ลมกรด - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 4
เล่มที่ ๔
เรื่องที่ ๑ การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต
เรื่องที่ ๒ การหายใจ
เรื่องที่ ๓ ความสมดุลของของเหลวในร่างกาย
เรื่องที่ ๔ ไวรัส
เรื่องที่ ๕ ปรากฏการณ์ของอากาศ
เรื่องที่ ๖ ภูมิอากาศ
เรื่องที่ ๗ รถไฟ
เรื่องที่ ๘ การศาสนา
เรื่องที่ ๙ การต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์
เรื่องที่ ๑๐ ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๔ / เรื่องที่ ๕ ปรากฏการณ์ของอากาศ / ลมกรด

 ลมกรด
ลมกรด

ลมกรด คือ แนวกระแสลมซึ่งมีความเร็วประมาณ ๒๐๐ ถึง ๔๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง แนวกระแสลมกรดนี้ โดยมากพัดจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก และเป็นแนวโค้งคดเคี้ยวคล้ายๆ กับแม่น้ำโค้ง (meandering rivers) กระแสลมกรดส่วนมากอยู่ในระดับสูง ระหว่าง ๓ ถึง ๑๒ กิโลเมตร (ส่วนมากอยู่ประมาณ ๙ ถึง ๑๐ กิโลเมตร) แนวกระแสลม กรดจะมีความลึก หรือความหนาเป็นสิบๆ กิโลเมตร กว้างเป็นร้อยๆ กิโลเมตร ยาวเป็นพันๆ กิโลเมตร เกิดขึ้นในบริเวณละติจูด ๓๐ ถึง ๔๐ องศาเหนือ และพัดโค้งไปมาคล้ายแม่น้ำ จากละติจูดสูงไปละติจูดต่ำ หรือจากละติจูดต่ำไปละติจูดสูง

กระแสลมกรดมีความสำคัญต่อการบินมาก ได้มีการค้นพบกระแสลมกรดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ ซึ่งบิน และเห็นจุดหมายอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถไปใกล้จุดหมายนั้นได้ เนื่องจาก บินสวนทิศกับกระแสลมกรดอยู่เรื่อย ซึ่งทำให้ความเร็วกับพื้นดิน (ground speed) ของเครื่องบินลดลงไปมาก

สมมุติว่า เครื่องบินสามารถบินได้ด้วยความเร็ว ๘๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในอากาศซึ่งไม่มีลม ถ้าเครื่องบินนี้ กำลังบินตามกระแสลมซึ่งมีความเร็ว ๒๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะทำให้ความเร็วของเครื่องบินสูงขึ้นเป็น ๑,๐๐๐ (หรือ ๘๐๐+๒๐๐) กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ถ้าเครื่องบินสวนทางกับลมนี้ ความเร็วของเครื่องบินจะลดลงเหลือเพียง ๖๐๐ กิโลเมตร ต่อชั่วโมง เรื่องนี้เป็นปัญหาต่อความปลอดภัย และเศรษฐกิจของบริษัทการบินมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ อุตสาหกรรมการบินมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายแต่ละครั้ง ย่อมมีผลดีต่อเศรษฐกิจของบริษัทเป็นอย่างมาก เพราะค่าใช้จ่ายในการบินต่อชั่วโมงนั้นสูงมาก ถ้าบริษัทการบินสามารถประหยัดเวลาบินได้แต่ละครั้งแล้ว ในปีหนึ่งๆ สามารถจะประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความปลอดภัยได้มาก
หัวข้อก่อนหน้าหัวข้อถัดไป