ช่วง
พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔
ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔
ซึ่งตรงกับศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนครและร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดีในภาคกลางของ
ประเทศไทย อันเป็นสมัยแรกที่เริ่มปรากฏหลักฐานการรับศาสนาจากอินเดีย
ในระยะแรกนี้สิ่งปลูกสร้างที่เป็นปราสาทนั้นแทบจะไม่เหลือหลักฐานไว้ให้ศึกษาเลย
เนื่องจากปราสาทในสมัยนี้ส่วนใหญ่ก่อด้วยอิฐจึงพังทลายไปตามกาลเวลา
ยกเว้นเพียงชิ้นส่วนที่เป็นหิน เช่น ทับหลังหน้าบัน
และเสาประดับกรอบประตูเท่านั้นที่ยังคง ปรากฏอยู่
มีปราสาทที่ยังหลงเหลือหลักฐานค่อนข้างสมบูรณ์อยู่เพียงหลังเดียวเท่า
นั้นคือ ปราสาทภูมิโพน อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
ที่สามารถศึกษารูปแบบได้
หลักฐานที่พบในช่วงนี้จะอยู่ในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่จังหวัดจันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์
และอุบลราชธานี ความสำคัญของภาคตะวันออกนั้น
นอกจากเป็นดินแดนที่รับอารยธรรมจากภายนอกในระยะแรกแล้ว
ยังเป็นจุดเชื่อมต่อทางวัฒนธรรม เช่น มีความสัมพันธ์กับทางภาคใต้
และแสดงการผสมผสานทางวัฒนธรรม ระหว่างทวารวดีภาคกลาง
กับศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร หน้าบันหลายชิ้นที่พบที่วัดทองทั่ว
ซึ่งปัจจุบัน ชิ้นหนึ่งจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร อีก ๒
ชิ้นเก็บรักษาไว้ที่วัดทองทั่ว และวัดบน บริเวณเขาพลอยแหวน
จังหวัดจันทบุรี หน้าบันดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับศิลปะ
ที่พบบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ทางตอนเหนือของประเทศกัมพูชา
และทางตอนใต้ของประเทศลาว หลักฐานที่พบอีกชิ้นหนึ่งคือ ทับหลัง
ซึ่งพบที่ปราสาทเขาน้อย อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
กำหนดอายุอยู่ในศิลปะแบบไพรกเมง |
พระอุมา พบที่ อ.อรัญประเทศ
จ.สระแก้ว ประติมากรรมรุ่นเก่าที่สุดที่พบในประเทศไทย (พุทธศตวรรษที่
๑๒)
จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์
วังสวนผักกาด กรุงเทพฯ
|
ในด้านประติมากรรม
ได้พบหลักฐานชิ้นสำคัญเป็นรูปเทวสตรี ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นพระอุมาเทวี
พบที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
ปัจจุบันเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด
จัดเป็นประติมากรรมรุ่นเก่าสุด ที่พบในประเทศไทย
ตรงกับสมัยสมโบร์ไพรกุก (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒)
โดยดูจากการนุ่งผ้ายาวและมีจีบหน้านาง ยกเป็นริ้วตามธรรมชาติ
คาดเข็มขัดที่ส่วนหัวเป็นรูปไข่ ใกล้เคียงกับศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ
จนถึงสมัยหลังคุปตะเป็นอย่างมาก
ประติมากรรมเนื่องในศาสนาฮินดูอีกจำนวนหนึ่ง
ที่พบในแถบจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว ได้แก่ ศิวลึงค์
และพระนารายณ์ โดยเฉพาะพระนารายณ์สวมหมวกทรงกระบอกนั้น
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับศิลปะ ที่พบทางภาคใต้ และที่เมืองศรีเทพ
จังหวัดเพชรบูรณ์ด้วย |
ปราสาทภูมิโพน จ.สุรินทร์ ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก ต่อไพรกเมง
(พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓) |
นอก
จากนี้ยังได้พบหลักฐานที่สำคัญคือ ร่องรอยของปราสาทแบบสมโบร์ไพรกุก
บริเวณแก่งสะพือ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
พร้อมประติมากรรมหินทราย ที่สำคัญคือ ทับหลัง หรือหน้าบัน
ที่วัดสุปัฏนาราม ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒
อีกชิ้นหนึ่งพบที่วัดสระแก้วใกล้กับแก่งสะพือ จัดอยู่ในศิลปะแบบไพรกเมง
ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ จากลักษณะลวดลายแสดงว่า
มีความสัมพันธ์กับงานประติมากรรมทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทย
ปราสาท
ภูมิโพน (ภูมิโปน)
จังหวัดสุรินทร์ อยู่ที่ตำบลดม อำเภอสังขะ เชื่อกันว่า
เป็นหลักฐานทางสถาปัตยกรรมขอมสมัยก่อนเมืองพระนครที่เก่าที่สุด
ในประเทศไทย ที่ยังเหลือหลักฐานอยู่
จัดเป็นศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุกต่อไพรกเมง ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓
โดยดูจากระบบโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่มีแบบแผนของศิลปะขอม
ก่อนเมืองพระนคร เช่น การมีเสาประดับมุม
ซึ่งต่างจากสมัยหลังเมืองพระนครที่มีการเพิ่มมุม
รวมทั้งมีการประดับปราสาทจำลองตรงส่วนของเหนือกรอบประตูแต่ละด้าน
และที่มุมหลังคาในแต่ละชั้น
ในขณะที่สมัยหลังเมืองพระนครจะเปลี่ยนจากปราสาทจำลอง มาเป็นบันแถลงแล้ว
นอกจากนี้การประดับทับหลังที่มีส่วนวงโค้งรูปเกือกม้ากับหน้าบัน
ก็เป็นงานในลักษณะที่ใกล้เคียงกับศิลปะของประเทศอินเดีย
รวมทั้งลวดลายที่หน้าบันที่เหลืออยู่
ก็มีความสัมพันธ์อย่างมากกับศิลปะทวารวดีในภาคกลาง
และในอินเดียสมัยคุปตะ ที่ปราสาทภูมิโพนยังพบอาคารขนาดเล็ก
ตั้งอยู่ในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า และทับหลังชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง
ที่แสดงลวดลายสิงห์ ที่มีปากเป็นนก มีวงโค้ง ๔ วง ประดับรูปเหรียญ ๓ วง
อันเป็นลักษณะของทับหลัง ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุกต่อไพรกเมง
เป็นหลักฐานสำคัญ ในการกำหนดอายุศาสนสถานแห่งนี้
|