พายุฟ้าคะนอง - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 4
เล่มที่ ๔
เรื่องที่ ๑ การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต
เรื่องที่ ๒ การหายใจ
เรื่องที่ ๓ ความสมดุลของของเหลวในร่างกาย
เรื่องที่ ๔ ไวรัส
เรื่องที่ ๕ ปรากฏการณ์ของอากาศ
เรื่องที่ ๖ ภูมิอากาศ
เรื่องที่ ๗ รถไฟ
เรื่องที่ ๘ การศาสนา
เรื่องที่ ๙ การต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์
เรื่องที่ ๑๐ ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๔ / เรื่องที่ ๕ ปรากฏการณ์ของอากาศ / พายุฟ้าคะนอง

 พายุฟ้าคะนอง
พายุฟ้าคะนอง

พายุฟ้าคะนองคือปรากฏการณ์ของอากาศซึ่งมีกระแสลมแรง ฟ้าแลบฟ้าร้อง และฝน ซึ่งเกิดขึ้นจากเมฆคิวมูโลนิมบัส เมฆพายุฟ้าคะนองมีลักษณะต่างกับเมฆคิวมูลัส ที่มีฝนในข้อที่ว่า พายุฟ้าคะนองมีทั้งฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และมีกระแสลมพัดขึ้นตาม แนวตั้งอย่างรุนแรง เมฆของพายุฟ้าคะนองส่วนมากมียอดแบน และแผ่ออกไปเป็น บริเวณกว้าง จนเป็นรูปร่างคล้ายรูปทั่ง (anvil shape) รูปทั่งนี้เป็นสัญลักษณ์ที่ชัดเจน แสดงว่าเป็นเมฆซึ่งมีชื่อว่า "คิวมูโลนิมบัส" อันเป็นลักษณะของเมฆพายุฟ้าคะนอง และยอดของเมฆนี้อาจจะสูงถึง ๒๐ กิโลเมตร (ดูภาพเมฆชนิดนี้ในตอนต้น) จากพื้นดิน ได้ พายุฟ้าคะนองมักจะเกิดขึ้น ในบริเวณอากาศร้อนและมีความชื้นมาก และอัตราเปลี่ยน ของอุณหภูมิตามความสูง (temperature lapse rate) มีค่าสูง ซึ่งจะได้อธิบายเพิ่มเติมต่อไป
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป