ลูกเห็บ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 4
เล่มที่ ๔
เรื่องที่ ๑ การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต
เรื่องที่ ๒ การหายใจ
เรื่องที่ ๓ ความสมดุลของของเหลวในร่างกาย
เรื่องที่ ๔ ไวรัส
เรื่องที่ ๕ ปรากฏการณ์ของอากาศ
เรื่องที่ ๖ ภูมิอากาศ
เรื่องที่ ๗ รถไฟ
เรื่องที่ ๘ การศาสนา
เรื่องที่ ๙ การต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์
เรื่องที่ ๑๐ ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๔ / เรื่องที่ ๕ ปรากฏการณ์ของอากาศ / ลูกเห็บ

 ลูกเห็บ
ลูกเห็บ

ลูกเห็บคือน้ำฟ้าที่เป็นของแข็งมีรูปร่างกลมๆ รูปคล้ายกรวยหรือรูปอื่น ลูกเห็บ เกิดจากเมฆคิวมูโลนิมบัสขนาดใหญ่เท่านั้น ซึ่งเป็นเมฆพายุฟ้าคะนองอย่างรุนแรงนั่นเอง ฝนซึ่งเกิดการแข็งตัวนี้ลอยขึ้นๆ ลงๆ หลายครั้งในเมฆคิวมูโลนิมบัส ขณะที่เม็ดฝนซึ่ง แข็งตัวลอยขึ้นลงนี้ผ่านเม็ดน้ำซึ่งเย็นกว่า ๐°ซ. (supercooled water droplets) ก็จะทำให้ เม็ดน้ำซึ่งเย็นกว่า ๐°ซ. เกาะตัวลงบนเม็ดฝนที่แข็งตัวนั้นเป็นชั้นๆ คล้ายกับรูปตัดของ หัวหอม

ตามธรรมดาลูกเห็บมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๕ มิลลิเมตร ขึ้นไปและอาจจะใหญ่ ถึง ๑๔๐ มิลลิเมตรได้ ลูกเห็บที่ใหญ่ที่สุด ที่เคยตรวจพบ มีน้ำหนัก ๗๖๖ กรัม ความ ถ่วงจำเพาะเฉลี่ยของ ลูกเห็บทั่วไปมีประมาณ ๐.๘ ซึ่งเบากว่าน้ำธรรมดา

แสดงการเกิดของลูกเห็บโดยสังเขปและหน้าตัดของลูกเห็บ
แสดงการเกิดของลูกเห็บโดยสังเขปและหน้าตัดของลูกเห็บ
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป