สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 32
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓๒ / เรื่องที่ ๑ ตาลปัตร พัดยศ และสมณศักดิ์ / ความหมายและที่มา
ความหมายและที่มา
ความหมาย
และที่มา
ตาลปัตร
หรือในบางแห่งใช้ว่า ตาลิ-ปัตร มาจากคำว่า
ตาลซึ่งเป็นชื่อต้นไม้ประเภทปาล์ม ชนิดหนึ่ง มีใบใหญ่ รวมกับคำว่า ปัตร
แปลว่า ใบ ตาลปัตร จึงมีความหมายว่า
ใบตาลแม้ต่อมาภายหลังจะมีการใช้ใบของต้นลาน
ซึ่งเป็นไม้ประเภทปาล์มเช่นเดียวกับต้นตาล
ก็ยังคงเรียกว่าตาลปัตรเช่นเดิม
ใบตาลนี้
ชาวบ้านสมัยก่อนพุทธกาลในอินเดียและลังกา
นำมาตัดแต่งเป็นพัดโดยใช้เส้นหวายจัก หรือตอกไม้ไผ่ ประกอบเข้าเป็นกรอบ
เย็บติดกับขอบใบ
เพื่อกันใบแตก หรือฉีก
ใช้พัดโบกลมหรือบังแดดต่อมาพระสงฆ์ได้นำพัดใบตาลที่ชาวบ้านใช้นี้
ไปในเวลาแสดงธรรมด้วย
พัดที่พระสงฆ์ใช้
แรกเริ่มคงจะใช้เป็นประจำเหมือนเป็นบริขาร (เครื่องใช้ของพระ)
อย่างหนึ่งเมื่อชาวบ้านเห็นพระใช้ประจำก็คิดทำถวายเพื่อหวังบุญกุศล
แต่ด้วยพัดใบตาลนั้น
ฉีกขาดง่ายเป็นของไม่คงทนจึงคิดหาวัสดุอื่นที่คงทนถาวรกว่าและที่เห็นว่าดีว่างาม
เช่น ไม้ไผ่สาน
งาสาน ผ้าไหม ผ้าแพร สุดแต่กำลังศรัทธาของตน
นำมาประดิษฐ์ตกแต่งให้วิจิตรงดงาม ถวายแด่พระสงฆ์ที่ตนเคารพนับถือ
พัดใบตาลเดิมจึงเปลี่ยนแปลงไป
และเมื่อพระเจ้าแผ่นดินโปรดให้ทำถวายพระบ้างซึ่งในชั้นเดิม
คงจะพระราชทานแก่พระสงฆ์ที่ทรงคุ้นเคย
และเลื่อมใสเป็นส่วนพระองค์ก่อน
ต่อมาจึงพระราชทานแก่พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์
(ตำแหน่งยศที่ได้รับพระราชทาน)
ทำให้เกิดการถวายตาลปัตรที่งดงามตามสมณศักดิ์ขึ้น
กลายเป็นเครื่องยศประกอบสมณศักดิ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง เรียกว่า พัดยศ |

พัดรองที่ระลึกงามเฉลิมพระสุพรรณบัฏ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร พ.ศ. ๒๔๓๕
ด้านหนึ่งปักตรารูปอาร์ม
อีกด้านหนึ่งปักอักษรข้อความชื่องาน |
ในปัจจุบัน
ตาลปัตรที่พระสงฆ์ใช้ และเราพบเห็นเป็นปกตินั้น คือ
ตัวพัดมีลักษณะเป็นวงกรอบคล้ายรูปไข่เรียกว่า พัดหน้านาง ด้านบนมน
และกว้างกว่าด้านล่างเล็กน้อย พื้นพัดมักทำด้วยผ้าชนิดต่างๆ
อาจปักตกแต่งให้สวยงาม ที่ตรงกลางกรอบพัดด้านล่างมีด้าม ยาวประมาณ ๗๐
เซนติเมตร ตาลปัตรชนิดนี้ ปัจจุบัน ยังเรียกอีกอย่างว่า
พัดรอง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ทำพัดขึ้นด้วยโครงไม้ไผ่ ใช้ผ้าแพรอย่างดีหุ้มทั้ง ๒ ด้าน
ขลิบด้วยผ้าโหมด
(ผ้าชนิดหนึ่งใช้กระดาษเงินกระดาษทองพันเส้นไหมทอกับไหมสี)
พระราชทานพระสงฆ์ใช้แทนพัดใบตาลที่มีลักษณะงองุ้ม และให้เรียกว่า
พัดรอง
ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นสมัยที่นิยมสร้างพัดรองกันมากที่สุด โดยโปรดเกล้าฯ
ให้จัดทำขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นที่ระลึกในงานพระราชพิธีต่างๆ ปัจจุบัน
มักทำพัดรองถวายพระสงฆ์เป็นที่ระลึกการจัดงาน ทั้งงานที่เป็นมงคลต่างๆ
และงานศพ พื้นพัดจึงมักปักตกแต่งเป็นรูปสัญลักษณ์ของงาน
หรือปักอักษรข้อความที่เกี่ยวกับงานนั้นๆ
|
|