ประเภทของแอนิเมชัน
แอนิเมชันแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
แอนิเมชันแบบภาพสองมิติ
แอนิเมชันรูปแบบนี้จะเน้นการใช้วิธีวาดเป็นหลัก
โดยแอนิเมชันที่ใช้มือวาดในยุคแรกๆ นั้นเรียกว่า แอนิเมชันใช้แผ่นใส (cel
animation) เป็นการ์ตูนแบบดั้งเดิมที่ใช้การวาดและระบายสีตัวละครต่างๆ
รวมทั้งฉากหลัง (background) ลงบนแผ่นใส (cel)
และเมื่อนำแผ่นใสแต่ละแผ่นมาซ้อนกัน แล้วถ่ายภาพแผ่นใสนั้นๆ
โดยใช้กล้องถ่ายภาพที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ ก็จะได้ภาพการ์ตูน ๑
ภาพ ที่ประกอบไปด้วยตัวละครและฉาก
การเคลื่อนไหวของภาพเกิดจากการวาดภาพหลักแสดงอิริยาบถหลัก ที่เคลื่อนไหว
หลังจากนั้น ผู้วาดช่วงกลางจะวาดภาพระหว่างภาพหลักอีกเป็นจำนวนมาก
เพื่อให้การเคลื่อนไหวจากอิริยาบถหนึ่ง ไปยังอีกอิริยาบถหนึ่ง
เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ราบรื่น และไม่เกิดการกระตุก
ในอดีตการวาดภาพทั้งหมดนี้ ต้องวาดและลงสี โดยผู้วาดที่ชำนาญ
และต้องใช้เวลาในการวาดนานมาก ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์การ์ตูนความยาว ๑๐
นาที ต้องใช้ภาพวาด สำหรับบันทึกลงบนแผ่นฟิล์มทีละกรอบภาพเป็นจำนวน ๒๔
ภาพในทุกๆ ๑ วินาที ซึ่งรวมแล้วต้องใช้ภาพถึง ๑๔,๔๐๐ ภาพ
โดยทั่วไปการสร้างภาพวาดแต่ละภาพจะใช้แผ่นใสมากกว่า ๑ แผ่น ดังนั้น
การวาดภาพลงบนแผ่นใสย่อมต้องใช้มากขึ้นไปอีก ถ้าโดยเฉลี่ยภาพวาด ๑
ภาพต้องใช้แผ่นใสโดยเฉลี่ยประมาณ ๓ แผ่น
(แผ่นใสแต่ละแผ่นสำหรับตัวละครที่เคลื่อนไหวแต่ละตัว
ไม่รวมภาพฉากหลังซึ่งเป็นภาพนิ่ง) ดังนั้น
ผู้วาดภาพต้องวาดภาพลงบนแผ่นใสรวมทั้งสิ้น ๔๓,๒๐๐ แผ่น |
การวาดภาพลงบนแผ่นใส เป็นกระบวนการของการจัดทำแอนิเมชันแบบภาพสองมิติ |
นอกจากแอนิเมชันใช้แผ่นใสแบบที่ใช้การวาดภาพแล้ว
การใช้กระดาษตัดแปะ
(paper cut) โดยการตัดกระดาษเป็นภาพ มาแปะลงบนแผ่นใส แทนการวาดภาพ
ก็จัดเป็นแอนิเมชันแบบภาพสองมิติด้วยเช่นกัน |
การวาดภาพลงบนแผ่นใส เป็นกระบวนการของการจัดทำแอนิเมชันแบบภาพสองมิติ |
ปัจจุบัน การสร้างแอนิเมชันแบบภาพสองมิติ ได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย
ซึ่งจะใช้โปรแกรม ที่ออกแบบมาให้ใช้ร่วมกับอุปกรณ์พิเศษ
เพื่ออำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้วาดภาพหลัก ผู้วาดภาพช่วงกลาง และผู้ลงสี
เพื่อสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โปรแกรมหลักๆ
ในการทำแอนิเมชันที่แพร่หลายในขณะนี้คือ Flash และ After effects |
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ช่วยให้การวาดการ์ตูนแบบแอนิเมชันใช้แผ่นใสทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
โดยที่นักวาดการ์ตูนสามารถวาดบนแผ่นใสหรือกระดาษ แล้วกราดภาพ (scan)
เข้าไปในคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมกราดภาพ
หรือจะวาดภาพบนคอมพิวเตอร์โดยใช้อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
เพื่อให้นักวาดการ์ตูนสามารถใช้โปรแกรมวาดภาพด้วยคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง
ส่วนวิธีการลงสีสามารถทำได้ ทั้งการลงสีบนแผ่นใส หรือกระดาษ
แล้วกราดภาพเข้าคอมพิวเตอร์
หรือการลงสีบนคอมพิวเตอร์โดยตรงผ่านอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
แต่โดยทั่วไป การสร้างการ์ตูนด้วยคอมพิวเตอร์นิยมใช้ร่วมกันทั้ง ๒ วิธี
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความซับซ้อนของภาพ
สำหรับภาพบางประเภทโดยเฉพาะฉาก
การวาดภาพฉากบนแผ่นใสหรือกระดาษย่อมได้ภาพที่สวยงามกว่าการวาดด้วยคอมพิวเตอร์
อีกทั้งฉากเหล่านี้แทบจะไม่มีการเคลื่อนไหว แต่การทำให้ภาพเคลื่อนไหว
เมื่อภาพหลักอยู่บนคอมพิวเตอร์แล้ว สามารถทำได้สะดวกขึ้น
นอกจากนี้การให้ผู้วาดภาพช่วงกลางและผู้ลงสีหลายคน ทำงานพร้อมๆ กัน
สามารถทำได้ง่ายบนคอมพิวเตอร์
และการตรวจสอบการเคลื่อนไหวของภาพก็ทำได้สะดวก
ดังนั้นการ์ตูนแอนิเมชันใช้คอมพิวเตอร์ (computer animation)
จึงได้พัฒนาไปอย่างมาก จนแทบจะเรียกได้ว่า
ภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันล้วนใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการผลิตแทบทั้งสิ้น |
การวาดภาพการ์ตูนแบบแอนิเมชัน ด้วยคอมพิวเตอร์ |
แอนิเมชันแบบภาพสามมิติ
เมื่อกล่าวถึงแอนิเมชันแบบภาพสามมิติ โดยทั่วไปจะหมายถึง
การสร้างการ์ตูนด้วยคอมพิวเตอร์ หรือแอนิเมชันใช้คอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม
ยังมีแอนิเมชันแบบภาพสามมิติอีกชนิดหนึ่ง
ที่สร้างจากการปั้นแบบจำลองสามมิติด้วยดินน้ำมันหรือดินเหนียว จึงเรียกว่า
แอนิเมชันแบบดินปั้น (clay animation)
โดยนักปั้นจะปั้นแบบจำลองและฉากในอิริยาบถหนึ่ง พร้อมทั้งระบายสีตามต้องการ
แล้วจึงบันทึกภาพลงบนแผ่นฟิล์มหรือระบบฟิล์มดิจิทัล
หลังจากนั้น ตัวแบบจำลองจะถูกปรับเปลี่ยนท่าทาง ซึ่งแสดงถึงการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย
พร้อมทั้งทำการบันทึกการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยอย่างต่อเนื่อง
เมื่อนำแผ่นฟิล์มนั้นมาฉายด้วยอัตราเร็วที่เหมาะสม
ก็จะได้ภาพเคลื่อนไหวตามต้องการ
|
การปั้นดินน้ำมันหรือดินเหนียว เป็นแบบจำลองสามมิติ
แล้วระบายสีก่อนบันทึกภาพบนแผ่นฟิล์ม และบันทึกการเคลื่อนไหว
เป็นการสร้างแอนิเมชันแบบดินปั้น |
การสร้างแอนิเมชันแบบดินปั้นมีขั้นตอนเช่นเดียวกับแอนิเมชันใช้แผ่นใส
แต่แตกต่างกันเพียงแบบจำลองแอนิเมชันใช้แผ่นใส เกิดจากการวาดภาพลงบนแผ่นใส
ซึ่งเป็นภาพสองมิติ ในขณะที่แอนิเมชันแบบดินปั้นนั้น แบบจำลองคือ
รูปปั้นดินน้ำมัน หรือดินเหนียว ซึ่งเป็นแบบจำลองสามมิติ
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสร้างแอนิเมชันแบบภาพสามมิติเป็นการประยุกต์ใช้ศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์
(computer graphics) ซึ่งประกอบด้วยเทคนิคย่อยๆ อีกหลายแขนง เช่น
การสร้างแบบจำลองสามมิติ (three-dimensional modelling) การให้แสง-เงา
(shading) การลงลายผิวภาพ (texture mapping) การควบคุมการเคลื่อนที่
(motion control) ความพร่าเหตุเคลื่อนที่ (motion blur)
การเปลี่ยนรูปและการแปลงร่าง (warping and morphing) การสร้างภาพกราฟิกส์
(rendering) และการสร้างเสียงประกอบ (sound effects) |