ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มนุษย์ได้ศึกษาค้นคว้าความรู้ในด้านต่างๆ
สำหรับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ก็มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ
โดยได้ศึกษาสิ่งต่างๆ ทั้งในโลกและนอกโลก ขนาดและระยะทางใกล้ไกลต่างกัน
จึงมีหน่วยวัดขนาดต่างๆ กันไป หน่วยที่ใช้วัดความยาวซึ่งรู้จักกันมาก คือ
กิโลเมตร เมตร เซนติเมตร มิลลิเมตร
ต่อมา เมื่อเกิดความสนใจระบบที่ยิ่งเล็กลงมากขึ้น
ทำให้เกิดการศึกษาหน่วยที่เล็กลงมากขึ้นด้วย คือ ไมโครเมตร หรือไมครอน
ซึ่งมีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑,๐๐๐,๐๐๐ ส่วนของ ๑ เมตร หรือ ๑๐-๖
เมตร
|
 |
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐
เริ่มมีการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เกี่ยวกับสิ่งที่มีขนาดเล็กมาก เพื่อประโยชน์ในการนำไปสร้างเครื่องมือ
เครื่องใช้ อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีขนาดเล็กลง และมีคุณสมบัติตามที่ต้องการ
รวมทั้งใช้วัตถุดิบที่เป็นตัวเริ่มต้นน้อยลง เพื่อประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ
ซึ่งศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวคือ ศาสตร์นาโน และนาโนเทคโนโลยี
ดังนั้น คำว่านาโน ซึ่งเป็นคำนำหน้าหน่วยวัดแสดงค่าเท่ากับ ๑๐-๙
หรือ ๑/๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น |

อนุภาคของไวรัสอินฟลูเอนซา ชนิด เอ (Influenza A virus particles) |
หากนำคำว่า
นาโน มาใช้นำหน้าหน่วยวัด "เมตร" เป็น "นาโนเมตร" หมายถึง
ปริมาณในระดับเพียง หนึ่งในหนึ่งพันล้านส่วนของเมตร หรือ ๑๐-๙ เมตรเท่านั้น ลองศึกษาขนาดของสิ่งต่างๆ เพื่อให้นึกภาพขนาดของ ๑ นาโนเมตร ได้ชัดเจนดีขึ้น ดังต่อไปนี้ |
 เชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola virus) |
เด็กคนหนึ่งสูง ๑ เมตร เท่ากับความสูง ๑๐๙ นาโนเมตร หรือหนึ่งพันล้านนาโนเมตร
เซลล์เม็ดเลือดแดง มีขนาดประมาณ ๑๐-๕เมตร เท่ากับ ๑๐๔ นาโนเมตร หรือ ๑๐,๐๐๐ นาโนเมตร
ไวรัส ๑ ตัว มีขนาดประมาณ ๑๐-๗ เมตร เท่ากับ ๑๐๒ นาโนเมตร หรือ ๑๐๐ นาโนเมตร
คลื่นรังสีเอกซ์ที่เราใช้เอกซเรย์ปอดและอื่นๆ ยาวประมาณ ๑๐-๙ - ๑๐-๘ เมตร หรือ ๑ - ๑๐ นาโนเมตร
อะตอมของธาตุ เช่น ออกซิเจน มีขนาดประมาณ ๑๐-๑๐ เมตร เท่ากับ ๑๐-๑ นาโนเมตร หรือ ๑ ใน ๑๐ ของ ๑ นาโนเมตร
ศาสตร์นาโน
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสมบัติของสิ่งต่างๆ ในขนาดประมาณ ๑ - ๑๐๐ นาโนเมตร
ที่เน้นการจัดการ เกี่ยวกับอะตอม และโมเลกุล เช่น การจัดเรียงตัว
การเคลื่อนย้ายตำแหน่ง การเกิดปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของอะตอม
และโมเลกุลเหล่านั้น ส่วนนาโนเทคโนโลยี คือ
การนำความรู้จากศาสตร์นาโนไปสร้างเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์
และวิธีการต่างๆ เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ในด้านการแพทย์ การเกษตร และอื่นๆ
|
 ชุดป้องกันอาวุธเคมี หรืออาวุธชีวภาพ โดยการนำความรู้จากศาสตร์นาโนมาใช้ |
ตัวอย่างผลงานที่สำเร็จแล้ว ได้แก่
- การผลิตชุดป้องกันอาวุธเคมี หรืออาวุธชีวภาพ ที่ใช้ในเกี่ยวกับการทหารและความมั่นคงของชาติ
- การผลิตสินค้าที่ใช้ในการพาณิชย์
เช่น เครื่องสำอาง เสื้อผ้าที่ไม่ติดคราบสกปรก
รวมทั้งเสื้อผ้าที่ปรับเปลี่ยนสภาวะ ไปตามสิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านของสี
ความร้อน ความเย็น และสามารถป้องกันเชื้อโรคได้
- การลดปัญหามลพิษโดยการลดของเสียเหลือใช้ และการแปรรูป ปรับสภาพ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
|
 ชุดป้องกันอาวุธเคมี หรืออาวุธชีวภาพ โดยการนำความรู้จากศาสตร์นาโนมาใช้ |
นอกจากนี้ยังมีผลงานที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย เช่น การตัดต่อ
และการสังเคราะห์โปรตีน การทำเครื่องจักรนาโน
เพื่อใช้กับตัวรับรู้ทางชีววิทยา การสร้างตัวขนส่งยานาโน
การสร้างคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงที่มีขนาดเล็กเท่าฝ่ามือหรือหัวแม่มือ
|
 การเตรียมปฏิบัติงานตรวจสอบอาวุธชีวภาพ โดยสวมชุดป้องกันอาวุธชีวภาพ หรือเชื้อโรค |
ศาสตราจารย์ริชาร์ด ฟิลลิปส์ ไฟยน์แมน นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล
ผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งนาโนเทคโนโลยี"
ได้ให้แนวคิด เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของนาโนเทคโนโลยี เมื่อวันที่ ๒๙
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ว่า
การจัดเรียงอะตอม ให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการอย่างแม่นยำ และมีเสถียรภาพ
จะสามารถทำให้ประดิษฐ์สิ่งเล็กจิ๋วต่างๆ ได้ |
 ภาพจำลองแสดงวิธีการสร้าง หรือการผลิตแบบนาโนเทคโนโลยี : แบบบนลงล่าง หรือใหญ่ไปเล็ก ซึ่งเป็นวิธีที่มักใช้กันทั่วไป |
ต่อมา
มีนักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่ลงมือบุกเบิกแนวคิดนาโนเทคโนโลยี และทุ่มเทการค้นคว้าวิจัยอย่างจริงจัง
คือ คิม อีริก เดรกซ์เลอร์ ได้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นครั้งแรก
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า
เราสามารถสร้างหรือประกอบ ชิ้นส่วนวัสดุขึ้นจากการควบคุมจัดเรียงอะตอม ด้วยความเที่ยงตรง
เป็นผลให้ไม่มีของเสียเหลือทิ้ง ที่อาจก่อให้เกิดมลพิษ
หรือการใช้พลังงานเกินจำเป็น |