วิถีชีวิตและความคิดความเชื่อของคนไทยส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา
และมีคติศาสนาพราหมณ์ปะปนอยู่ ที่เห็นได้อย่างเด่นชัด คือ พิธีกรรมต่างๆ
ทั้งที่เป็นพระราชพิธีและพิธีมงคลต่างๆ ในสังคมไทย ตัวอย่างเช่น
พิธีมงคลสมรส มีทั้งพิธีสงฆ์ สวดมนต์ ถวายภัตตาหาร
และการหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ ทางด้านศาสนสถาน ก็มีทั้งวัด โบสถ์ วิหาร และมีเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เทวาลัย ศาลพระพรหม ซึ่งใช้ประกอบพิธีกรรมตามคติความเชื่อที่ควบคู่กันไป
นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๖ ไทยรับเอาศาสนาพราหมณ์มาจากหลายทาง
ส่วนใหญ่มาทางตะวันออกคือ จากเขมร เห็นได้จากโบราณสถานหลายแห่ง เช่น
ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย อีกเส้นทางหนึ่งมาทางภาคตะวันตก
มีเทวสถานปราสาทเมืองสิงห์ ที่จังหวัดกาญจนบุรี
ร่องรอยเทวสถานที่จังหวัดเพชรบุรี และอีกเส้นทางหนึ่งคือ ทางภาคใต้
โดยที่พราหมณ์และพ่อค้าอินเดียได้เข้ามาในอาณาจักรศรีวิชัย
มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์จำนวนมากที่เมืองนครศรีธรรมราช
ซึ่งคณะพราหมณ์ได้เข้ามาประกอบพิธีกรรมในพระราชสำนัก
ตั้งชุมชนพราหมณ์อยู่ในเมืองนี้
และพราหมณ์ส่วนหนึ่งได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเพชรบุรี
|
ปราสาทหิน
วัดกำแพงแลง จ.เพชรบุรี มีลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบขอม
อันเนื่องมาจากคติในศาสนาพราหมณ์ แสดงให้เห็นว่า
ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามามีบทบาทในดินแดนนี้ |
เมื่อ
พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงเทพฯ
เป็นราชธานี พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สืบหาตำราต่างๆ และนำคณะพราหมณ์จากภาคใต้มารับราชการในพระราชสำนัก ทรงรื้อฟื้นพิธีพราหมณ์ และสร้างเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ สำหรับพระนครขึ้น
ตั้งอยู่เยื้องกับวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
พร้อมทั้งสร้างเสาชิงช้า เพื่อรักษาธรรมเนียมการสร้างพระนคร
ที่จะทำให้มีความมั่นคงแข็งแรง |
เทวสถานที่เมืองนครศรีธรรมราช
ตั้งอยู่ริม ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมืองฯ จ.นครศรีธรรมราช
กรมศิลปากรได้บูรณะขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ |
เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ในไทยแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ
๑) กลุ่มเทวสถานที่สร้างก่อนสมัยรัตนโกสินทร์
สร้างประจำเมืองใหญ่เพื่อใช้ในงานพระราชพิธีและการประกอบพิธีกรรมของพราหมณ์
เป็นการสร้างอุทิศถวายแด่พระเป็นเจ้า เช่น พระอิศวรในไศวนิกาย
และพระวิษณุในไวษณพนิกาย
มีเทวสถานและเสาชิงช้าที่เมืองนครศรีธรรมราชซึ่งปรักหักพังไปแล้ว
กรมศิลปากรได้บูรณะขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙
๒) กลุ่มเทวสถานในสมัยรัตนโกสินทร์
นอกจากเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ สำหรับพระนครแล้ว
ยังมีเทวสถานที่สร้างโดยชาวอินเดียที่มาพำนักอยู่ในประเทศไทย ได้แก่
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขกสีลม) ซึ่งประดิษฐานเทวรูปพระแม่อุมาเทวี
วัดวิษณุ
ที่เขตยานนาวา มีโบสถ์พระแม่ทุรคา โบสถ์ศิวลึงค์ และโบสถ์พระศิวนาฏราช
และศาสนิกชนพราหมณ์ฮินดูได้สร้างเทวสถานชื่อ
โบสถ์เทพมณเฑียร ตั้งอยู่บริเวณใกล้เสาชิงช้า กรุงเทพฯ
เทวสถานในสมัยโบราณส่วนใหญ่มักทำด้วยศิลา และมีส่วนประกอบสำคัญ คือ โคปุระ
เป็นซุ้มประตูสำหรับให้ผู้ที่เข้ามา ได้ทำสมาธิบูชาพระเป็นเจ้าอยู่ชั้นล่างสุด
ชั้นบนถัดขึ้นมาเป็นที่ประทับเมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จฯ เรียกว่า
พระมหามณเฑียร ส่วนชั้นสูงสุดเรียกว่า มหาปราสาท
เป็นที่ประทับของพระเป็นเจ้า
ภายในเทวสถานมักมีการแกะสลักรูปเรื่องราวต่างๆ
มีประติมากรรมเทวรูปที่เป็นทั้งศิลปะขอม ศิลปะทวารวดี และศิลปะศรีวิชัย
เทวสถานโบสถ์พราหมณ์สำหรับพระนคร ตั้งอยู่ที่ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า
เขตพระนคร กรุงเทพฯ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๗ เดิมเรียกว่า
เทวสถานสำหรับพระนคร เป็นเทวสถานเรียงกัน ๓
หลัง ได้แก่ สถานพระอิศวร สถานพระพิฆเนศ และสถานพระนารายณ์
มีหอเวทวิทยาคมเป็นห้องสมุดเฉพาะกิจ
เก็บรวบรวมสรรพประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ
บริเวณลานเทวสถานมีเทวาลัยขนาดเล็กตั้งอยู่กลางบ่อน้ำ
ประดิษฐานเทวรูปพระพรหม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔
บริเวณเทวสถานทั้งหมดนับเป็นโบราณวัตถุและโบราณสถานที่สำคัญของชาติ |
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า วัดแขกสีลม ตั้งอยู่ที่ ถ.สีลม เขตบางรัก
กรุงเทพฯ เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระแม่อุมาเทวี |
ด้านหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์แห่งเดิมเป็นลานกว้างอยู่บริเวณด้านหน้าวัดสุทัศนเทพวราราม
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างเสาชิงช้าขึ้นเมื่อวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือน
๕ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๒๗ พิธีการสร้างพระนครที่เกี่ยวกับเสาชิงช้า คือ
พิธีตรียัมพวาย-ตรีปวาย
ซึ่งเป็นพิธีที่มีส่วนของการแสดงตำนานพระพรหมสร้างโลก และมีการโล้ชิงช้า
เสาชิงช้านี้มีความสูงจากพื้นถึงยอด ๔๒ เมตร ต่อมา
เสาทั้งสองข้างเริ่มชำรุด จึงได้มีการทำพิธียกเสาชิงช้าขึ้นใหม่
และประดิษฐานในที่เดิม เมื่อ
พ.ศ. ๒๕๕๐ |
ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาพระแม่อุมาเทวีมากราบไหว้บูชา และขอพร
|
พิธีกรรมที่คณะพราหมณ์ประกอบพิธีในเทวสถานที่ยังพอปรากฏอยู่ ได้แก่
พิธีสถาปนาเทวสถานวัดวิษณุ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ซึ่งมีการประกอบพิธีสำคัญๆ
นานถึง ๑๑ วัน เช่น พิธีกรมากุฏิ พิธีชลาธิวาส พิธีอันนาธิวาส
พิธีศัยยาธิวาส พิธีเชิญวิญญาณพระเป็นเจ้า และพิธีปูรณหูติ
เมื่อเสร็จพิธีดังกล่าวแล้วจึงทำพิธีเปิดเทวสถาน
พระราชพิธีอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์
ได้แก่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งมีพิธีโดยย่อ คือ เปิดประตูศิวาลัย
ถวายน้ำอภิเษก อัญเชิญพระอิศวรเพื่อประทานพร พิธีสรงพระมูรธาภิเษก
การถวายสังวาลพราหมณ์ นอกจากนี้ มีพระราชพิธีตรียัมพวาย-ตรีปวาย
ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับพิธีแรกนาขวัญ การเพาะปลูก
และการเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหาร โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธี |
ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาพระแม่อุมาเทวีมากราบไหว้บูชา และขอพร |
ตำแหน่งพระมหาราชครูประจำแต่ละรัชกาลเริ่มมีมาตั้งแต่รัชกาลที่
๑ จนถึงรัชกาลปัจจุบัน
โดยสืบทอดเชื้อสายพราหมณ์ต่อเนื่องกันมาจากพราหมณ์ราชสำนัก
ปัจจุบันหัวหน้าคณะพราหมณ์ คือ พระราชครูวามเทพมุนี (ชวิน รังสิพราหมณกุล)
ปฏิบัติหน้าที่พราหมณ์ราชสำนัก เป็นข้าราชการขึ้นตรงต่อสำนักพระราชวัง
และปฏิบัติศาสนกิจที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ |