สำหรับการเจาะหัว
(coring) นั้นจะเจาะเอา เฉพาะตายอดออก โดยใช้ที่เจาะจุกไม้ค็อก หรือมีดคว้านผลไม้ คว้านหัวให้เป็นช่องกว้างราว ๑/๓
นิ้ว การทำเช่นนี้ จะทำให้ตาข้างเจริญเป็นหัวขึ้น ในระหว่างกาบใบ |
 การเจาะหัวว่านสี่ทิศเพื่อทำลายตายอด |
สิ่งสำคัญในการขยายพันธุ์โดยวิธีตัดฐานของ หัวก็คือ
การเน่าของหัวที่เกิดจากเชื้อรา ฉะนั้นจึง
ต้องระมัดระวังความสะอาดเป็นพิเศษ เช่น เครื่อง
มือที่ใช้จะต้องจุ่มอัลกอฮอล์ หัวที่ใช้ควรจุ่มยาฆ่าเชื้อรา ตลอดจนวัตถุที่ใช้ชำ และภาชนะที่เกี่ยวข้อง
ควรฆ่าเชื้อมาก่อนและหลังจากคว้านหรือบากหรือ เจาะหัวแล้ว
จะต้องพ่นด้วยยาป้องกันเชื้อรา และจะต้องรีบทำให้รอยเฉือนเกิดเนื้องอก หรือสมานแผลให้เร็วที่สุด
โดยวางหัวให้หงายขึ้นในถาดทรายที่แห้ง
หลังจากแผลที่รอยเฉือนสมานดีแล้ว จึงนำไปวางในถาดหรือกระบะในที่มืด
หรือที่ที่มีแสง สลัวๆ อุณหภูมิประมาณ ๗๐° - ๙๐°ฟ. และเป็นที่ที่มีความชื้นอากาศสูงเป็นระยะเวลาประมาณ ๒ ๑/๒ - ๓ เดือน เมื่อหัวที่เกิดขึ้นมีขนาดโตพอที่จะเลี้ยงตัวเองได้ จึงตัดแยกหัวเหล่านั้น ไปปลูกเลี้ยงอีกที่หนึ่ง
๒. หัวที่เกิดจากเหง้า
เหง้า
คือ ลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวชนิดหนึ่งที่อัดตัวกันแน่นเป็นก้อนกลม
ซึ่งเราเรียกลำต้นในลักษณะนี้ว่า เหง้า (แต่มักจะเรียกทั่วๆ ไปว่า
หัวมากกว่าเหง้า) พืชที่มีลักษณะลำต้นเป็นเหง้า
ซึ่งสามารถเลี้ยงดูให้เจริญงอกงามได้ มีอยู่ในบ้านเราเพียงชนิดเดียว คือ
ซ่อนกลิ่นฝรั่ง (gladiolus) |

ลักษณะการเจริญตามธรรมชาติของต้นซ่อนกลิ่นฝรั่งในระยะพักตัวหลังฤดูปลูก |
ลักษณะโดยทั่วไปของเหง้า (ซ่อนกลิ่นฝรั่ง)
คือ มีลำต้นเป็นก้อนกลมแบน ที่ลำต้นตอนบน
มีตายอด (apical bud) ที่จะเจริญเป็นต้นปลอม
(pseudo stem) ซึ่งจะให้ดอกและเกิดเหง้าใหม่ในฤดู
ต่อไป
ด้านล่างของเหง้าเป็นฐานราก ซึ่งจะให้กำเนิด
ราก ระหว่างตายอดและฐานรากจะมีข้อและปล้อง
ที่มีข้อมักจะมีกาบใบแห้งบางๆ หุ้มเหง้าอยู่
ชีพจักรการเจริญของเหง้าซ้อนกลิ่นฝรั่ง
เมื่อปลูกเหง้าหรือหัวซ่อนกลิ่นฝรั่ง
เหง้า จะเกิดรากขึ้นที่ฐานรากก่อน จากนั้นตายอดก็จะ
เจริญเป็นต้นขึ้นไปในอากาศ ต้นในระยะแรกนี้
จะประกอบด้วยกาบใบที่รวมตัวกันถัดจากนั้นโคนต้น ใหม่จะค่อยๆ โตขึ้น
จนกระทั่งส่งก้านดอกเกิดเป็นเหง้าใหม่ ซ้อนบนเหง้าเก่าอีกทีหนึ่ง
ในกรณีที่ตายอดเสียหรือไม่ค่อยเจริญมักจะเกิดต้นใหม่ขึ้นมาก กว่า ๑ ต้น
และนั่นก็หมายความว่า จะเกิดเหง้าใหม่ซ้อนบนเหง้าเก่ามากกว่า ๑ เหง้า
และเมื่อเกิดเหง้า ใหม่มากขึ้นขนาดของเหง้าใหม่จะเล็กลง
ระหว่างที่เหง้าใหม่โตขึ้น จะเกิดรากใหม่ขึ้นที่โคนฐานราก ของเหง้าใหม่
ส่วนรากรวมทั้งเหง้าเดิมที่อยู่ด้านล่าง ก็จะค่อยๆ โทรม และแห้งไปในที่สุด
ส่วนต่อระหว่างเหง้าเดิมและเหง้าใหม่จะมี
ลักษณะเป็นลำต้นสั้นๆ ที่สังเกตได้ยาก ซึ่งเรียก ลำต้นส่วนนี้ว่าไหล
(stolon) ที่ไหลนี้จะมีข้อและตา
ขณะเหง้าเก่าเริ่มโทรมและเหง้าใหม่เริ่มโตนี้ ตา
ที่ไหลนี้มักจะเจริญออกเป็นเส้นคล้ายราก และมีลักษณะเป็นไหลเช่นเดียวกัน
ที่ปลายไหลนี้จะเกิด เป็นหัวเล็กๆ (cormels) จำนวนหัวเล็กๆ นี้
จะเกิดมากน้อยแล้วแต่พันธุ์ และการปลูกเลี้ยง ถ้าเราเลี้ยงหัวเล็กๆ
นี้ต่อไปอีก ๒-๓ ฤดูปลูก หัวเหล่านี้ก็
จะมีขนาดโตขึ้นเป็นเหง้าที่จะให้ดอกได้
การขยายพันธุ์เหง้าหรือหัวของซ่อนกลิ่นฝรั่ง อาจทำได้ ๓ ทาง
๑.
โดยการใช้เหง้าที่เกิดใหม่
แต่โดยปกติ มักจะให้เหง้าใหม่ ๑ เหง้า
นอกจากบางเหง้าซึ่งเกิดใหม่มากกว่า ๑ เหง้า แต่มักจะมีขนาดเล็ก
บางครั้งไม่ให้ดอก หรือคุณภาพของดอกเล็กไม่ได้ขนาด
๒. โดยการแบ่งเหง้า
ในกรณีที่เหง้ามีขนาดโตและหนา ซึ่งก็หมายความว่า
มีอาหารสะสมอยู่มาก ก็อาจแบ่งเหง้าออกเป็น ๒ ส่วนได้
โดยที่แต่ละส่วนมีขนาดโต และมีอาหารสะสมพอที่จะให้ดอกที่มีคุณภาพได้
๓.
โดยการใช้หัวเล็กที่เกิดใหม่
การขยายพันธุ์ซ่อนกลิ่นฝรั่ง
ส่วนใหญ่ได้จากการใช้หัวเล็กๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างเหง้าใหม่ และเหง้าเก่า
ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการปลูกตัดดอกจำหน่าย แต่การเกิดหัวเล็กๆ
เหล่านี้จะเกิดมากน้อยแล้วแต่พันธุ์ และการปลูกเลี้ยง เช่น
ใช้พันธุ์ที่ให้หัวเล็กๆ มาก ปลูกตื้น ดินปลูกเบา
เด็ดก้านดอกทิ้งตั้งแต่ดอกยังเล็กๆ ก็จะช่วยให้เกิดหัวเล็กๆ ได้มากขึ้น
แต่การที่จะใช้หัวเล็กเหล่านี้ไปปลูก เพื่อตัดดอกจำหน่ายนั้น
จะต้องใช้เวลาปลูกเลี้ยงหัวเหล่านี้ ให้โตจนขนาดหัวได้มาตรฐานพอ
ที่จะให้ดอก ซึ่งจะใช้เวลาเลี้ยงดู ๒-๓ ฤดูปลูก แล้วแต่ขนาดของหัวเดิม
หรืออาจใช้เวลา ๑ ปี ในบาง แห่งที่มีฤดูการเจริญติดต่อกัน เช่น
ปลูกบนดอยปุย เป็นต้น
๓. หัวที่เกิดจากต้น
หัวที่เกิดจากต้น
คือ หัวที่เกิดจากการที่ต้น เกิดการสะสมอาหาร และอัดตัวแน่นเป็นก้อน
หรือเป็นแท่ง ซึ่งอาจเป็นหัวที่เกิดขึ้นใต้ผิวดิน เช่น หัวมันฝรั่ง
หัวบอนสี และหัวเผือก หรืออาจเจริญอยู่เหนือผิวดิน เช่น ต้นกระดาษ
หรือต้นดิฟเฟนบาเกีย เป็นต้น
|
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างหัวมันฝรั่ง ซึ่งเป็น
พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง
ลักษณะโดยทั่วไปของหัวมันฝรั่ง
มีต้นแปลกปลอมเป็นต้นอ้วนสั้น ซึ่งเรียกกันทั่วๆ ไปว่า "หัว" ที่ส่วนยอดของหัวมีตายอด
ซึ่งจะเจริญเป็นยอด (apical shoot) ส่วนทางก้นหรือท้ายของหัว เป็นส่วนที่แยกมาจากไหลของต้นจริง
ระหว่างหัวและท้ายของหัวจะมีตาข้าง (eyes) เจริญอยู่ทั่วๆ ไปตลอดทั้งหัวและจัดเรียงกันเป็นแบบเกลียว
(spiral) ช่วงระหว่างตาข้างถือว่า เป็นปล้องที่ตาข้าง
ประกอบด้วยแผลใบ ซึ่งถือเสมือนข้อและกลุ่มของตา (cluster of buds) มักจะมีตามากกว่า ๑ ตา เสมอ
|  ขั้นตอนการเจริญของมันฝรั่ง |
ชีพจักรการเจริญของหัวมันฝรั่ง
หัวมันฝรั่ง
เป็นส่วนที่เก็บสะสมอาหารและเป็นส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ไปในตัว
ซึ่งเมื่อเราปลูกหัว มันฝรั่งทั้งหัว
การเกิดต้นมันฝรั่งจะเกิดเฉพาะตายอดเท่านั้น ส่วนตาข้างจะไม่เจริญ เป็นต้น
ด้วย เหตุนี้การขยายพันธุ์มันฝรั่งจึงจำเป็นต้องแบ่งหัว ออกเป็นส่วนๆ
โดยให้แต่ละส่วนมีตาอยู่ด้วย การเกิดต้นจะเกิดจากตาที่มีอยู่ที่ตาข้าง
และก็จะเกิดรากขึ้นที่โคนต้นใหม่ที่เกิดขึ้นนั้น จากนั้นตาข้างที่อยู่ใต้
ผิวดินของต้นใหม่ ก็จะเจริญยื่นออกไปในลักษณะ เป็นไหล เมื่อเจริญได้ประมาณ
๓-๔ นิ้ว ปลายไหล ก็จะพองตัวออก และนั่นก็แสดงว่า เริ่มเกิดหัวมัน
ฝรั่งขึ้นแล้ว และจะเห็นรูปร่างในลักษณะเป็นหัวได้ ชัด ในระยะเวลา ๓-๔
สัปดาห์ หลังจากการปลูก หรืออาจประมาณระยะเวลาเดียวกันที่เห็นดอกมัน ฝรั่ง
สภาพที่ทำให้ต้นมันฝรั่งที่อยู่เหนือผิวดินเจริญได้ดี คือ
เมื่อมีไนโตรเจนสูงหรืออุณหภูมิของ ดินสูงจะทำให้การเกิดหัวมันฝรั่งลดลง
เมื่อต้นหรือ ส่วนยอดเริ่มแห้งตาย ก็จะขุดหัว ซึ่งในระยะเวลานี้
หัวมันจะอยู่ในระยะพักตัวและจะพักอยู่นานประ- มาณ ๖-๘ สัปดาห์
จากนั้นก็จะเริ่มแตกตาใหม่อีกครั้งหนึ่ง
การขยายพันธุ์โดยการแบ่งหัว (division)
การขยายพันธุ์มันฝรั่งอาจทำได้โดยการปลูก
ทั้งหัว หรือโดยการตัดแบ่งหัวออกเป็นส่วนๆ โดย
ให้แต่ละส่วนมีตาข้างอยู่อย่างน้อย ๑ ตา ซึ่งส่วนที่
ตัดแบ่งออกมานี้มักเรียกกันทั่วๆ ไปว่า "ซีด" (seed)
ขนาดของซีดแต่ละชิ้นควรจะหนักประมาณ ๑-๒
ออนซ์ ทั้งนี้ เพื่อให้ต้นอ่อนที่เกิดใหม่มีอาหารสำรองเพียงพอ
การตัดแบ่งหัวควรจะใช้มีดคมๆ และควร ทำก่อนที่จะปลูกเท่านั้น
ไม่ควรทำรอไว้นานๆ ควรเก็บชิ้นส่วนที่ตัดไว้ในสภาพที่มีความชื้นอากาศสูงพอ
(ประมาณ ๙๐ เปอร์เซ็นต์) และอุณหภูมิ ๖๘°ฟ. เป็นเวลา ๒-๓ วัน ก่อนปลูก
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการ สมานแผลรอยตัด ในระยะเวลาดังกล่าวส่วนที่เป็น
แผลรอยตัดก็จะเกิดการสมานแผล
ซึ่งจะทำให้ชิ้นส่วนที่ตัดไม่แห้งหรือเน่าง่าย การปฏิบัติบางอย่าง
แก่หัวมันฝรั่งก่อนตัดแบ่งหัวเพื่อป้องกันโรคไรซอกโทเนีย (rhizoctonia)
และโรคสแคบ อาจมีความจำเป็น
สำหรับหัวของบอนสี ซึ่งผลิตเป็นการค้า
กันในรัฐฟลอริดา จะแบ่งหัวเป็นส่วนๆ โดยให้แต่
ละส่วนมีตาอยู่ ๒ ตา แล้วดำให้ห่างกัน ๔-๖ นิ้ว
ลึก ๓-๔ นิ้ว ระยะระหว่างแถว ๑๘-๒๔ นิ้ว และ
จะเก็บหัวในเดือนพฤศจิกายน หลังจากเก็บหัวแล้ว
ผึ่งไว้ในที่ร่ม (artificially dried) ราว ๔๘ ชั่วโมง
จากนั้นให้เก็บรักษาหัวไว้ในอุณหภูมิที่ไม่ต่ำกว่า
๖๐°ฟ.
๔. หัวที่เกิดจากราก
หัวที่เกิดจากราก
คือ การที่รากของพืชไม้เนื้ออ่อนอายุยืนบางชนิด
เกิดการสะสมอาหารขึ้นที่ราก ซึ่งลักษณะรูปร่างของรากที่สะสมอาหารนี้
อาจแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของพืช อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงลักษณะทั้งภายใน
และภายนอก เช่นเดียวกับราก คือ ไม่มีข้อและปล้อง
แต่อาจมีตาอยู่ตรงส่วนที่เป็นต้นติดกับราก
ส่วนรากฝอยจะเกิดอยู่ทางด้านปลายราก
หัวท้ายของรากเป็นไปในลักษณะตรงกันข้ามกับหัวท้ายของต้น
|
 ลักษณะของหัวที่เกิดจากราก (หัวรักแร่) |
ลักษณะโดยทั่วไปของหัวที่เกิดจากราก
หัวที่เกิดจากรากมีอยู่ ๓ แบบ คือ หัวมัน
เทศ หัวรักเร่ และหัวของต้นบีโกเนีย
สำหรับหัวรักเร่ จะเกิดเป็นกลุ่มของรากติด
อยู่กับโคนต้น (crown) รากเหล่านี้มีลักษณะเป็นพืช
๒ ฤดู คือ ฤดูแรกจะเกิดต้นขึ้น และหลังจากที่ต้นแห้งตายไปแล้ว รากนี้ก็จะพักตัวจนกระทั่งถึงฤดู
การเจริญใหม่ ตาจากโคนต้น ซึ่งติดอยู่ที่โคนราก ก็จะแตกยอดใหม่ ซึ่งยอดที่แตกใหม่นี้จะใช้อาหาร
ที่สะสมจากรากเก่า จากนั้นรากเก่าก็จะค่อยๆ ฝ่อ
แห้งตายไป ขณะเดียวกัน ต้นใหม่ก็จะเกิดรากใหม่
ขึ้นแทน รากใหม่นี้จะทำหน้าที่เลี้ยงต้นพืชต่อไป
จนตลอดระยะการพักตัวที่จะมาถึง |