ลักษณะลำต้นของแห้ว
|
การเลือกที่และการเตรียมดิน
แห้วขึ้นได้ในดินเหนียวหรือดินร่วน pH๖.๙-๗.๓ ขึ้นได้ในที่ราบ
จนถึงที่สูงถึง ๑,๒๐๐ เมตร เตรียมดินโดยทำการไถพรวนให้ดินร่วนดี
กำจัดวัชพืชให้หมด เหมือนการเตรียมดินปลูกข้าว |
การให้น้ำ
หลังจากปลูกแห้วแล้ว
ทดน้ำเข้าให้ท่วมแปลง เป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง
แล้วปล่อยให้ระบายออกเมื่อต้นแห้วสูงประมาณ ๒๐-๓๐ ซม.
ทดน้ำเข้าให้ระดับน้ำสูงประมาณ ๑๐-๑๕ ซม.
เมื่อต้นแห้วสูงขึ้นเพิ่มน้ำขึ้นเรื่อยๆ จนแห้วสูงประมาณ ๕๐-๖๐ ซม. ให้น้ำ
๒๕-๓๐ ซม. จนตลอดฤดูปลูก |
ลักษณะของต้นแห้วที่เจริญเติบโตเต็มที่ |
การกำจัดวัชพืช
ถ้าได้เตรียมดิน
และกำจัดวัชพืชอย่างดีแล้ว ก่อนปลูกเกือบจะไม่ต้องกำจัดวัชพืช
ในต่างประเทศใช้สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช เช่น ๒, ๔-D
กสิกรไทยยังไม่มีการใช้สารเคมีดังกล่าว จะกำจัดด้วยแรงงาน หรือไม่กำจัดเลย
|
ต้นแห้วที่ปลูกอยู่ในแปลงใหญ่ |
การใส่ปุ๋ย
การปลูกแห้วในต่างประเทศ ใส่ปุ๋ยผสมเกรดสูงๆ ในอัตรา ๔๐๐ กิโลกรัมต่อไร่
ครึ่งหนึ่งใส่ก่อนปลูก อีกครึ่งหนึ่งหลังปลูก ๘-๑๐ สัปดาห์
วิธีใส่ปุ๋ยครั้งนี้ ใช้วิธีหว่านเหมือนใส่ปุ๋ยในนาข้าว
ถ้าปล่อยน้ำให้แห้งก่อนได้ก็ดี หว่านปุ๋ยแล้ว ปล่อยน้ำเข้า
|
โรคและแมลง
โรคและแมลงที่ร้ายแรงไม่มี
แมลงที่พบเสมอ ได้แก่ ตั๊กแตน เพลี้ยไฟ ถ้าปลูกในดินที่เป็นกรด คือ pH ๕.๕
มักเกิดโรคซึ่งเกิดจากเชื้อรา ศัตรูที่พบนอกจากโรคแมลงได้แก่ ปู และปลากัด
กินต้นอ่อน
การเก็บหัวและรักษา
แห้วมีอายุประมาณ
๗-๘ เดือน เมื่อแห้วเริ่มแก่ คือ ใบเหี่ยวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และสีน้ำตาล
ผิวนอกของหัวเป็นสีน้ำตาลไหม้ แสดงว่า เริ่มทำการเก็บได้
ประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ระยะเดียวกันกับเก็บเกี่ยวข้าว
เก็บแห้ว โดยปล่อยน้ำออก ก่อนถึงเวลาเก็บ ๓-๔ สัปดาห์เพื่อให้ดินแห้ง
เก็บโดยขุด แล้วล้างหัว ผึ่งให้แห้ง ถ้าปลูกมากอาจเก็บโดยใช้ไถ ไถลึกประมาณ
๑๕ ซม. พลิกหัวขึ้นมาแล้วเลือกหัวแห้วล้างน้ำ
สำหรับรายที่ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ ซึ่งได้แก่
การปลูกในจังหวัดสุพรรณบุรี ต้องเก็บแห้วโดยการใช้มือลงไป
งมขึ้นมาเรียกว่า "งมแห้ว"
ในต่างประเทศผลผลิตหัวแห้วสดประมาณ ๓.๒-๖.๔ ตันต่อไร่
สำหรับประเทศไทยผลผลิตประมาณ ๓-๔ ตันต่อไร่ หรือประมาณ ๓๐๐ ถัง ขนาดของหัว
๓-๓.๕ ซม. |
ต้นแห้วก่อนเก็บเกี่ยวซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง |
หัวแห้วสามารถเก็บรักษาไว้ได้ โดยตากให้แห้ง
บรรจุในภาชนะที่รักษาความชื้นได้ หรือเก็บในอุณหภูมิ ๑-๔
องศาเซลเซียสได้นานกว่า ๖ เดือนขึ้นไป
กสิกรสามารถเก็บรักษาหัวแห้วไว้ได้เอง โดยเก็บในภาชนะปิดสนิท เช่น ตุ่ม
ลังไม้ หรือทรายแห้งสนิท เก็บได้นานประมาร ๖ เดือน ถ้าอยู่ในอุหณภูมิ ๑๔
องศาเซลเซียส หัวแห้วจะงอก
ประโยชน์
หัวแห้วประกอบด้วยส่วนที่กินได้ร้อยละ
๔๖ ส่วนที่เป็นของแข็งประมาณร้อยละ ๒๒ ในจำนวนนี้เป็นโปรตีนร้อยละ ๑.๔
คาร์โบไฮเดรต และเส้นใยต่ำกว่าร้อยละ ๑
จากการวิเคราะห์หัวแห้วสดประกอบด้วย : ความชื้นร้อยละ ๗๗.๙ โปรตีนร้อยละ
๑.๕๓ ไขมันร้อยละ ๐.๑๕ ไนโตรเจนร้อยละ ๑๘.๙ น้ำตาลร้อยละ ๑.๙๔
ซูโครสร้อยละ ๖.๓๕ แป้งร้อยละ ๗.๓๔ เส้นใยร้อยละ ๐.๙๔ เถ้าร้อยละ
๑.๑๙ แคลเซียม ๒-๑๐ มิลลิกรัมต่อ ๑๐๐ กรัม ของส่วนที่กินได้ ฟอสฟอรัส
๕๒.๒-๖๕ มิลลิกรัม เหล็ก ๐.๔๓-๐.๖ มิลลิกรัม ไทอามีน ๐.๒๔ มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน ๐.๐๐๗ มิลลิกรัม กรดแอสโคบิก (ascobic acid) ๙.๒ มิลลิกรัม |
ลักษณะของหัวแห้วที่วางขาย |
แป้งที่ได้จากหัวแห้วมีลักษณะคล้ายคลึงกับแป้งจากมันเทศ
หรือมันสำปะหลัง และมีขนาดใหญ่จนถึง ๒๗ ไมครอน
น้ำที่สกัดจากหัวแห้ว ประกอบด้วยสารปฏิชีวนะ |