สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 4
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๔ / เรื่องที่ ๕ ปรากฏการณ์ของอากาศ / สำหรับเด็กระดับกลาง (๑๒ -๑๔ ปี)
สำหรับเด็กระดับกลาง (๑๒ -๑๔ ปี)
ปรากฏการณ์ของอากาศต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในวันใดวันหนึ่งนั้น
เรียกว่า "กาลอากาศ"
ถ้าวันใดมีฝนตกหนักหรือมีลมพัดแรง
ก็เป็นกาลอากาศของวันนั้น
ส่วนในวันอื่นๆ นั้นกาลอากาศอาจจะร้อนหรืออบอ้าวก็ได้
เราคงได้ยินคำว่า
ดินฟ้าอากาศ หรือภูมิอากาศมาแล้ว
ดินฟ้าอากาศ หรือภูมิอากาศ
หมายถึง ปรากฏการณ์ของอากาศ
หรือกาลอากาศเฉลี่ยของบริเวณ
หรือสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งเป็นระยะเวลานานๆ
ตั้งแต่ ๓๐ หรือ ๓๕ ปีขึ้นไป ดังเช่นภูมิอากาศในภาคกลางของประเทศไทยแห้งแล้งตั้งแต่เดือน พฤศจิกายนถึงเดือนเมษายนมาแล้วเป็นเวลานานหลายสิบปี
แต่ทว่ากาลอากาศของวันใดวันหนึ่งอาจจะไม่เหมือนลักษณะอากาศเฉลี่ย
หรือภูมิอากาศ (climatology) ก็ได้ สิ่งที่บังคับภูมิอากาศมีอยู่หลายอย่าง
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ
อุณหภูมิ
และปริมาณของฝนที่ตกในปีหนึ่งๆ
สิ่งที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ของอากาศหรือกาลอากาศ
การที่จะเกิดฝนตก
พายุ หรือเมฆเต็มท้องฟ้านั้น
จำต้องมีหลายสิ่งหลายอย่างรวมกันเป็นต้นเหตุ
สิ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ของอากาศ มี
๔ อย่างด้วยกัน คือ
๑. ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นลูกไฟดวงใหญ่
(ดูเรื่องเกี่ยวกับดวงอาทิตย์)
ดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่ให้ความร้อนแก่โลก
ซึ่งมีทั้งพื้นดิน และพื้นน้ำความร้อนจากดวงอาทิตย์เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ
ของอากาศ
๒. โลกของเรา หมุนรอบตัวเอง
ทำให้เกิดกลางวันซึ่งร้อน
และเกิดกลางคืนซึ่งเย็นกว่า
นอกจากนี้แล้ว โลกยังโคจรรอบดวง | |