหตุนี้จึงมีความแตกต่างในเรื่องของวัสดุ กล่าวคือ ปราสาทที่เป็นศาสนสถานนั้น สร้างด้วยวัสดุที่มั่นคงแข็งแรงประเภทอิฐหรือหิน ส่วนพระราชมณเฑียร ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ สร้างด้วยไม้ทั้งสิ้น
การสร้างปราสาทเปรียบเสมือนการจำลองเขาพระสุเมรุอันเป็นแกนกลางของจักรวาลมายังโลกมนุษย์ เพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า และเพื่อประดิษฐานรูปเคารพไว้ภายใน ในภาพ คือ ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา (พุทธศตวรรษที่ ๑๗)
การสร้างปราสาทเปรียบเสมือนการจำลอง เขาพระสุเมรุอันเป็นแกนกลางของจักรวาลมายังโลกมนุษย์ เพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า และเพื่อประดิษฐานรูปเคารพไว้ภายใน ในภาพ คือปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา (พุทธศตวรรษที่ ๑๗)
“ปราสาท ขอม” หมายถึง อาคารทรงปราสาทที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมขอม หรือเขมรโบราณ เพื่อใช้เป็นศาสนสถานในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทั้งในศาสนาฮินดู และพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ส่วนคำว่า “ปราสาท ขอมในประเทศไทย” นั้น หมายถึง อาคารทรงปราสาทในวัฒนธรรมขอม ที่พบในดินแดนไทยในปัจจุบัน ซึ่งดินแดนเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอม รวมทั้งบางส่วนได้มีการรับอิทธิพลทางศาสนา และงานศิลปกรรมขอมมาสร้าง โดยคนในท้องถิ่น แต่เดิมมักเรียกงานศิลปะของวัฒนธรรมขอมในประเทศไทยว่า “ศิลปะ ลพบุรี” เนื่องจากเชื่อว่า เมืองลพบุรี เคยเป็นเมืองศูนย์กลางของขอมในประเทศไทย ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ และมีลักษณะของงานศิลปกรรมบางอย่าง ที่แตกต่างจากศิลปะขอม แต่ในปัจจุบันนิยมเรียกว่า “ศิลปะ ขอมที่พบในประเทศไทย” เพราะเป็นคำรวมที่ครอบคลุมพื้นที่และระยะเวลามากกว่า กล่าวคือ  พื้นที่ของประเทศไทย ที่รับวัฒนธรรมขอมอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๘
สระน้ำล้อมรอบศาสนสถาน ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ (พุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗)
สระน้ำล้อมรอบศาสนสถาน ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ (พุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗)
ที่ มาของ รูปแบบ

อาคารทรงปราสาทที่ใช้เป็นศาสนสถานในวัฒนธรรมขอมนั้น มีที่มาจากอินเดีย กล่าวคือ ชาวอินเดียได้สร้างปราสาทขึ้น เพื่อประดิษฐานรูปเคารพทางศาสนา เรียกว่า เทวาลัย โดยสร้างเป็นอาคารที่มีหลังคาซ้อนชั้นขึ้นไปหลายชั้น แต่ละชั้นมีการ ประดับอาคารจำลอง สามารถแยกออกเป็น ๒ สายวัฒนธรรม ได้แก่ อินเดียภาคเหนือ เรียกว่า “ทรง ศิขร” (สิ-ขะ-ระ) คือ ปราสาทที่มีหลังคารูปโค้งสูง ส่วนในอินเดียภาคใต้ เรียกว่า “ทรง วิมาน” คือ ปราสาทที่มีหลังคาซ้อนเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมักประดับอาคาร จำลองจากรูปแบบของปราสาทขอม ในระยะแรกเชื่อกันว่า ได้รับอิทธิพลของทรงศิขร จากอินเดียภาคเหนือ ส่วนทรงวิมานนั้น ส่งอิทธิพลมายังศิลปะชวา ต่อมาภายหลังช่างขอมได้นำเอารูปแบบทั้ง ๒ สายวัฒนธรรม มาผสมผสานกัน จนกลายเป็นรูปแบบเฉพาะของตัวเองขึ้น

คติการส ร้าง

การสร้างอาคารทรงปราสาทมาจากคติความเชื่อของชาวอินเดียที่ว่า เทพเจ้าทั้งหลายสถิตอยู่ ณ เขาพระสุเมรุ อันเป็นแกนกลางของจักรวาล ซึ่งอยู่บนสวรรค์ การสร้างปราสาทจึงเปรียบเสมือนการจำลองเขาพระสุเมรุมายังโลกมนุษย์ เพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า   และมีการสร้างรูปเคารพของเทพเจ้าขึ้น เพื่อประดิษฐานไว้ภายใน โดยตัวปราสาทมีสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้แทนความหมายของเขาพระสุเมรุ เช่น มีปราสาทประธานตรงกลาง มีปราสาทบริวารล้อมรอบ ถัดออกมามีสระน้ำ และกำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง การที่ทำหลังคาปราสาทเป็นเรือนซ้อนชั้นก็หมายถึง สวรรค์หรือวิมานของเทพเทวดานั่นเอง ด้วยเหตุที่เป็นการจำลองจักรวาลมาไว้บนโลกมนุษย์ และเป็นที่สถิตของเทพเจ้า จึงต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์ ตามที่กำหนดไว้ในคัมภีร์ทางศาสนาอย่างเคร่งครัด ตัวปราสาทจึงมีขนาดใหญ่โต และใช้เวลาก่อสร้างยาวนาน

ความสำคัญ

ด้วยเหตุที่ปราสาทขอมคือ ศูนย์กลางของจักรวาล ดังนั้น ตัวปราสาท และเขตศาสนสถานจึงถือว่า เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และใช้ในความหมายที่เป็นศูนย์กลางของเมืองหรือชุมชน ปราสาทเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ และใช้ทำพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งในศาสนาฮินดูจะมีพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธี เช่น การสรงน้ำรูปเคารพที่อยู่ภายในห้องครรภคฤหะ น้ำที่สรงแล้วจะไหลออกมาทางท่อน้ำเรียกว่า ท่อโสมสูตร ซึ่งต่อออกมาภายนอกตัวปราสาท เพื่อที่ชาวบ้านจะได้นำน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้ไปใช้ นอกเหนือจากปราสาทที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนแล้ว การสร้างสระน้ำและบาราย (สระน้ำขนาดใหญ่) ก็เป็นส่วนหนึ่งของปราสาท เพื่อเป็นอ่างเก็บน้ำ สำหรับชุมชน ในการอุปโภคบริโภค ดังนั้น การสร้างปราสาทจึงเป็นภาระสำคัญของพระมหากษัตริย์ ที่เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว ต้องสร้างขึ้น เพื่ออุทิศให้แก่บรรพบุรุษ หรือให้แก่พระองค์เอง และสร้างบารายให้แก่ประชาชน การสร้างปราสาทที่มีขนาดใหญ่จึงแสดงให้เห็นถึงบุญบารมี และพระราชอำนาจของกษัตริย์แต่ละพระองค์ด้วย
หัว ข้อก่อนหน้า หัว ข้อถัดไป