ความหมายและแนวความคิด - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 32
เล่มที่ ๓๒
เรื่องที่ ๑ ตาลปัตร พัดยศ และสมณศักดิ์
เรื่องที่ ๒ หุ่นกระบอกไทย
เรื่องที่ ๓ หนังสือโบราณของไทย
เรื่องที่ ๔ สิทธิมนุษยชน
เรื่องที่ ๕ เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ
เรื่องที่ ๖ ชีวสนเทศศาสตร์
เรื่องที่ ๗ การยศาสตร์
เรื่องที่ ๘ นาโนเทคโนโลยี
เรื่องที่ ๙ โรคออทิซึม
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓๒ / เรื่องที่ ๔ สิทธิมนุษยชน / ความหมายและแนวความคิด

 ความหมายและแนวความคิด
ความหมายและแนวความคิด

สิทธิมนุษยชน คือ คุณธรรมสากล ที่เน้นคุณค่าของมนุษย์ โดยถือว่า มนุษย์ทุกคน มีความเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และมีความเท่าเทียมกันในสิทธิ ไม่ว่าจะยากดีมีจน พิการ หรือมีความแตกต่างกันทั้งเชื้อชาติ แหล่งกำเนิด เพศ วัย หรือสีผิวก็ตาม สิทธิมนุษยชน จึงหมายถึง "สิทธิ" ของความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด และมีต่อไปจนกว่าจะสิ้นชีวิต แนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนนั้น มีประวัติความเป็นมายาวนานในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ถ้าเราได้ศึกษาอย่างลึกซึ้ง จะเห็นว่า อารยธรรม ศาสนา และปรัชญาทั้งหลายในโลกที่ให้คุณค่ากับมนุษย์ ได้มีส่วนสำคัญ ในการวางรากฐานแนวความคิดในเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งต่อมา ได้ผ่านกระบวนการสร้างกฎเกณฑ์ของสังคม กลายเป็นสิทธิทางกฎหมาย ทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ ดังปรากฏอยู่ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของชาติต่างๆ และในสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อปกป้องสิทธิของบุคคล หรือสิทธิความเป็นมนุษย์ของคนทุกคนในโลก
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป