สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 5
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๕ / เรื่องที่ ๕ พืชหัว / มันเทศ
มันเทศ
มันเทศ
มันเทศเป็นพืชที่เป็นเถาเลื้อยราบไปบนพื้น ดิน
มีรากสะสมอาหารขยายใหญ่เรียกว่าหัว หัวมัน เทศมีคุณประโยชน์มาก
เพราะใช้เป็นอาหารของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี เราใช้มันเทศปรุงอาหารได้ทั้ง
คาวหวาน อาหารคาวได้แก่ แกงเลียง แกงคั่ว แกงกะหรี่ และแกงมัสมั่น เป็นต้น
อาหารหวาน ได้แก่ มันเทศต้มน้ำตาล มันเทศแกงบวด มันเทศ ทอด มันเทศเชื่อม
มันเทศกวน มันเทศฉาบ มันเทศรังนก และมันเทศเผา เป็นต้น หัวมันเทศ
มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง จึงใช้รับประทานแทนข้าวได้
นอกจากเป็นอาหารของมนุษย์แล้ว มันเทศ
ยังใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์ได้อีกด้วย เช่น เป็น อาหารหมู อาหารวัว
และอาหารแพะ เป็นต้น มันเทศใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ทั้งหัว เถา และใบ ทั้ง
ยังเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมได้หลายอย่าง เช่น ใช้ทำแป้ง ทำอัลกอฮอล์
ทำเหล้า และทำน้ำส้ม |

มันเทศเป็นพืชที่เป็นเถาเลื้อย |
มันเทศเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญอันดับที่
๕
ของโลกรองจากข้าวสาลี
ข้าวเจ้า ข้าวโพด และมันฝรั่ง ในประเทศไทยเราแม้จะปลูกมันเทศกันทั่วๆ ไป
แต่ไม่ใคร่เป็นล่ำเป็นสันเท่าใดนัก
เพราะเรามีข้าวเจ้าเป็นอาหารหลักอยู่แล้ว |
มันเทศนับว่าเป็นพืชที่เหมาะกับดินฟ้าอากาศของประเทศไทยอย่างยิ่ง
เพราะสามารถเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตของหัวค่อนข้างสูง มันเทศ
ปลูกได้ปีละ ๒ ครั้ง คือ ในฤดูฝนตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม
ถึงกลางเดือนมิถุนายน และอีกครั้งหนึ่งหลังฤดูฝน คือ ในราวเดือนกันยายน
ถึงพฤศจิกายน การปลูกมันเทศก็เริ่มจากการเตรียมดินไถและพรวน ๒-๓ ครั้ง
เสร็จแล้วยกร่องห่างกันประมาณ ๑ เมตร ความสูงของร่องประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
แล้วตัดเถามันเทศยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ฝังลงไปบน สันร่อง ห่างกันประมาณ
๕๐ เซนติเมตร จากนั้นก็พรวนดิน และกำจัดวัชพืช ถ้าไม่ได้ปลูกในฤดูฝน
ก็ต้องคอยรดน้ำ มันเทศจะทอดยอดงอกงาม เมื่อคอยต่อไป ๙๐-๑๕๐ วัน
หัวมันเทศก็จะแก่และขุดได้
|

มันเทศเป็นพืชที่เป็นเถาเลื้อย
|
ในปี
พ.ศ. ๒๕๑๖ ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ผลิตมันเทศได้รวมกัน ๑๓๓ ล้านตัน
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนผลิตได้มากที่สุด คือ ผลิตได้ ๑๑๑ ล้านตัน
บราซิล ๒.๓ ล้านตัน อินโดนีเซีย ๒.๑ ล้านตัน ญี่ปุ่น ๒ ล้านตัน
สาธารณรัฐเกาหลี ๑.๖ ล้านตัน สำหรับประเทศไทยในปีเดียวกันผลิตมันเทศเพียง
๒ แสน ๘ หมื่นตันเท่านั้น
|
ประเทศไทยเรา
มันเทศสามารถขึ้นงอกงามได้ทั่วทุกภาค
ภาคกลางผลิตมันเทศได้มากที่สุด ภาคเหนือได้น้อยที่สุด
ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ประมาณ ๑
ตันเศษ จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดที่มีเนื้อที่ปลูก
และผลผลิตสูงสุดในประเทศ รายละเอียด เกี่ยวกับเนื้อที่ปลูก
ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่เป็นราย ภาค และรายจังหวัด ดังแสดงในตารางต่อไปนี้
ตารางแสดงเนื้อที่ปลูก
และผลผลิตมันเทศรายภาค ปี พ.ศ. ๒๕๑๕
ภาค |
เนื้อที่ปลูก
(ไร่) |
ผลผลิต
(ตัน) |
ผลผลิตเฉลี่ย
(ตัน/ไร่) |
กลาง
เหนือ
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ใต้ |
๖๙,๒๑๕
๑๕,๓๑๐
๓๔,๕๕๔
๔๖,๐๕๕ |
๑๐๙,๘๔๐
๑๙,๖๖๑
๔๑,๗๖๒
๕๓,๙๓๑ |
๑,๖๐๗
๑,๒๙๓
๑,๒๕๕
๑,๑๘๐ |
รวมทั้งประเทศ |
๑๖๕,๑๓๔ |
๒๒๔,๑๙๔ |
๑,๗๘๖ |
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
ตารางแสดงเนื้อที่ปลูก ผลผลิต
และผลผลิตเฉลี่ยของมันเทศใน ๑๐ จังหวัด ที่ปลูกมากที่สุดในปี พ.ศ. ๒๕๑๕
อันดับ |
จังหวัด |
เนื้อที่ปลูก
(ไร่) |
ผลผลิต
(ตัน) |
ผลผลิตเฉลี่ย
(ตัน/ไร่) |
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐ |
นครศรีธรรมราช
พระนครศรีอยุธยา
สงขลา
นครปฐม
เพชรบุรี
เชียงใหม่
นครสวรรค์
ตรัง
เลย
ปทุมธานี |
๑๕,๒๒๘
๘,๔๐๗
๘,๓๐๐
๖,๙๑๑
๖,๔๗๑
๖,๐๐๖
๕,๙๔๗
๕,๖๐๕
๕,๐๒๕
๔,๘๙๐ |
๑๘,๘๔๒
๑๖,๕๒๔
๗,๔๒๐
๑๕,๒๐๔
๙,๗๐๕
๙,๑๓๐
๘,๖๗๙
๗,๒๒๐
๕,๐๗๐
๖,๑๑๒ |
๑.๒๔๓
๒.๐๐๐
๐.๙๐๐
๒.๒๐๐
๑.๕๐๐
๑.๕๒๐
๑.๕๐๐
๑.๓๒๙
๑.๒๐๐
๑.๒๕๐ |
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
ประวัติความเป็นมาของมันเทศ
มันเทศมีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่บริเวณเขตร้อนของทวีปอเมริกา
แต่มันเทศที่ปลูกกันอยู่ในปัจจุบัน
นักวิทยาศาสตร์ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่า มีวิวัฒนาการ มาจากพืชป่าชนิดใด
อย่างไรก็ดีมนุษย์ก็รู้จักปลูกมันเทศมานานนับพันปีแล้ว
ในสมัยโบราณนั้นมันเทศ เป็นอาหารหลักของมนุษย์สองเขต คือ พวกอินเดียน
ในอเมริกากลาง และบริเวณเทือกเขาแอนดีส ประเทศเปรู
พวกอินเดียนทั้งสองแหล่งนี้ปลูกข้าวโพด เพื่อใช้เป็นอาหารหลัก
และในขณะเดียวกันก็ปลูกมันเทศด้วย อีกเขตหนึ่ง คือ ชนเผ่าโพลิเนเชียนที่
อาศัยอยู่บนหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก และตอนเหนือของเกาะนิวซีแลนด์
เชื่อกันว่า มันเทศที่ชาวโพลิเนเชียนปลูกกันในสมัยก่อนนั้น
นำมาจากทวีปอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ หลังจากชาวยุโรปค้นพบทวีปอเมริกา
นักสำรวจชาวสเปน ได้นำมันเทศไปสู่ประเทศสเปน จากประเทศสเปน
ก็แพร่ต่อไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรป
ทางด้านเอเชีย ต้นมันเทศก็ถูกนำมายังอินเดีย ฟิลิปินส์ จีน
และญี่ปุ่น โดยนักสำรวจ สเปน และโปรตุเกส
สำหรับประเทศไทยไม่มีหลักฐานบันทึกว่า ได้มีการนำมันเทศเข้ามาปลูกในสมัยใด
แต่เข้าใจกันว่า
มีผู้นำมันเทศมาแพร่หลาย ในราวสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
เพราะมีเรือสำเภาไปมา ค้าขายระหว่างประเทศจีน พวกจีนคงจะได้นำติดมือมา
ตามนิสัยที่ไปอยู่ที่ไหน ก็หาพันธุ์พืชไปปลูกบริโภค
ในปัจจุบันมันเทศปลูกกันทั่วไปในประเทศไทย
แต่ส่วนใหญ่แหล่งปลูกเป็นจังหวัดในทางภาคกลาง จังหวัดที่ปลูกมาก ได้แก่
นครศรีธรรมราช พระนครศรีอยุธยา สงขลา นครปฐม เพชรบุรี เชียงใหม่ นครสวรรค์
ตรัง เลย และปทุมธานี
การจำแนกมันเทศทางพฤกษศาสตร์
มันเทศถูกลำดับทางพฤกษศาสตร์ดังนี้
วงศ์ (Family) Convolvulaceae
สกุล (Genus) Ipomoea
ชนิด (Species) batatas
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มันเทศมีชื่อภาษาจีนว่า
"ฮวงกั้ว"
ชาวพื้นเมืองในอเมริกาใต้
เรียกมันเทศว่า บาตาตาส์ ชาวยุโรปได้เอาสำเนียงชาวพื้นเมืองไปใช้
และเพี้ยนไปเป็น โพเตโต (potato) เนื่องจากมันมี ๒ ชนิด ด้วยกัน คือ
ชนิดหวาน และไม่หวาน ชนิดหวาน เรียกว่า สวีทโพเตโต (sweet potato) คือ
มันเทศ นั่นเอง ส่วนชนิดไม่หวานเรียกว่า ไอริชโพเตโต (Irish potato)
เราเรียกว่า มันฝรั่ง มันเทศมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า อิโพเมีย บาตาตาร์
(Ipomoea batatas) และอยู่ในวงศ์คอนโวลวูลาเซีย (Convolvulaceae)
พืชที่อยู่วงศ์นี้ จะพบมากในแถบเส้นศูนย์สูตร และภายใต้แถบศูนย์สูตร
มีลำต้นเป็นเถา หรือเป็นพุ่ม ตั้งตรง และมีจำนวนน้อย
ที่เป็นประเภทไม้ยืนต้น พืชพวกนี้อาจเจริญในที่แห้งแล้ง ในน้ำ
และอาจเป็นพวกตัวเบียน (parasite) โดยทั่วไปแล้วเมื่อใบหรือลำต้นเป็นแผล
พืชในวงศ์นี้จะให้น้ำยางสีขาว
สกุลที่สำคัญที่สุดของวงศ์คอนโวลวูลาเซียคือ อิโพเมีย
ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๔๐๐ ชนิด
แต่มีมันเทศเป็นพืชปลูกเพียงชนิดเดียว ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
โดยทั่วไปแล้ว สกุลอิโพเมีย เป็นพืชที่มีเถาพันคดเคี้ยวไปมา
หรือเลื้อยราบไปบนพื้นดิน และมีจำนวนน้อยที่เป็นพุ่มตั้งตรง
ราก
มันเทศมีระบบรากแบบรากฝอย ซึ่งเกิดจากข้อของลำต้นที่ใช้ปลูก
หรือเกิดจากลำต้น ที่ทอดไปตามพื้นดิน รากมันเทศจะเป็นที่สะสม
อาหารและใช้รับประทานได้
ใบ
เป็นแบบใบเดี่ยว เกิดสลับกันบนข้อของลำต้น มีขนาดและรูปร่างต่างกัน
ความแตกต่างของใบนั้นมิใช่เกิดจากพันธุ์เท่านั้น
แม้แต่ในต้นเดียวกันก็อาจมีรูปร่างแตกต่างกันได้ บางใบมีขอบใบเรียบ
บางใบมีใบเป็นแฉก และบางใบมีรูปร่างคล้ายหัวใจ เป็นต้น ใบมีขนเล็กน้อย
และมักจะมีสีม่วงอยู่ตามเส้นใบ ก้านใบอาจจะยาวหรือสั้น
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์นั้นๆ
|
ดอก
มันเทศที่ปลูกในเขตอบอุ่นมักไม่ออกดอก ส่วนการปลูกในเขตร้อนจะออกดอก
แต่มักไม่ติดเมล็ด ดอกเกิดตามมุมของใบ มีก้านช่อดอก (peduncle) แข็งแรง
ซึ่งมักจะยาวกว่าก้านใบ ดอกมีกลีบเลี้ยง (sepal) ๕ กลีบ
ซึ่งโดยปกติ จะแยกเป็นอิสระซึ่งกันและกัน หรืออาจเชื่อมติดกันที่โคน
กลีบดอก (petal) มี ๕ กลีบ กลีบดอกเหล่านั้นจะเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย
(corolla tube) มีลักษณะคล้ายดอกผักบุ้ง กลีบดอกมีสีชมพูปนม่วง
มีเกสรตัวผู้ (stamen) ๕ อัน และแยกเป็นอิสระซึ่งกันและกัน
ก้านชูอับเกสรตัวผู้เรียกว่า ก้านอับเกสร มีความยาวไม่เท่ากัน
และเชื่อมติดอยู่กับฐาน ของกลีบดอก รังไข่ มี ๒ ส่วน บางดอกอาจจะมี ๔ ส่วน
แต่ละส่วนจะมีไข่ ๑ หรือ ๒ ที่รับละอองเกสรตัวผู้ (stigma) มี ๒
แฉกอยู่ที่ก้าน (style) เชื่อมติดกับรังไข่ |

ลักษณะของดอกมันเทศ |
ผล
มีเปลือกแข็งหุ้ม มีลักษณะเป็นแคปซูล (capsule)
ภายในเปลือกแข็งมีเมล็ดเล็กสีดำค่อนข้างแบน ด้านหนึ่งของเมล็ดเรียบ
ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นเหลี่ยม
ทางด้านเรียบจะเห็นรอยที่เมล็ดติดกับผนังรังไข่เรียกว่า ไฮลัม (hilum)
และมีรูเล็กๆ เรียกว่า ไมโครไพล์ (micropyle) เปลือกของเมล็ดค่อนข้างหนา
และน้ำซึมผ่านได้ยาก |
หัว
มันเทศลงหัวในระดับความลึกไม่เกิน ๙ นิ้ว
หัวมันเทศเกิดจากการขยายตัวของราก ซึ่งเนื้อเยื่อภายในรากที่เรียกว่า
พาเรนไคมา (parenchyma) เป็นส่วนที่สะสมแป้ง รากที่ขยายตัวเป็นหัวขึ้นมา
อาจเกิดจากรากของลำต้นที่ใช้ปลูก
หรือจากรากที่เกิดจากข้อของลำต้นที่เลื้อยไปตามดินก็ได้
ดังนั้นมันเทศต้นหนึ่งๆ อาจมีหัวมากกว่า ๕๐ หัว
ลักษณะหัวส่วนมากมีรูปร่างทรงกระบอก ด้านหัวท้ายเรียว ตรงกลางป่องออก
สีผิวของหัวและสีของเนื้ออาจจะเป็นสีแดง เหลือง ขาว หรือสีนวล
แตกต่างกันไปตามพันธุ์ ผิวอาจจะเรียบหรือขรุขระ
และมักจะมีรากแขนงเกิดในร่องของหัว
หัวมันเทศนอกจากจะให้อาหารจำพวกแป้งแล้ว ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยวิตามิน เอ
(โดยเฉพาะหัวที่มีสีเหลือง) วิตามินบีและซีอีกด้วย
|

ลักษณะของหัวมันเทศ ซึ่งได้จากการสะสมอาหารในราก |
พันธุ์
พันธุ์มันเทศอาจแบ่งออกได้เป็น ๓ พวก ตามอายุ
๑. พันธุ์เบา อายุประมาณ ๙๐ วันหลังจากปลูกจนถึงเก็บหัว เช่น
พันธุ์กัวเตมาลา พม. ๐๒ นส. ๒๕ และโนนนาด เป็นต้น
๒. พันธุ์กลาง อายุประมาณ ๑๒๐ วัน หลังจากปลูกถึงเก็บหัว เช่น
พันธุ์ห้วยสีทน ๑ ไทจุง หัวโตแดง โอกุต และหัวโตขาว เป็นต้น
๓. พันธุ์หนัก อายุประมาณ ๑๕๐ วัน หลังจากปลูกถึงเก็บหัว เช่น พันธุ์
เซนเทเนียล (Centenial), L 89, L 4-116, L3-64
และโรสเซนเทเนียล (Rose Centenial) เป็นต้น
นอกเหนือจากพันธุ์ต่างๆ
ดังกล่าวแล้ว กรมวิชาการเกษตรก็ได้สั่งพันธุ์ต่างๆ จากต่างประเทศ
มาทดลองอยู่เรื่อยๆ เพื่อจะได้ศึกษา และทดลองว่า จะมีพันธุ์ใดที่ให้ผลดี
และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย
จากผลการทดลองได้แนะนำพันธุ์ที่ควรใช้ปลูกในประเทศไทย ๒ พันธุ์ คือ |

การเก็บหัวมันเทศรวมเป็นกองหลังจากที่ขุดแล้ว |
ผลผลิตของหัว หรือน้ำหนักหัวที่ได้นั้นขึ้น อยู่กับพันธุ์ ดินที่ใช้ปลูก
ฤดูปลูก และปัจจัยอื่นๆ เช่น การใส่ปุ๋ย และการให้น้ำ เป็นต้น
โดยทั่วไปแล้วพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์หัวสีขาวจะมีน้ำหนักหัว ประมาณ ๒
ตันต่อไร่ในฤดูแล้ง แต่ในฤดูฝนจะมีน้ำหนักหัวประมาณ ๘ ตันต่อไร่
พันธุ์หัวสีแดงจะมี น้ำหนักหัวต่ำกว่านี้ |
เราอาจเก็บมันเทศสดไว้ใช้ทำประโยชน์ได้ นานพอสมควร ถ้าเก็บไว้ในที่โปร่ง
ไม่อับลม และในที่มีอากาศเย็น เช่น ในห้องใต้ถุนบ้าน ควรใช้หัวที่เป็นแผล
และผิวชอกช้ำเสียก่อน
หลักที่ควรถือปฏิบัติ เพื่อให้หัวมันเทศเก็บไว้ได้นานไม่เสื่อมเสียเร็ว มี
๔ ประการ คือ
๑. มันเทศที่จะเก็บไว้ได้นาน ต้องขุดเมื่อหัวมันแก่เต็มที่ถึงขนาด
หัวอ่อนจะเน่าง่าย
๒. เวลาขุดต้องระมัดระวัง อย่าให้หัวมันช้ำ หรือมีบาดแผล
ถ้ามีบาดแผลจะเป็นทางนำเชื้อโรค ทำให้หัวเน่าง่าย
๓. ก่อนจะนำเข้าเก็บในที่เก็บรักษา ต้องผึ่งหัวมันให้แห้งสนิท
อย่าให้เปียกชื้น
๔. ในห้องที่เก็บหัวมันเทศต้องมีอากาศเย็นอยู่เสมอ อย่าให้ร้อนจัด
หรือเย็นจัดจนเกินไป อุณหภูมิที่ใช้ประมาณ ๑๐-๑๕ องศาเซลเซียส
อุณหภูมิเช่นนี้ช่วยเก็บหัวได้นานถึง ๓ ปี โดยหัวไม่งอก และแตกตาออกมา
ถ้าไม่ต้องการเก็บหัวสด จะทำเป็นแบบตากแห้งก็ได้ ฝานหัวเป็นแว่นบางๆ
ตากให้แห้งสนิท และนึ่งบริโภคเมื่อต้องการ | 
ลักษณะของหัวมันเทศที่แก่เต็มที่ |
ประโยชน์
หัวมันเทศมีแป้ง โปรตีน ไขมัน และวิตามินต่างๆ
ค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงใช้เป็นอาหาร มนุษย์และสัตว์ได้เป็นอย่างดี
คุณค่าอาหารของหัวมันเทศ และยอดอ่อน เมื่อมีน้ำหนัก ๑๐๐ กรัม
จะมีคุณค่าดังต่อไปนี้
คุณค่าทางอาหาร ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างหัว และยอดอ่อนแล้ว
จะเห็นได้ว่ายอดอ่อนนั้นมีคุณ ค่าทางอาหารมากกว่าหัวเกือบทุกรายการ ยกเว้น
ปริมาณแป้ง และแคลอรีของแรงงานที่ให้ ดังนั้น
จึงใช้รับประทานเป็นผักหรือเลี้ยงสัตว์ได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ที่ได้จากหัวมันเทศ อาจจำแนกได้ดังนี้
๑. ใช้ทำเป็นของคาว เช่น แกงเลียง แกงคั่ว แกงกะหรี่ และแกงมัสมั่น เป็นต้น
๒. ใช้ทำเป็นของหวาน เช่น แกงบวดมัน ทอดรังนก ฉาบ เชื่อม กวน ต้มน้ำตาล
และมันปิ้ง เป็นต้น
๓. ใช้ในอุตสาหกรรมการกลั่นสุรา
๔. ใช้เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสุกร ให้มันเทศอย่างเดียว
หรือผสมกับอาหารอื่นก็ได้
นอกจากหัวแล้ว
ยอดมันเทศยังใช้รับประทานแทนผัก และใช้เลี้ยงสัตว์ได้เป็นอย่างดี
บางแห่งปลูกมันเทศ เพื่อใช้เลี้ยงสุกรโดยเฉพาะ คือ เมื่อมันเทศทอดยอด
และลงหัวดีแล้วก็ปล่อยสุกรลงไปกินยอด ใบ และขุดหัวกินเอง |
|