การป้องกันกำจัดศัตรูอื่นๆ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 36
เล่มที่ ๓๖
เรื่องที่ ๑ มัสยิด
เรื่องที่ ๒ ละครชาตรี
เรื่องที่ ๓ เกวียน
เรื่องที่ ๔ ทองคำ
เรื่องที่ ๕ มะคาเดเมีย
เรื่องที่ ๖ หุ่นยนต์
เรื่องที่ ๗ แอนิเมชัน
เรื่องที่ ๘ โรคมาลาเรีย
เรื่องที่ ๙ โรคไต
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓๖ / มะคาเดเมีย / การป้องกันกำจัดศัตรูอื่นๆ

 การป้องกันกำจัดศัตรูอื่นๆ
การป้องกันกำจัดศัตรูอื่นๆ

หนูที่เป็นศัตรูของมะคาเดเมียมี ๕ ชนิด คือ หนูพุกใหญ่ (bandicota indica) หนูพุกเล็ก (bandicota savilei) หนูท้องขาวบ้าน (rattus rattus) หนูจี๊ด (R.exulans) และหนูใหญ่ (E.argentiventer) หนูเริ่มเข้าทำลายผลเมื่อผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว และยังนำผลเข้าไปกินในรังหรือที่อื่นๆ
ผลมะคาเดเมียที่แก่ใกล้เก็บเกี่ยว ถูกหนูและกระรอกกัดแทะ
ผลมะคาเดเมียที่แก่ใกล้เก็บเกี่ยว ถูกหนูและกระรอกกัดแทะ
การป้องกันกำจัดโดยการใช้สารกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า ชนิดที่หนูกินครั้งเดียวตาย ได้แก่ โบรไลฟาคูม (พลีแร็ก 0.005 % หรือสะตอม 0.005 %) ชนิดก้อนขี้ผึ้ง หนักก้อนละ ๕ กรัม โดยวางใส่ในท่อพีวีซีที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๙ เซนติเมตร และยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ท่อละ ๓ ก้อน ในบริเวณโคนต้นทุกๆ ๓ ต้นต่อ ๑ ท่อ โดยปฏิบัติตั้งแต่มะคาเดเมียเริ่มออกดอก จนกระทั่งเก็บเกี่ยว ในทุกๆ ๑๐ วันให้ทำการตรวจแต่ละจุด และเติมสารกำจัดหนูเท่ากับจำนวนที่หนูกินไป
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป