สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 4
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๔ / เรื่องที่ ๑ การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต / สำหรับเด็กระดับเล็ก
สำหรับเด็กระดับเล็ก
ฟังเสียงอ่าน =>
สิ่งมีชีวิตหลายชนิด
มีแสงออกมาจากตัวของมันเอง ตัวอย่างที่รู้จักกันดี ได้แก่
แมลงที่เรียกว่า หิ่งห้อย
ในเวลาค่ำ และมืดสนิท
เราอาจเห็นแสงจากหิ่งห้อยเพียงตัวเดียว ได้ไกลถึงหลายเมตร
ที่สวยงามมากก็คือ แสงที่มาจากฝูงหิ่งห้อย ที่เกาะอยู่
บนต้นไม้ริมน้ำ เช่น ต้นลำพู |
|
มีนิยายเล่ากันว่า
พระยาหิ่งห้อยหลงรักลูกสาวพระยาลำพู จึงยกพวกมาเป็นขบวน ประดับไฟสวยงาม
เพื่อมาขอเจ้าสาว แต่ความจริงแล้ว หิ่งห้อยทั้งตัวผู้
และตัวเมีย จะเปล่งแสงได้ |
หิ่งห้อยมักชอบเกาะต้นไม้ริมน้ำ
เพราะมันจะวางไข่ตามที่ชื้นแฉะ และตัวอ่อนของมันเป็นหนอน
ที่อาศัยในดินในเลน จับสัตว์เล็กๆ กินเป็นอาหาร เมื่อหนอนโตเต็มที่
ก็จะกลายเป็นดักแด้
ต่อมาดักแด้ฟักเป็นแมลงปีกแข็ง |
บางครั้งจะมีแสงที่ปรากฏในที่มืด
และมักจะทำให้คนหวาดกลัว เช่นแสงวูบวาบตามพื้นดิน ที่สกปรกชื้นแฉะ
ซึ่งคนไทยเชื่อกันว่าเป็น ผีกระสือ
ที่ออกหากินสิ่งสกปรกในเวลาค่ำ
ความจริงแล้วแสงที่เห็น เป็นแสงที่เปล่งออกมา จากจุลินทรีย์บางชนิด
ซึ่งเรืองแสงได้ จุลินทรีย์เหล่านี้ เจริญอยู่ในที่สกปรก
ตามซากของสิ่งมีชีวิต แต่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
เนื่องจากจุลินทรีย์มีขนาดเล็ก จึงทำให้เข้าใจว่า ซากของสิ่งที่มีชีวิต
และสิ่งสกปรกเหล่านั้นเรืองแสงได้ |
|
นอกจากเรื่องหิ่งห้อย
และจุลินทรีย์ที่พบบนบกเสมอแล้ว ในทะเลก็มีสัตว์หลายชนิด
ที่เรืองแสงสีต่างๆ กัน
สัตว์เหล่านี้มีหลาย
ขนาด ตั้งแต่สัตว์ที่มีขนาดเล็ก
จนไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเปล่าขึ้นมาจนถึงสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ปลา |
|