รถดีเซลราง - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 4
เล่มที่ ๔
เรื่องที่ ๑ การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต
เรื่องที่ ๒ การหายใจ
เรื่องที่ ๓ ความสมดุลของของเหลวในร่างกาย
เรื่องที่ ๔ ไวรัส
เรื่องที่ ๕ ปรากฏการณ์ของอากาศ
เรื่องที่ ๖ ภูมิอากาศ
เรื่องที่ ๗ รถไฟ
เรื่องที่ ๘ การศาสนา
เรื่องที่ ๙ การต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์
เรื่องที่ ๑๐ ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๔ / เรื่องที่ ๗ รถไฟ / รถดีเซลราง

 รถดีเซลราง
รถดีเซลราง

ประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๐ การรถไฟไทยได้นำเอารถโดยสารโบกี้ขับเคลื่อนด้วยตนเอง โดยใช้เครื่องกลไอน้ำ เรียกว่า รถโบกี้กลไฟ มาใช้การ เป็นรถที่สร้างโดยบริษัทบอล์ดวิน แห่งสหรัฐอเมริกา มีลักษณะคล้ายคลึงกับรถจักรไอน้ำ แต่บรรทุกคนโดยสารได้ด้วย รถชนิดนี้กล่าวได้ว่า เป็นการแผ้วทางในการนำเอารถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองมาใช้การ คือ รถดีเซลรางแบบดีเซลไฟฟ้า ซึ่งนำมาใช้การใน พ.ศ. ๒๔๗๕ และต่อมาจนถึงปัจจุบัน เป็นรถดีเซลราง และดีเซลไฮดรอลิค รถดีเซลรางเหล่านี้เดิมที่นำมาใช้เดินรับส่งคนโดยสารในระยะทางใกล้ๆ โดยหยุดรับส่งคนโดยสารตามรายทาง ภายหลังต่อมาได้ใช้การเป็นขบวนรถชานเมือง โดยให้หยุดทุกสถานี และให้เป็นขบวนรถ ที่เดินทางในระยะไกลปานกลางระหว่างเมือง (inter city) อีกด้วย
รถดีเซลราง แบบรถโดยสารมีเครื่องขับเคลื่อนด้วยตัวเอง
รถดีเซลราง แบบรถโดยสารมีเครื่องขับเคลื่อนด้วยตัวเอง
รถดีเซลรางที่ใช้การในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นรถที่เรียกกันว่า ๒ คันชุด คือ ประกอบไปด้วย รถกำลัง ๑ คัน ขับเคลื่อนด้วยระบบดีเซลไฟฟ้าซึ่งติดตั้งอยู่บนรถส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเป็นห้องคนโดยสาร และมีห้องขับอยู่ตอนหัวรถที่นำทาง และพ่วงตามด้วยรถโดยสาร อีก ๑ คัน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ รถดีเซลรางได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น ทำให้มีสมรรถนะสูง และมีความคล่องตัวในการใช้งาน สามารถที่จะวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงกว่า ๘๐ กม./ชม. และสามารถที่จะเร่งความเร็วให้ถึงอัตราเร็วสูงสุดนี้ได้ ในระยะเวลาอันสั้น ตัวรถสามารถสร้างให้มีน้ำหนักเบาแต่มีกำลังเครื่องยนต์สูง นอกจากนี้รถดีเซลรางยังมีระบบ ห้ามล้อประสิทธิภาพสูง จึงทำให้สามารถห้ามล้อ เพื่อหยุดได้ในเวลารวดเร็ว เป็นการช่วยให้มีความคล่องตัวเพิ่มขึ้นอีก โดยปกติ เรานำเอารถดีเซลรางมาพ่วงต่อกันเข้าเป็นขบวน สำหรับวิ่งรับส่งผู้โดยสารในระยะใกล้ และหยุดรับส่งผู้โดยสารทุกสถานี มีบางคราว ที่นำไปใช้วิ่งบริการในระยะไกลปานกลางแทนขบวนรถโดยสาร ซึ่งลากจูงโดยรถจักร
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป