ประเภทสิทธิมนุษยชน - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 32
เล่มที่ ๓๒
เรื่องที่ ๑ ตาลปัตร พัดยศ และสมณศักดิ์
เรื่องที่ ๒ หุ่นกระบอกไทย
เรื่องที่ ๓ หนังสือโบราณของไทย
เรื่องที่ ๔ สิทธิมนุษยชน
เรื่องที่ ๕ เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ
เรื่องที่ ๖ ชีวสนเทศศาสตร์
เรื่องที่ ๗ การยศาสตร์
เรื่องที่ ๘ นาโนเทคโนโลยี
เรื่องที่ ๙ โรคออทิซึม
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓๒ / เรื่องที่ ๔ สิทธิมนุษยชน / ประเภทสิทธิมนุษยชน

 ประเภทสิทธิมนุษยชน
การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นการแสดงถึงสิทธิและหน้าที่ทางการเมืองของพลเมือง
การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นการแสดงถึงสิทธิและหน้าที่ทางการเมืองของพลเมือง
ประเภทสิทธิมนุษยชน

บรรดาสิทธิที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จำแนกออกได้อย่างกว้างๆ ๒ ประเภท คือ

ประเภทแรก

เป็นสิทธิของพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ซึ่งรวมถึงสิทธิ และเสรีภาพในชีวิต และร่างกาย อิสรภาพจากการเป็นทาส และการถูกทรมาน ความเสมอภาคในทางกฎหมาย การได้รับความคุ้มครอง เมื่อถูกจับกุม กักขัง สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เสรีภาพขั้นพื้นฐานในทางความคิด มโนธรรม และการนับถือศาสนา เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออก และการชุมนุมอย่างสันติ สิทธิในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมือง และดำเนินกิจการทางการเมือง สิทธิและหน้าที่ ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

ประเภทที่สอง

คือ สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งครอบคลุมถึง สิทธิในการทำงาน การได้รับค่าตอบแทนเท่ากัน สำหรับงานที่เท่ากัน สิทธิในการก่อตั้ง และเข้าร่วมสหภาพแรงงาน สิทธิในการมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่เหมาะสม สิทธิในการได้รับการศึกษา และบริการทางสาธารณสุข สิทธิ และเสรีภาพ ในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรม ตามความเชื่อของตน
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป