สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู ๓๑
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓๑ / เรื่องที่ ๖ ซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย / ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์
ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์
ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์
การศึกษาซากดึกดำบรรพ์ช่วยให้เราเรียนรู้ประวัติและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ซึ่งมีการสูญพันธุ์ และมีการเกิดขึ้นใหม่มาทดแทน
รวมทั้งช่วยให้เราทราบประวัติความเป็นมาของโลกว่า
มีเหตุการณ์ใด เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด
โดยสรุปอาจกล่าวถึงประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์ได้ดังนี้
 |
รอยเท้าของไดโนเสาร์ที่ อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม |
๑.
ใช้บอกอายุของชั้นหิน
เนื่องจากสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาและสูญพันธุ์ไปตลอดเวลา
ตารางเวลาทางธรณีวิทยาจึงใช้หลักฐานการเกิดขึ้น
และการสูญพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิต เป็นเกณฑ์กำหนดอายุของชั้นหิน
โดยแต่ละมหายุคสิ้นสุดลง ด้วยการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ของสิ่งมีชีวิตบนโลก
และแต่ละยุค สิ้นสุดโดยมีเหตุการณ์การสูญพันธุ์ และการเกิดใหม่
ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด
โดยบางชนิดมีจำนวนมาก และแพร่กระจายอยู่ทั่วไป
แต่ดำรงชีวิตอยู่ในโลก ในช่วงระยะเวลาอันสั้น
จึงสามารถช่วยกำหนดอายุของชั้นหินได้ดี เราเรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี
(Index fossil) เช่น ฟิวซูลินิด (fusulinid)
ที่ดำรงชีวิตอยู่ในช่วงยุคคาร์บอนิเฟอรัสถึงยุคเพอร์เมียนเท่านั้น |
 ร่องรอยแนวทางเดินของไดโนเสาร์ อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม
|
๒.
ใช้บอกลำดับชั้นหิน
สิ่งมีชีวิตที่มีอายุเก่ากว่าจะตกทับถมอยู่ในหินชั้นล่าง
และสิ่งมีชีวิตที่มีอายุใหม่กว่าจะตกทับถมอยู่ในหินชั้นบน ดังนั้น
เมื่อพบซากดึกดำบรรพ์อายุเก่ากว่า
แสดงว่า ชั้นหินนั้นเกิดก่อนชั้นหินที่มีซากดึกดำบรรพ์ที่อายุใหม่กว่า |
๓.
ใช้เทียบเคียงชุดหินต่างๆ
ชั้นหินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและมีซากดึกดำบรรพ์
ชนิดเดียวกัน
แม้ว่าพบในบริเวณที่ต่างกันก็ถือว่า
ชั้นหินทั้งสองแหล่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน
และเกิดในสภาพแวดล้อมของการสะสมตะกอน ลักษณะเดียวกัน
|
๔.
ใช้ประโยชน์ในการค้นหาแหล่งแร่บางชนิด
เช่น สาหร่ายทะเล ที่ฝังอยู่ในหินกักเก็บน้ำมัน
สามารถช่วยให้เราสำรวจหาปิโตรเลียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และประหยัดค่าใช้จ่าย |
 รูชอนไชของสัตว์ในชั้นหิน พบที่เขาทะลุ จ.ชุมพร |
๕.
ใช้บอกถิ่นกำเนิดและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ในอดีต
เช่น
การค้นพบซากเอป ซึ่งเป็นลิงขนาดใหญ่ ไม่มีหาง
ลักษณะคล้ายคลึงกับอุรังอุตังในปัจจุบัน ที่อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
และที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ทำให้สันนิษฐานได้ว่า
ประเทศไทยอาจเป็นแหล่งกำเนิดและวิวัฒนาการ ของอุรังอุตัง มาตั้งแต่สมัยไมโอซีน
เมื่อราว ๑๓ ล้านปีมาแล้ว |
 สาหร่ายทะเล | ๖.
ใช้บอกสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในอดีต
การศึกษาชนิดของซาก
ดึกดำบรรพ์ รวมทั้งชนิดของหินที่มีซากดึกดำบรรพ์
แล้วนำมาเปรียบเทียบ กับสิ่งมีชีวิตปัจจุบัน
ทำให้เราสามารถแปลความหมายสภาพแวดล้อม และสภาพภูมิอากาศในอดีตได้
เนื่องจาก สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่น
ชนิดและสมบัติของตะกอน อุณหภูมิ ปริมาณของออกซิเจน และแสงสว่าง ดังนั้น
ถ้าพบซากปะการังในหินปูน เราสามารถบอกได้ว่าบริเวณนั้นเคยเป็นทะเลมาก่อน
เนื่องจาก
หินปูนเป็นหินที่เกิดจากการตกตะกอนทางเคมี ของสารละลายคาร์บอเนต ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในทะเล
ซากปะการังจึงบอกให้ทราบว่าเป็นทะเลน้ำตื้น น้ำใส แสงแดดส่องถึง
และมีอุณหภูมิอบอุ่น ทั้งนี้
โดยเปรียบเทียบกับสภาพแวดล้อม ของปะการังปัจจุบัน | ๗.
ใช้บอกการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก
เนื่องจากเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา
ดังนั้น การค้นพบว่า
ซากไดโนเสาร์ยุคครีเทเชียสหลายชนิดในประเทศไทย เป็นไดโนเสาร์กลุ่มเดียวกับที่พบในประเทศจีน
ทำให้สันนิษฐานได้ว่า แผ่นดินฉาน - ไทย ซึ่งเคลื่อนที่มาจากทางใต้
ได้ชนกับแผ่นดินอินโดจีนแล้ว ในช่วงปลายมหายุคมีโซโซอิก
|
|