ความหมาย - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 36
เล่มที่ ๓๖
เรื่องที่ ๑ มัสยิด
เรื่องที่ ๒ ละครชาตรี
เรื่องที่ ๓ เกวียน
เรื่องที่ ๔ ทองคำ
เรื่องที่ ๕ มะคาเดเมีย
เรื่องที่ ๖ หุ่นยนต์
เรื่องที่ ๗ แอนิเมชัน
เรื่องที่ ๘ โรคมาลาเรีย
เรื่องที่ ๙ โรคไต
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓๖ / เรื่องที่ ๒ ละครชาตรี / ความหมาย

 ความหมาย
ความหมาย

ละครชาตรีเป็นศิลปะการแสดงของไทยประเภทหนึ่ง พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้ให้ความหมายว่าเป็น “ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก” แม้ว่าละครชาตรีจะเป็นละครรำที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่คนทั่วไปอาจไม่รู้จักหรือคุ้นเคยกับละครชาตรีมากนัก บางคนอาจเคยเห็นละครรำที่มีการจัดแสดงอยู่ที่ศาลหลักเมือง หรือศาลพระพรหมเอราวัณ กรุงเทพฯ โดยจัดแสดงเป็นตอนสั้นๆ ซึ่งก็คือ ละครชาตรี หรือที่เรียกกันว่า ละครแก้บน นั่นเอง
ละครชาตรีเป็นศิลปะการแสดงของไทยที่ใช้ผู้แสดงน้อย
ละครชาตรีเป็นศิลปะการแสดงของไทยที่ใช้ผู้แสดงน้อย
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป