ตู้พระธรรม เป็นตู้ไทยโบราณ
เขียนลวดลายลงรักปิดทองทั้งตู้ โดยทั่วไปใช้เก็บคัมภีร์ใบลาน
เก็บหนังสือที่เกี่ยวกับพระธรรมคำสอน และศิลปวัตถุที่มีค่าในพระพุทธศาสนา
|
 ลายไทยที่เขียนขึ้น เพื่อใช้ตกแต่งตู้พระธรรม | แต่เดิมยังไม่มีสมุดและดินสอ
การบันทึกพระธรรมคำสอน จึงใช้วิธีนำเหล็กแหลม ขีดเขียนลงบนใบลาน ที่ตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมยาวๆ
วางเรียงซ้อนกัน ร้อยด้วยเชือกเล็กๆ เรียกว่า สายสนอง รวมกันเป็นผูก
แต่ละเรื่องอาจมีหลายผูกรวมกัน แล้วใช้แผ่นไม้ ๒ อัน ขนาดเท่ากับแผ่นใบลาน
ประกบ (ภาษาโบราณใช้ว่า ประกับ) หน้าหลัง
เสียบฉลากหรือป้ายบอกชื่อเรื่องในคัมภีร์ แล้วสร้างตู้เก็บรักษา เรียกว่า ตู้พระธรรม บางครั้ง พระสงฆ์อาจเก็บคัมภีร์ไว้ในหีบ เรียกว่า หีบพระธรรม
เมื่อสร้างหีบแล้ว อาจต่อขาลงมา ๔ ข้าง และทำบานปิดเปิดได้ทางด้านหน้า
หีบพระธรรมจึงกลายเป็นตู้พระธรรม
ซึ่งชาวบ้านนิยมสร้างอุทิศถวายไว้ในวัดสืบต่อมา |
ครั้นเจ้านายและชนชั้นสูงต้องการสร้างตู้พระธรรมถวายเป็นพุทธบูชา
หรืออุทิศผลบุญแก่ผู้ล่วงลับ
การสร้างตู้พระธรรมจึงมีช่างฝีมือ ที่สร้างตู้อย่างประณีตงดงามขึ้น
มีการเขียนลายไทย เป็นลายรดน้ำบนพื้นรักสีดำที่บานประตูทั้ง ๒ บาน เช่น
ลายกระหนก ลายก้านขด นอกจากนั้น ยังมีการตกแต่งด้วยลายเครือเถาแบบต่างๆ
สอดแทรกด้วยภาพสัตว์ เช่น นก กระรอก ลิง นาค ทำให้ดูสวยงามมีชีวิตชีวา
|
 ลายไทยที่เขียนขึ้น เพื่อใช้ตกแต่งตู้พระธรรม | เมื่อมีผู้สร้างตู้พระธรรมอุทิศถวายไว้ในวัดมากขึ้น
วัดจึงต้องมีการก่อสร้างสถานที่เก็บพระไตรปิฎกและตู้พระธรรม เรียกว่า
หอพระไตรปิฎก หรือหอไตร เป็นที่เก็บรักษาพระธรรมคัมภีร์
เสมือนหอสมุดของวัด หอไตรเป็นอาคารที่มีลักษณะพิเศษ
ก่อสร้างอย่างประณีตงดงาม สมกับเป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์ อันมีคุณค่าสูงยิ่ง |
ตู้พระธรรม มีรูปลักษณะแบบไทยโดยเฉพาะ
นอกจากเป็นการแสดงฝีมือช่างในการเขียนลายไทย และการลงรักปิดทองแล้ว
ที่น่าสนใจ คือ รูปทรงของตู้ และองค์ประกอบส่วนต่างๆ ของตู้พระธรรม
โดยเฉพาะขาตู้ ซึ่งกำหนดชื่อของตู้พระธรรม ให้เรียกชื่อต่างกันด้วย ได้แก่
ตู้ขาหมู ตู้ขาหมูมีลิ้นชัก ตู้เท้าสิงห์ ตู้เท้าสิงห์มีลิ้นชัก
ตู้ฐานสิงห์ และตู้เท้าคู้ |
 ลายไทยที่เขียนขึ้น เพื่อใช้ตกแต่งตู้พระธรรม | ตู้พระธรรม ไม่เพียงแต่มีความงดงามทางการเขียนลายของช่างฝีมือเลิศ
และเป็นคลังความรู้ทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น
บนบานตู้พระธรรมยังแสดงเรื่องราว ภาพตัวละครในวรรณคดี
และภาพพุทธประวัติไว้ด้วย เช่น ภาพเทพารักษ์ ภาพในเรื่องรามเกียรติ์ ภาพพุทธประวัติปางเสด็จออกผนวช ภาพทศชาติ และวรรณกรรมชาดก |
ลายทองบนบานตู้พระธรรม เป็นสิ่งบ่งบอกยุคสมัย ของการสร้างตู้นั้น ตู้พระธรรมที่สร้างในสมัยอยุธยา
มีลวดลายเถากระหนก สะบัดปลายพลิ้วดุจเปลวไฟต้องลม
ดูอ่อนช้อยได้สัดส่วนงดงามยิ่ง แสดงฝีมือช่างอย่างยอดเยี่ยม |