ลมภูเขาและลมหุบเขา - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 4
เล่มที่ ๔
เรื่องที่ ๑ การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต
เรื่องที่ ๒ การหายใจ
เรื่องที่ ๓ ความสมดุลของของเหลวในร่างกาย
เรื่องที่ ๔ ไวรัส
เรื่องที่ ๕ ปรากฏการณ์ของอากาศ
เรื่องที่ ๖ ภูมิอากาศ
เรื่องที่ ๗ รถไฟ
เรื่องที่ ๘ การศาสนา
เรื่องที่ ๙ การต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์
เรื่องที่ ๑๐ ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๔ / เรื่องที่ ๕ ปรากฏการณ์ของอากาศ / ลมภูเขาและลมหุบเขา

 ลมภูเขาและลมหุบเขา
ลมภูเขาและลมหุบเขา

ตามบริเวณภูเขาในขณะที่มีระบบลมอ่อน ลมมักจะพัดลงตามลาดของภูเขาในเวลากลางคืน และพัดขึ้นลาดภูเขาในเวลากลางวัน ทั้งนี้เพราะในเวลากลางคืนตามบริเวณภูเขาที่ระดับสูง มีอากาศเย็นกว่าตามที่ต่ำ ความแน่นของอากาศในที่สูง จึงมีมากกว่าในระดับต่ำ ลมจึงพัดลงตามเขา เราเรียกลมนี้ว่า ลมภูเขา (mountain wind or mountain breeze)

ลมภูเขา เกิดขึ้นในเวลากลางคืน
ลมภูเขา เกิดขึ้นในเวลากลางคืน

ส่วนในเวลากลางวัน ดวงอาทิตย์แผ่รังสีให้แก่ภูเขา และหุบเขา ทำให้อุณหภูมิของระดับสูง หรือยอดเขาสูงกว่าอุณหภูมิตามที่ต่ำ หรือหุบเขา ความแน่นของอากาศในระดับสูงจึงน้อยกว่า และลอยตัวสูงขึ้น ฉะนั้นอากาศจากที่ต่ำ หรือหุบเขาจึงพัดขึ้นไปแทนที่ เราเรียกว่า ลมหุบเขา (valley wind or valley breeze) ตามธรรมดาแล้วลมภูเขา (พัดลง) ย่อมมีความแรงกว่าลมหุบเขา (พัดขึ้น)

ลมหุบเขา เกิดขึ้นในเวลากลางวัน
ลมหุบเขา เกิดขึ้นในเวลากลางวัน
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป